นาย Chris Dixon Partner ของ Andreessen Horowitz บริษัท Venture Capital ที่ลงทุนกับ Startups ทั้งหลายแหล่ ได้เคยขาย บริษัทให้กับ Ebay ไป 80 ล้าน$ ด้วยเวลาแค่ 2-3ปี ซึ่งเขาเคยบรรยายครั้งหนึ่งโดยยกทฤษฏีของตัวเองขึ้นมาสอน Startups ว่า “ถ้าอยากรวย ถ้าอยากเปลี่ยนโลก ต้องทำเรื่องที่ดูหน้าโง่”
Dixon ปูพื้นว่า ถ้าคุณจะทำอะไรสักอย่าง คุณอาจจะวางแผนว่า “ฉันจะทำบางอย่าง ฉันต้องการทีมเก่ง ๆ และมี idea ดี ๆ” ถ้าคิดแบบนั้นหล่ะก็ มันก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะถ้าคิดเรื่องดี ๆ สวยงาม ดูสวยหรูเพียงอย่างเดียวหล่ะก็ คุณก็จะไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้ มันต้องเป้นเรื่องที่ ดูดี น่าสนใจ แต่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน บางทีแล้วไอ้เรื่องที่ว่านี่ จะทำให้คุณดูเป็นไอ้หน้าโง่เลยก็ได้ แต่ว่า Good idea กับ Bad idea มันคาบเกี่ยวกันเพียงนิดเดียวเองเหมือนเหรียญคนละด้าน และไอ้ที่เกี่ยวกันตรงนั้นแหละ คือ idea ที่่จะทำเงิน และ เปลี่ยนโลกนั่นเอง!
โดย Dixon ยกตัวอย่าง Case ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบให้ฟัง
Ex. 1 ตัวอย่างของ Good Idea ที่ ไม่ผ่าน
“Battery มือถือที่ดีกว่าที่มีในปัจจุบัน ใช้ได้นานกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า” ซึ่งฟังดูดี ใคร ๆ ก็ใช้ ผู้ผลิตเจ้าไหนก็อยากได้ แล้วไงหล่ะ? บริษัทใหญ่ ๆ เขาก็คิดเรื่องนี้กันทั้งนั้นแหละ แล้วก็พยายามทำกันอยู่ด้วย ซึ่งถ้ามันทำไม่สำเร็จสักที แสดงว่ามันต้องมีอะไรบางอย่าง ซึ่งบริษัทพวกนี้ทุ่มเงินและการวิจัยพัฒนาอยู่แล้ว แล้วคุณคิดว่าตัวคุณจะเอาชนะ ทีมวิจัยของ apple หรือ Samsung ได้ไหม? “จำไว้ว่าบริษัทใหญ่ ๆ ทำงานอย่างหนักกับ ความคิดดี ๆ ที่ดูดีอยู่แล้วเสมอ”
ที่มาของภาพ: sinoele , 4.bp.blogspot.com
Ex. 2 การเป็นผู้ตามบริษัทใหญ่ ๆ ก็ไม่ได้แย่เสมอไป อย่างเช่น Google
Google เป้นบริษัทเล็ก ๆ ที่หันมาทำบริการ web Search เลียนแบบ yahoo เรียกได้ว่า เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ตาม แถม แนวคิดของ Google ในตอนนั้นดูเป็นเรื่องบ้า ๆ ด้วย “เป็น web search ที่งี่เง่ามาก หาอะไรมาได้ ก็เตะผู้ใช้ออกนอก web ของตัวเองตลอดเวลา” ถ้า Google ไม่คิดให้ต่างออกไป ป่านนี้โลกก็คงไม่รู้จักชื่อ Google
ที่มาของภาพ: smoblogger
คุณลักษณะสามประการของ idea เปลี่ยนโลก
หลาย ๆ คนมักจะโยนความคิดดี ๆ ที่จะเปลี่ยนโลกได้ลงถังขยะ เพราะเขามองเห็นม้นเป็นแค่ “ของเด็กเล่น” หรือคิดว่าไม่น่าจะดี ไม่น่าจะสำคัญเท่ากับของเดิมที่มีอยูึ่
-
Ex. บริษัทโทรเลข ที่ชื่อ Western Union มีโอกาสที่จะเป็นเข้าสิทธิ์ และ Technology ของ โทรศัพท์ แต่สุดท้ายกลับเปลี่ยนใจ ไม่ซื้อ และปล่อยมันไป
-
ด้วยเหตุผลที่ว่า “มันไม่น่าจะเหมาะกับกลุ่มธุรกิจเมื่อเทียบกับโทรเลขแบบเดิม ๆ ที่มีอยู่”
ที่มาของภาพ: sanook , lifethinking.files
เมื่อความคิดนั้น เป็นส่วนหนึ่งของบริการ ที่บริษัทใหญ่ ๆ ให้บริการแบบครบวงจรอยู่แล้ว
Ex. New York Times คิดว่าการแยกส่วนของ “ลงประกาศโฆษณา” เพียงอย่างเดียว ไปลงบน Web เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเอาเสียเลย จะทำทั้งที เอาหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับลงไปเลยดีกว่า
แน่นอนว่า Craiglist เลือกที่จะทำ แล้วก็แสดงให้เห็นแล้วว่า News York Time คิดผิด
ที่มาของภาพ: adweek
สุดท้ายคือ “งานอดิเรก” นั้นเป็นเรื่องที่ดีสำหรับแค่บางกลุ่ม แต่ไม่ใช่สำหรับ บริษัทใหญ่ ๆ
เพราะบริษัทใหญ่ ๆ นั้น มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล (บางทีเกินไป) มีทีม R&D ขนาดใหญ่ จนรู้สึกว่า ความคิดนั้นก็เป็นได้แค่งานอดิเรกเท่านั้นแหละ
Ex. Apple Computer นี่แหละ แรกเริ่มเดิมที่ ก็แค่กลุ่มคนประกอบ computer ขึั้นมาใช้เอง เพราะ ไม่ถูกใจเครื่องในตลาด
ท้ายที่สุด Dixon ย้ำว่า ความคิดดี ๆ ส่วนใหญ่ โดนปฏิเสธ ไม่ก็โดนโยนลงถังขยะ เพียงเพราะว่ามัน ส่วนกระแสความคิดของโลกปัจจุบันเท่านั้นเอง เช่น ในสมัยก่อนการ upload รูปขึ้น web หรือ online สักครั้งหนึ่ง แต่เดิมนั้น เป็นแบบส่วนตัว แค่เจ้าของเท่านั้นที่เห็น แต่โลกมาเปลี่ยนเอาตอนที่ ค่าเริ่มต้นของ Flickr มากลายเป็น แบบใคร ๆ ก็เห็นได้ แทน ผลคือ ใคร ๆ ก็เห็น ใคร ๆ ก็สนใจ เกิดเป็นสังคมใหญ่ และ ใคร ๆ ก็รู้จัก Filckr ใคร ๆ ก็ ใช้ Flickr
ที่มาของภาพ: designvsart
ความคิดดี ๆ ยังไงก็ยังเป็นความคิดที่ดี แค่บางทีมันจะดูงี่เง่าไปบ้าง และที่สำคัญกว่าอื่นใดคือ อย่าทำตัวเลียนแบบบริษัทใหญ่ ๆ ด้วยการแค่อ่าน Report เท่านั้น สิ่งที่่ดีที่สุดคือ เจอกับปัญหาด้วยตัวเอง และ ไขว่คว้าหาโอกาส จากประสบการณ์ตรง