นักวิจัยจากสถาบัน Swiss Federal Institute of Technology ในเมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คุณ Edoardo Charbon ได้ใช้กล้องพิเศษทำการทดลองจับภาพลำแสงที่กำลังเคลื่อนที่สะท้อนบนกระจก

โดยวิดีโอด้านบนมาจากงานวิจัยหัวข้อ “Superluminal Motion-Assisted 4-Dimensional Light-in-Flight Imaging” ที่คุณ Charbon และสถาบันของเขาใช้กล้อง “time-gated megapixel single-photon avalanche diode camera” หรือที่เรียกว่า MegaX จับภาพความละเอียดสูงขณะลำแสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศ

เพราะว่าเราจะไม่สามารถมองเห็นลำแสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้ นักวิจัยจึงใช้วิธีการจับโฟตอนที่กระจายออกจากอนุภาคในอากาศตอนที่ลำแสงเลเซอร์เคลื่อนผ่านโดยใช้เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ และจับทิศทางแสงได้

ภาพจากงานวิจัยฉบับเต็ม

the first 4-dimensional light-in-flight imaging
the first 4-dimensional light-in-flight imaging
ภาพลำแสงที่กำลังเคลื่อนที่กลางอากาศ

คุณ Charbon กล่าวว่าการบันทึกภาพเหล่านี้จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิคส์ของกล้องระดับ 3.8 nanosecond ในการจับการกระจายของแสง

“หลังจากที่ยิงเลเซอร์ออกไปแล้วจะใช้ชัตเตอร์ที่มีการหน่วงดีเลย์เพื่อติดตามเส้นทางเคลื่อนที่ของแสง” คุณ Charbon อธิบายเพิ่มอีกว่า “ด้วยจำนวนพิกเซล และชัตเตอร์ที่เร็วมากพอทำให้เราสามารถจับภาพการเคลื่อนที่ของแสงได้โดยไม่ต้องขยับกล้องหรือซ้อนภาพเลยทีเดียวด้วยกล้อง MegaX ตัวนี้”

ซึ่งสำหรับคนที่อยากอ่านงานวิจัยฉบับเต็มสามารถอ่านต่อได้ที่ Link นี้ครับ

ที่มาpetapixel

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส