ในโลกนี้มีคอมพิวเตอร์อยู่หลายประเภทนะครับ ที่ใกล้ตัวหน่อยแล้วใช้อยู่ทุกวันก็เช่น PC, SmartPhone หรือ Server เอ๊ะ ทำไมเซิร์ฟเวอร์ถึงกลายเป็นคอมพิวเตอร์ใกล้ตัวไปได้ล่ะ ก็เพราะกิจกรรมที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเปิดเว็บ อ่านอีเมล ฟังเพลงสตรีมมิ่ง เล่นเกม ล้วนต้องใช้บริการของเครื่องแม่ข่ายอย่างเซิร์ฟเวอร์ทั้งนั้นโดยที่เราไม่รู้ตัว วันนี้แบไต๋จึงขอแนะนำให้รู้จักเซิร์ฟเวอร์แบรนด์ ProLiant ที่อยู่ในตลาดมายาวนานให้รู้จักกันครับ

ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ทั่วไปกับเซิร์ฟเวอร์

เป้าหมายของเซิร์ฟเวอร์คือล่มให้น้อยที่สุด ถึงมีปัญหาก็ต้องมีวิธีซ่อมโดยระบบยังทำงานต่อไปได้
ทำไมเราถึงไม่ใช้ PC แรงๆ สเปกเทพอย่าง Intel Core i7 ใส่การ์ดจอตัวท็อป ที่อาจราคาถูกกว่าเซิร์ฟเวอร์ด้วยซ้ำ มาทำงานเป็นเครื่องแม่ข่าย คำตอบง่ายๆ คือถึงเราจะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูงมาทำงานเหมือนกัน แต่ความคาดหวังกับเครื่องนั้นต่างกัน ในขณะที่ PC เรามุ่งหวังความแรงของเครื่องเป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่เราคาดหวังว่าเซิร์ฟเวอร์คือความเสถียร ที่เชื่อได้ว่าแม้จะเปิดใช้งานเป็นปีๆ โดยไม่ดับเครื่องเลย มันจะสามารถทำงานได้โดยไม่มีปัญหา หรือถ้ามีปัญหาก็ต้องมีวิธีจัดการโดยให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังเน้นว่าต้องสั่งงานจากระยะไกลได้ สามารถควบคุมการทำงานส่วนใหญ่ได้แม้จะไม่ได้อยู่บริเวณที่ตั้งเครื่อง

Server ออกแบบโดยใช้ฮาร์ดแวร์พิเศษหลายอย่าง
  • หน่วยประมวลผลในระดับ Xeon จาก Intel ที่รองรับการประมวลผลพร้อมๆ กันได้ดีกว่า CPU ทั่วไป เพราะงานของเซิร์ฟเวอร์นั้นต้องรองรับผู้ใช้จำนวนมากๆ พร้อมกัน มากกว่าที่จะทำงานเดียวหนักๆ
  • ใช้หน่วยความจำที่ป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด
  • ตัวแผงวงจรหลักหรือ Mainboard ก็สามารถใส่ CPU ได้หลายตัวเพื่อรองรับงานที่มากขึ้น
  • ตัวจ่ายไฟหรือ Power Supply ก็ต้องออกแบบพิเศษให้รองรับการทำงานต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆ เซิร์ฟเวอร์บางรุ่นถึงกับมี Power Supply 2 ตัว เพื่อป้องกันความผิดพลาด

นอกจากนี้เทคโนโลยีในการจัดการเครื่องก็เป็นลักษณะเฉพาะที่แบรนด์ต่างๆ สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ทำงานและบำรุงรักษาเครื่องได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจหาเทคโนโลยีแบบนี้ไม่ได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบประกอบเองครับ

ProLiant ตระกูลเซิร์ฟเวอร์ตัวเก๋าของวงการ

 

ก่อนหน้าที่จะเป็น HPE ProLiant ที่เรารู้จักในทุกวันนี้ ProLiant เป็นชื่อผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของแบรนด์ Compaq มาก่อน ซึ่งก็สร้างชื่อในวงการมานาน จนถูก HP ซื้อกิจการเมื่อปี 2002 แบรนด์ ProLiant จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของ HP แทนแบรนด์ Netserver ดั่งเดิม ต่อมาในปี 2015 บริษัท HP แยกธุรกิจกลุ่มองค์กรออกมาตั้งเป็นบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) จึงกลายเป็น HPE ProLiant ในปัจจุบัน

ProLiant นั้นพัฒนาต่อเนื่องมายาวนาน จนปัจจุบันก็มาถึงยุคที่ 9 หรือ HPE ProLiant Gen9 แล้ว ซึ่งในยุคหลังๆ HPE ก็ได้เพิ่มความสามารถเข้าไปหลายอย่าง โดยเฉพาะระบบจัดการเซิร์ฟเวอร์ระยะไกล สามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของระบบเพื่อช่วยหาข้อผิดพลาด ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบจัดการความร้อน ออกแบบการไหลเวียนอากาศใหม่ ช่วยให้เครื่องทำงานเสถียรขึ้น

Play video

HPE ProLiant Gen9 รุ่นต่างๆ ตามการใช้งานที่ต่างกัน

ProLiant ML- Tower Server

mlserver

ProLiant DL – Rack Server

dlserver

ProLiant BL – Blade Server

blserver

ทำไมถึงควรเลือกตั้ง Server เองแทนการใช้ Cloud Server

ในยุคนี้ Cloud Server หรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่สามารถเปิดใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังมาแรงมากนะครับ เพราะความยืนหยุ่นที่ผู้ใช้สามารถปรับประสิทธิภาพเครื่องตามความต้องการ แต่ในบางแง่มุมเราก็ยังควรตั้งเซิร์ฟเวอร์ใช้เองในองค์กรอยู่ดีนะครับ

ตัวอย่างงานที่ควรตั้งเซิร์ฟเวอร์ในบริษัท
  • องค์กรที่เข้มงวดเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ต้องการให้ข้อมูลบริษัททั้งหมดยังอยู่ในบริษัท ไม่รั่วไหลไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะการรั่วไหลไปต่างประเทศ
  • งานที่ต้องใช้ประมวลผลหนักๆ ตลอดเวลา เช่นงานวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัท ที่ Cloud Server จะมีค่าใช้จ่ายสูงแบบควบคุมยาก
  • งานที่ต้องการความรวดเร็วในองค์กร เช่นเป็นเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลในบริษัท ที่สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วจากเครือข่ายในองค์กร