ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้แบบลึกซึ้ง (deep learning) เริ่มมีอยู่ในทุกหนแห่งรอบตัวเราแล้วอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา แล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปในปี 2019?

Play video

AI ทำให้เกิดความสามารถใหม่ ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อนในอดีตที่เริ่มปรากฏขึ้นอย่างมหัศจรรย์ โดยในอนาคต AI ไม่เพียงแต่ทำให้เครื่องจักรทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อนตั้งแต่ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ยังสามารถทำการคิด การวางแผน วางกลยุทธ์ และการตัดสินใจ ได้อย่างน่าทึ่ง และ AI กำลังจะเข้ามาอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ, หุ่นยนต์ในโรงงาน ไปจนถึง social media ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเด่นชัด เกี่ยวกับ AI ในปี 2019 สามารถสรุปได้ดังนี้

1. AI กลายเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/collections/3155110/ai

การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น กำแพงภาษีและข้อจำกัดในการส่งออกสินค้าและบริการ ที่ใช้ในการสร้าง AI ที่กำหนดโดยรัฐบาลสหรัฐฯ จึงทำให้จีนได้พยายามที่จะพึ่งพาตนเองในการวิจัยและพัฒนาด้าน AI มากขึ้นอย่างมาก จนในที่สุดรัฐบาลจีนได้ประกาศว่า จะเป็นประเทศชั้นนำอันดับหนึ่งของโลกด้าน AI ภายในปี 2030

บริษัท Huawei ผู้ผลิตสินค้าไฮเทคของจีน ได้ประกาศแผนการพัฒนาไมโครชิพประมวลผล AI ของตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาอุตสาหกรรม AI จากผู้ผลิตเทคโนโลยีในสหรัฐฯ อย่างเช่น Intel และ Nvidia

ในเวลาเดียวกัน Google ได้เผชิญหน้ากับการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะ เกี่ยวกับการมุ่งมั่นทำธุรกิจกับบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน (ซึ่งบริษัทหลายแห่งของสหรัฐฯ มีการเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีน) ในขณะเดียวกันก็ต้องถอนตัวออกจากการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นชั้นความลับของทางการทหาร

ดังนั้น การช่วงชิงความเหนือชั้นด้านเศรษฐกิจใหม่ ที่เริ่มใช้ AI ในการขับเคลื่อน จะทำให้ทั้งสองประเทศมีความตึงเครียดมากขึ้น

2. AI และระบบอัตโนมัติแทรกซึมเข้าไปในทุกธุรกิจ

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/collections/3155110/ai

หลังจากใช้เวลาไม่กี่ปี พบว่า AI สามารถแทรกตัวเข้ามามีอิทธิพลกับภาคธุรกิจต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนมากมักจะมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยการริเริ่มใช้ AI จากโครงการนำร่อง สู่การปรับใช้และแพร่ขยายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

ในภาคบริการทางการเงิน สามารถทำการบันทึกข้อมูลได้แบบเรียลไทม์จำนวนหลายพันรายการต่อวินาที จะถูกแยกแยะ และวิเคราะห์โดยอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) ไปจนถึงภาคค้าปลีกจะสามารถการซื้อขาย โดยใช้ AI เพื่อหาวิธีการที่จะทำให้สามารถขายสินค้าได้ดีขึ้นในรูปแบบเฉพาะราย (personalization)

โรงงานผู้ผลิตจะใช้เทคโนโลยี AI ในการทำนายได้อย่างแม่นยำว่าเครื่องจักร เช่น หุ่นยนต์ มีขีดความสามารถในการผลิตอย่างไร และมีแนวโน้มจะเสียหายหรือทำงานล้มเหลวเมื่อใด ซึ่งในปี 2019 เราจะได้เห็นว่าความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นว่าเทคโนโลยีอันชาญฉลาดสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ และสามารถทำงานในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการใช้แรงงานมนุษย์

ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าในภาคธุรกิจจำนวนมากมีการใช้ข้อมูลของตนเพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ การสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการทำธุรกรรม และกิจกรรมของลูกค้าภายในอุตสาหกรรมทำให้ธุรกิจมีการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และพยากรณ์เป็นจำนวนมาก จนทำให้ธุรกิจในรูปแบบ data-as-a-service สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งในปี 2019 บริษัทต่างๆ จะใช้กลยุทธ์นี้เพื่อสร้างคุณค่าของข้อมูลที่ได้สร้างไว้ด้วยมูลค่ามหาศาล

3. AI จะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่าตำแหน่งงานที่ AI เข้าไปแทนที่และสูญหายไป

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/K21Dn4OVxNw

การเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อาจจะนำไปสู่การว่างงานของมนุษย์ และเกิดประเด็นขัดแย้งทางสังคม แรงงานมนุษย์อาจจะไร้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเริ่มเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

อย่างไรก็ตาม Gartner ได้คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2019 นี้ AI จะสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยรายงานของ Gartner พบว่า ตำแหน่งงานทางด้านการศึกษาเฉพาะทางและด้านการดูแลสุขภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

พนักงานคลังสินค้าและพนักงานในธุรกิจค้าปลีก จะเป็นตำแหน่งงานที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติมากที่สุด แต่เมื่อพูดถึงแพทย์และนักกฎหมาย ผู้ให้บริการ AI ได้พยายามที่จะนำเสนอเทคโนโลยีของตน ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมากกว่าการเข้าแทนที่แรงงานดังกล่าว

ซึ่งหมายความว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของตำแหน่งงานที่ทำร่วมกับเทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปรับใช้เทคโนโลยี และฝึกอบรมเพิ่มทักษะพนักงานในการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ด้วยการปรับกระบวนการการศึกษาและเรียนรู้ใหม่ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

สำหรับการให้บริการทางด้านการเงิน ที่อดีตซีอีโอของ Citigroup คาดการณ์ในปี 2017 ว่าแรงงานมนุษย์ในภาคส่วนการเงินจะมีจำนวนลดลง 30% ภายในห้าปี ด้วยฟังก์ชั่น back-office ที่เข้ามาแทนที่แรงงานดั้งเดิมด้วยระบบอัตโนมัติที่จัดการโดย AI มากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นการคาดการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจริงภายในปลายปี 2019

4. ผู้ช่วย AI จะมีประโยชน์อย่างแท้จริง โดยถึงมือผู้คนทั่วไป

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/g29arbbvPjo

AI มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือแม้แต่ในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มาถึงจุดที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้กังวล หรือให้ความสำคัญว่าในการค้นหาด้วย Google ซื้อสินค้าที่ Amazon หรือชม Netflix นั้นมีการขับเคลื่อนด้วย AI ด้วยการคาดการณ์พยากรณ์พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีความแม่นยำอย่างสูง

ความรู้สึกที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อัจฉริยะ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเรามีการโต้ตอบกับผู้ช่วยที่เป็น AI เช่น Siri, Alexa หรือ Google Assistant เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยเหลือเรา และสามารถเข้าใจแหล่งข้อมูลที่มีอยู่มากมายในโลกยุคใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการด้วยเสียงของเรา หรือการใช้นิ้วสัมผัส

นอกจากนี้ ผู้ช่วยที่เป็น AI ยังได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการทำความเข้าใจผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ เนื่องจากอัลกอริทึมภาษามนุษย์ (natural language algorithms) ที่ใช้ในการเข้ารหัสคำพูดให้ออกมาเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำให้มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้มากขึ้น และมีโอกาสความผิดพลาดลดลงเกือบเข้าใกล้ศูนย์

เห็นได้ชัดว่าการสนทนาระหว่าง Alexa หรือ Google Assistant กับมนุษย์ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและเริ่มเป็นที่ยอมรับ ทำให้เป็นไปได้ว่า ภายในปี 2019 มนุษย์จะเริ่มมีการพูดคุยกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวด้วยภาษาพูดมากขึ้น และเครื่องจักรก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์ได้มากขึ้น จนเป็นเรื่องธรรมดา


ประวัติผู้เขียน พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

การศึกษา

  • ปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม), Florida Atlantic University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม), The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมไฟฟ้า) Georgia Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (เกียรตินิยมเหรียญทอง), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 26, จปร. รุ่น 37)
  • มัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตร

  • หลักสูตรส่งทางอากาศ กองทัพบก
  • หลักสูตรจู่โจม กองทัพบก
  • หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารสื่อสาร กองทัพบก
  • หลักสูตรอบรมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง รุ่นที่ 3
  • หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารสื่อสาร กองทัพบก
  • หลักสูตรหลักประจำเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 84 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • หลักสูตรเสนาธิการทหาร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 51
  • หลักสูตรการบริหารทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (Defense Resourse Management) โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตร Streamlining Government Through Outsourcing Course โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรเสนาธิการร่วม Joint and Combined Warfighting Course โดยทุนกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ในโครงการต่อต้านก่อการร้ายสากล (Counter Terrorism Fellowship Program), National Defense University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง วตท. รุ่นที่ 18 สถาบันวิทยาการตลาดทุน
  • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 57 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 6 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

เกียรติประวัติ

  • ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคมจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ด้วยอันดับที่ 1 (เกียรตินิยมเหรียญทอง)
  • ได้รับทุนจากกองทัพบกเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก
  • ได้รับโล่ห์เกียรติยศจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าด้วยคะแนนสูงสุดในวิชาผู้นำทหาร
  • ได้รับเกียรตินิยมปริญญาเอก Outstanding Academic Achievement จาก Tau Beta Pi Engineering Honor Society และ Phi Kappa Phi Honor Society
  • ได้รับทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรด้านความมั่นคง จากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับทุนวิจัยระดับปริญญาเอกจาก EMI R&D LAB (Collaboration between Florida Atlantic University and Motorola, Inc.), Florida Atlantic University. ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2556 จากมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหารได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 25 Young Executives ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในปี 2555 จากนิตยสาร GM
  • ประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” พ.ศ. 2556 จากคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา
  • ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 30 นักยุทธศาสตร์แห่งปีที่อยู่ในระดับผู้นำองค์กร ปี พ.ศ. 2556 จากนิตยสาร Strategy + Marketing Magazine.
  • รับพระราชทานรางวัลเทพทอง ครั้งที่ 16 ในฐานะองค์กรดีเด่น ประจำปี 2557
  • ได้รับรางวัล “คนดี ความดี แทนคุณแผ่นดิน” ประจำปี 2558 สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม จากคณะกรรมการรางวัลไทย
  • ได้รับรางวัล “ผู้นำเสนองานวิจัยดีเด่น” จากสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2558
  • ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในนักยุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2558 จากนิตยสาร Strategy + Marketing Magazine
  • ได้รับรางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี” ประจำปี 2559 Executive of the Year 2016 สาขานวัตกรรมด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม จากคณะกรรมการรางวัลไทย