จากบทความก่อนๆ ที่เขียนเรื่อง นมข้นหวาน ทำให้ตอนกินขนมปังเริ่มหาอะไรอย่างอื่นมากินแทน ก็นึกถึงแยมผลไม้นี่แหละ เอาวะอย่างน้อยผลไม้ ทาขนมปังกินท่าจะดี
พอไปถึงห้าง อ้าวเฮ้ย เดี๋ยวนี้แยมมันเยอะอย่างนี้แล้วหรอ แถมมาจากทั่วโลกเลย อเมริกา สเปน ฝรั่งเศส สวิสฯ แล้วของไทยยี่ห้อคุ้นเคยอยู่ไหนหว่า ไปเจออยู่ซะล่างเลย ตามสูตรหยิบมาดูฉลากสักหน่อย กินบ่อยๆ มาตั้งแต่เด็ก
โอ้ว มาย แยมมมม -*- . . . ส่วนประกอบหลัก มีผลไม้แค่ 35% เอง เข้าใจว่าแยมถ้ามีแต่ผลไม้เพียวๆ รสชาติจะไม่อร่อย แต่อย่างน้อยก็ควรจะมีผลไม้สักครึ่งนึงป่าววะ
หลังจากที่ลองเลือกดู ก็สะดุดกับแยมขวดนี้จากประเทศ ฝรั่งเศส ยี่ห้อ Bonne Maman จำได้เพื่อนเคยซื้อขนมทาร์ตแยมมาฝากอร่อยมากยี่ห้อนี้เลย หยิบมาดูอย่างไว ไหนลองดูส่วนผสมหน่อย ว่ามีอะไรบ้าง
- สตรอเบอร์รี่ 50%
- น้ำตาล 49%
- น้ำตาลทรายแดง
- น้ำมะนาวเข้มข้น
- สารทำให้เกิดเจล (เพกติน*)
*เพกติน เป็นสารทำให้เกิดเจลที่สกัดจาก เปลือกผลไม้ตระกูลส้ม กากของแอปเปิ้ลที่คั้นน้ำแล้ว และผลบีท
ส่วนผสมดูธรรมดา มีสตรอเบอร์รี่ 50% และก็น้ำตาล น้ำมะนาว รวมถึงสารทำให้เกิดเจลที่ผลิตได้จากพืช เลยขอค้นไปดูเพิ่มอีกหน่อยใน Website ว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้แยมยี่ห้อนี้ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศฝรั่งเศส
ใน Website บอกไว้ว่าตัวแยมแบบ “Preserve” จะผลิตจากผลไม้แบบเต็มผล โดยไม่ได้นำส่วนที่หั่นหรือไม่เต็มผลมาผลิต แถมไม่ใส่สีผสมอาหาร ไม่ใส่วัตถุกันเสีย และวัตถุดิบทุกอย่างมาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม (Non-GMO) สมกับชื่อ Bonne Maman ที่แปลว่า คุณย่า/คุณยาย ที่ต้องการสื่อถึงวัตถุดิบและสูตรผลิตแยมที่มาจากในครัวคุณยายจริงๆ
สุดท้ายนี้ได้ลองกินแล้ว ต้องบอกว่าคุ้มค่ากับที่จ่ายไป ด้วยรสชาติและวัตถุดิบแล้ว เราคงไม่ได้กินขนมปังเป็นอาหารหลักบ่อยๆ อย่างน้อยก็ควรกินให้อร่อยและสุขภาพดี #จากคนรักขนมปัง 🙂
ปล. ด้านล่างคือขนมทาร์ตแยม ที่เพื่อนเคยซื้อฝากอร่อยมากกกกกกกกกก ใครแวะไปฝรั่งเศส ซื้อมาให้ด้วยนะ