โดย
พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.
[email protected]

เช้านี้ผมเข้ามานั่งดื่มกาแฟที่มุมเดิมในร้าน กาแฟ เหลือบไปมองกองหนังสือที่ทางร้านให้บริการ สังเกตได้ว่าไม่ค่อยมีคนสนใจกับหนังสือเหล่านี้เท่าใดนัก ซึ่งผมมองไปรอบๆ ก็เห็นแต่ผู้คนอ่านบนจอโทรศัพท์มือถือ ไม่ก็ Tablet ของตัวเอง จากนั้นผมก็ก้มหน้าอ่านบทความของ Forbes บน Web เรื่อง Convergence Is The ‘Next Big Thing’ For Marketers จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนบทความนี้

ในบทความดังกล่าวก็มีการพูดถึงการเปลี่ยนรูปแบบการโฆษณาและการตลาด รวมไปถึงรูปแบบโมเดลทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง เกิดผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่ไม่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ มาก่อน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นเป็นเพียงคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่มี idea ที่เฉียบแหลมโดยเห็นโอกาสของการเชื่อมต่อผู้คนด้วยเทคโนโลยี Mobile และ ICT และบทความนี้ยังพูดถึงการปฏิวัติวงการ Broadcasting ที่อุตสาหกรรม TV ถูกสั่นคลอนจากอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ที่เชื่อมต่อ Mobile Broadband 3G/4G โดยที่การหลอมรวมเทคโนโลยี (Convergence) จะพลิกอุตสาหกรรมบันเทิงเข้ามาอยู่บน Mobile Platform อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้บริโภคใช้เวลาของพวกเขาอยู่บน Social media ต่อวันนานเกินกว่าที่ Content เหล่านั้นจะแยกตัวทนรอให้ผู้บริโภคกลับมาหาได้อีกต่อไป

ในแง่มุมของนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นกลุ่มหัวก้าวหน้า พวกเขาเชื่อว่าคลื่นลูกที่ 3 ‘The third great wave’ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (radical change) คลื่นดังกล่าวก็คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการวิเคราะห์คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Computing and ICT)

ในช่วงเวลาจากนี้ไปเทคโนโลยีดังกล่าว จะทำให้เกิดการประยุกต์ในทุกอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมเครื่องจักรและเครื่องยนต์ที่ชาญฉลาด (machine intelligence), เครือข่ายเว็ปเคลื่อนที่ (ubiquitous web), โมบายบรอดแบนด์ (Mobile Broadband) และยานพาหนะไร้คนขับ (unmanned vehicles) ไปจนถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถแปลภาษาได้ทุกภาษา โดยเทคโนโลยีที่เหล่านี้จะทำลายอุปสรรคที่มนุษย์จะเข้าถึงการศึกษา การบริการสาธารณสุข อีกทั้งการปฏิวัติด้านดิจิทัลจะทำให้เกิดการสร้างงานอย่างมหาศาล และในทางกลับกันก็จะทำลายตำแหน่งงานรูปแบบเดิมออกไปจนสิ้น

จากรายงานของ GSMA พบว่า ในปีนี้ 2015 ยอด subscriber บน 4G ทั่วโลก มีจำนวนประมาณ 700 ล้าน และจะมีการก้าวกระโดดถึงกว่า 1.3 พันล้านในปีหน้า (2016) จากการที่มี application IoT และ M2M เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล รวมทั้งจะมีการดู content ในรูปแบบ Video และ TV on Mobile Internet ที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล ด้วยเหตุผลดังที่กล่าว จึงคาดการณ์ว่า Data traffic ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเกือบ 100% ในปีหน้า และจะเพิ่มขึ้น 600% ในปี 2020 !!!

สำหรับประเทศไทย GSMA ได้ศึกษาและพบว่านโยบายที่เหมาะสมของการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G และการประมูลคลื่น 4G 1800 MHz ของไทย จะสามารถเพิ่มอัตราการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ภายในประเทศ จากที่มีเพียง 52% ในปี 2556 เพิ่มขึ้นกว่า 133% ในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีโดยรวมของประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.3 แสนล้านบาท

อีก 4-5 ปีนับจากนี้ไป mobile 3G จะเริ่มอยู่บนตำแหน่ง S curve ที่อิ่มตัว และ 4G กำลังเบ่งบานอย่างเต็มที่ และในช่วงเวลานั้นเอง ในปี 2020 ตามแผน ที่ ITU สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศคาดหวังไว้ว่า 5G จะถูกเปิดตัวในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลก และโลกของเราก็จะกลายเป็นโลกของ ‘สังคมโมบายดิจิทัล’ อย่างสมบูรณ์แบบ และคงมีคนตกขอบโลกกันอีกมากมาย

ในยุค 5G นอกจากที่ Mobile Broadband จะมี Data rate ที่สูงขึ้นในระดับ Gb/s แล้วนั้น จะยังมีการพัฒนาให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable devices) ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 5ปีข้างหน้า ระบบ 5G จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ดังกล่าวถึง 200 ล้านอุปกรณ์ ซึ่งจะมีมูลค่าในตลาดถึงกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขีดความสามารถในการส่งข้อมูล บอกตำแหน่ง และเป็น sensor ในรูปแบบต่างๆ ของอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำให้เกิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจ พร้อมทั้งความเสี่ยงและภัยคุกคามด้าน Cyber ตามมาด้วย

โมเดลทางธุรกิจในทุก Sector จะพลิกรูปแบบอย่างถอนรากถอนโคน ไม่ว่าจะเป็นในภาคบริการสาธารณสุข, บันเทิง, การโฆษณา, การเงินการธนาคาร , โลจิสติก รวมถึงค้าปลีก โดยพลังอำนาจของการเชื่อมต่อโครงข่ายอัจฉริยะ ขีดความสามารถในการวิเคราะห์และคำนวณจะพลิกโลกใบเก่าให้จมหายไปในอดีต การให้บริการทุกธุรกิจจะอยู่บน Mobile platform และ Cloud computing โดยไม่มีอุปสรรคในด้านเวลาและสถานที่อีกต่อไป

รูปแบบการติดต่อสื่อสารและ Life style ของผู้คนได้เปลี่ยนไปแล้วจนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เคยเปลี่ยนวันต่อวัน กลายเป็นชั่วโมงต่อชั่วโมง จนทุกวันนี้เป็นนาทีต่อนาที และคงไม่ต้องเดาว่า อีก 5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นความเร่งในระดับวินาทีต่อวินาที

โดยได้มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้วิเคราะห์ไว้ว่า มีอาชีพมากกว่า 700 อาชีพ ที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย เพราะจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์ ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 47% ของการจ้างงานในสหรัฐฯ จึงทำให้องค์กรหลายองค์กรในสหรัฐฯ พยายามที่จะพัฒนาบุคลากรของตนให้เร็วพอที่จะเอาชนะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งคนในกลุ่มผู้บริหารธุรกิจระดับสูง ผู้ปกครองประเทศในหลายประเทศ มิได้เชื่อและตระหนักของการเปลี่ยนแปลงนี้

แล้วคุณหละรอดูอยู่เฉยๆ หรือทำอะไรบางอย่างเพื่อเตรียมรับมือไว้แล้วหรือยัง?

เกี่ยวกับผู้เขียน

Col. Settapong Malisuwan
Ph.D. in Telecom. Engineering
D.Phil. (candidate) in Cybersecurity Strategy and Management
MS. in Mobile Communication
MS. in Telecom. Engineering
BS. in Electrical Engineering
Cert. in National Security (Anti-terrorism program)
Cert. in National Security (Defense Resource Management)
Cert. in National Security (Streamlining Gov.)
Cert. in Spectrum Management
Cert. in Intellectual Property