ในอีกไม่นานนับจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จะมีเครื่องมือใหม่สำหรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมด้วยความละเอียดสูง นั่นคือดาวเทียมถ่ายภาพด้วยเรดาร์ตัวใหม่ของ NASA

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา แผนก Jet Propulsion Laboratory ของ NASA ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับ NISAR (NASA-ISRO SAR) ซึ่งเป็นดาวเทียมแผนที่โลกที่สร้างร่วมกับองค์กรวิจัยด้านอวกาศ (Space Research Organization) ของอินเดีย ด้วยทุนสร้างมหาศาลถึง 1,500 ล้านเหรียญ (ประมาณ 50,100 ล้านบาท) โดยได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีสุดล้ำ และมีแผนปล่อยขึ้นสู่อวกาศในต้นปี 2024 เพื่อใช้ในการศึกษาพื้นผิวโลกและรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้มากขึ้น เป็นนระยะเวลา 3 ปี

NISAE เป็นดาวเทียมถ่ายภาพด้วยเรดาร์ดวงแรกใช้คลื่นความถี่แบบคู่ (คลื่นไมโครเวฟย่านความถี่ L และ S) ซึ่งจะช่วยในการเก็บภาพเพื่อทำแผนที่เปลือกโลกความละเอียดสูงมาก ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร ได้อย่างแม่นยำ

นั่นยังทำให้ NISAR สามารถตรวจจับได้แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ของเปลือกโลกที่ส่งผลทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผนดินไหว, สึนามิ และภัยพิบัติอื่น ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เช่น วิวัฒนาการของเปลือกโลก, การหยุดชะงักของระบบนิเวศน์ และการแตกตัวของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก เป็นต้น ได้อีกด้วย

NISAR จะสามารถส่งข้อมูลเปลีอกโลกทั่วโลกได้อย่างครอบคลุมในทุก ๆ 12 วัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของเปลือกจริง ๆ เท่าทันต่อเหตุการณ์ได้มากขึ้น และทีมนักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่าจะสามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อให้พร้อมเปิดเผยต่อสาณารณชนได้ภายใน 1 – 2 วัน

อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส