การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร peer-reviewed เรื่อง “Proceedings of the National Academy of Sciences” โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้พัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพด้วยแสงแบบใหม่ ซึ่งใช้สำหรับการวิเคราะห์อนุภาคนาโนพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดพบว่าในขวดน้ำนั้นมีปริมาณนาโนพลาสติกอยู่มาก
เทคโนโลยีการถ่ายภาพใหม่นี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุรายละเอียดของนาโนพลาสติกจากตัวอย่างได้ โดยนาโนพลาสติกนั้นมีขนาดที่เล็กกว่าหน่วยไมโครเมตรหรือขนาดเพียง 1 ใน 70 ของความกว้างของเส้นผมมนุษย์ ทีมนักวิจัยพบว่าการน้ำดื่มบรรจุขวดโดยเฉลี่ย 1 ลิตร ประกอบด้วยพลาสติกที่เล็กกว่าไมครอนถึง 240,000 ไมครอน
The Washington Post ระบุว่า การวิจัยเกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติกในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นสัญญาณของไมโครพลาสติกในทั่วทุกมุมโลก ชิ้นส่วนพลาสติกที่ถูกค้นพบด้วยกล้องจุลทรรศน์ค้นพบในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณก้นทะเลที่ลึกที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา ในตัวอย่างดิน ในสัตว์ป่า และแม้แต่ในรกของมนุษย์
ปัญหาสำคัญของวัสดุที่เป็นพลาสติก เช่น ขวด จาน ช้อน จะมีพลาสติกที่หลุดออกมาอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับผิวหนังของคนเรา เว่ย มิน (Wei Min) ศาสตราจารย์ด้านเคมีของโคลัมเบียและหนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า นาโนพลาสติกถือว่าเป็นอนุภาคที่สร้างอันตรายได้มากกว่าไมโครพลาสติกเสียอีก
ที่มา TechSpot
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส