ทำความรู้จัก Satya Nadella ซีอีโอผู้พลิกชะตา Microsoft

เมื่อครั้งที่ Satya Nadella ขึ้นรับตำแหน่งซีอีโอของ Microsoft เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 มันเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเสียศูนย์ครั้งใหญ่ ทั้ง Windows 8 ประสบความล้มเหลว, พนักงานขัดแข้งขัดขากับผู้บริหาร ลูกค้าและนักพัฒนาเริ่มจะหมดศรัทธาในตัวบริษัท

แต่เมื่อเวลาผันผ่านไป เหตุการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง

ในปัจจุบัน Microsoft ได้จบปี 2016 ด้วยความสำเร็จในการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการที่ทำให้ผู้ใช้ Apple บางส่วนเริ่มหันมาใช้ Windows มากขึ้น

เราจึงพาท่านย้อนกับไปยังจุดเริ่มต้นของ Satya Nadella ซีอีโอผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก

Satya Narayana Nadella เกิดที่เมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย เมื่อปี 1967 โดยในช่วงวับเด็กเขาฝันอยากเป็นนักกีฬาคริกเก็ตอาชีพ แต่เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน เขากลับมีความสนใจในด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มากกว่า

Nadella ได้รับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Manipal Institute of Technology ในปี 1988 แต่เนื่องจากทางสถาบันไม่มีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จริงๆ เขาจึงย้ายมาเรียนที่ University of Wisconsin-Milwaukee และสำเร็จการศึกษาในปี 1990

ในปี 1992 Nadella ได้เข้ามาทำงานในบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Bill Gates ยังคงดำรงตำแหน่งซีอีโออยู่ และ Windows เพิ่งจะเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก

Nadella เป็นหนึ่งในผู้อพยพชาวอินเดียที่ได้ทำงานในบริษัท โดยโปรเจ็คต์แรกของเขาคือ ระบบอินเตอร์แอคทีฟที่ทำงานร่วมกับโทรทัศน์ และระบบปฏิบัติการ Windows NT ซึ่งเขาประทับใจกับการจัดการภายในบริษัทเป็นอย่างมาก

ในปี 1990 เขาได้สำเร็จการศึกษา MBA จากสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจในเครือของมหาวิทยาลัยชิคาโก ต่อมาในปี 1999 เขาได้รับตำแหน่งรองประธานของ Microsoft bCentral ที่จัดตั้งบริการโครงข่ายเว็บสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

ในปี 2001 Nadella ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานฝ่าย Business Solution ซึ่งเป็นฝ่ายที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจต่างๆของ Microsoft และได้สร้างระบบ CRM ที่ใช้ฐานข้อมูลใน Cloud

ชื่อของ Nadella เริ่มเป็นที่จดจำมากขึ้นในปี 2007 โดยเขาได้รับตำแหน่งรองประธานอาวุโสฝ่าย Online Services ซึ่งเขาได้ควบคุมงานสร้างเสิร์ชเอนจิน Bing, Microsoft Office เวอร์ชั่นออนไลน์ และบริการ Xbox Live ต่อมาในปี 2011 เขาได้เลื่อนตำแหน่งอีกครั้งเป็นประธานแผนก Server and Tools ซึ่งดูแลในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรให้กับศูนย์ข้อมูลของบริษัท เข่น Windows Server และฐานข้อมูล SQL Server โดยเขาทำรายได้ให้บริษัทถึง 16.6 พันล้านเหรียญ และเพิ่มเป็น 20.3 พันล้านเหรียญ ในปี 2013

ในปี 2013 ธุรกิจของ Microsoft ได้มาถึงจุดวิกฤติ เมื่อ Windows 8 ประสบความล้มเหลว, iPhone และ Android เข้ามามีบทบาทในตลาดสมาร์ทโฟนเหนือ Windows Phone และ Bing ก็ไม่สามารถสู้กับคู่แข่งอย่าง Google ได้เลย ต่อในเดือนสิงหาคม 2013 Steve Ballmer ซีอีโอของบริษัทก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 Nadella ได้รับตำแหน่งซีอีโอ จากการสนับสนุนของ Steve Ballmer และ Bill Gates โดย Nadella ได้ค่าตอบแทนในการรับตำแหน่งปีแรกเป็นจำนวนเงิน 84 ล้านเหรียญ

Nadella ได้ชนะใจพนักงาน Microsoft อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทครั้งใหญ่ และสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้ากลับคืนมาได้ ไม่ว่าจะเป็น……

  • ตอบรับเข้าร่วมกองทุน Linux ที่ไม่หวังผลกำไร
  • เปิดตัว Microsoft Office สำหรับ iPad ของ Apple
  • ซื้อกิจการสตูดิโอ Mojang ผู้สร้างเกม Minecraft ด้วยมูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญ
  • เปิดตัวแอป Microsoft Outlook สำหรับทั้ง iOS และ Android
  • ข้ามรุ่น Windows 9 ไปเป็น Windows 10 ที่ยอดเยี่ยมกว่า
  • เปิดตัว Microsoft Surface Book ซึ่งเป็นแล็บท็อปตัวแรกของบริษัท
  • เปิดตัวโปรเจ็คต์ Microsoft HoloLens ซึ่งเป็นสุดยอดแว่นตาโฮโลกราฟิกตัวแรกของบริษัท

แนวทางการทำงานของ Nadella นั้นจะเน้นไปที่ความร่วมมือเพื่อให้ซอฟต์แวร์และบริการของ Microsoft เข้าถึงลูกค้าทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ Windows เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาจ้าง Peggy Johnson อดีตผู้บริหารของ Qualcomm มาดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่าย Business Development เพื่อช่วยเหลือบริษัทที่เป็นพันธมิตรต่างๆ

เมื่อเดือนมิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา Microsoft ได้วางแผนในการซื้อกิจการ LinkedIn ด้วยมูลค่าสูงถึง 26.2 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อที่มีมูลค่าสูงสุดของบริษัท และในเดือนตุลาคม 2016 Microsoft ก็ได้เปิดตัว Surface Studio
หลังจากต้องผ่านเหตุการณ์มากมาย ในที่สุด Microsoft ก็เริ่มสร้างแนวทางธุรกิจและความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆได้ดีขึ้น  จนทำให้นักวิเคราะห์มองว่า Microsoft อาจมีมูลค่าสูงถึง “ล้านล้านเหรียญ” เป็นบริษัทแรกในประวัติศาสตร์ก็เป็นได้

ข้อมูลอ้างอิง : businessinsider

เติบโตขึ้นในยุคป๊อปคัลเจอร์ ทำให้หลงใหลการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมพีซีเป็นชีวิตจิตใจ ส่งผลให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ชื่นชอบเรื่องราวด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม รักของสะสมยุค 90s กลายเป็นสาวก Apple และติด Netflix มากๆ