ทุกๆปีมีคนต้องตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดราว 20 ล้านคน โชคดีที่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมในประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาอัลกอริทึมสำหรับการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (Computer Learning Algorithm) ที่สามารถคาดคะเนความเป็นไปได้ที่เราจะเกิดอาการหัวใจวายได้อย่างแม่นยำมากกว่าหมอเสียอีก
วิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Cardiology/American Heart Association หรือ ACC/AHA) ได้พัฒนาชุดแนวทางประเมินความเสี่ยงในโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วย โดยอ้างอิงจากตัวแปร 8 ตัว เช่น อายุ, ระดับคอเลสเตอรอล และความดันเลือด ซึ่งมีความแม่นยำถึง 72.8%
แต่ Stephen Weng และทีมวิจัยของเขาทำได้ดีกว่านั้น
พวกเขาได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (Computer Learning Algorithm) จำนวน 4 ตัว แล้วป้อนข้อมูลของผู้ป้วยจำนวน 378,256 คนในประเทศอังกฤษลงไป แล้วระบบจะใช้บันทึกอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยราว 295,000 ชิ้น เพื่อสร้างโมเดลการคาดคะเนภายในร่างกาย จากนั้นจึงนำมาทดสอบและหาค่าสุทธิ ซึ่งผลที่ได้นั้นมีความแม่นยำถึง 74.5% – 76.4%
จากตัวอย่างการทดสอบบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ราว 83,000 ชิ้นนั้น ผลการทดสอบได้นำไปสู่การป้องกันผู้ป่วย ทั้งการลดระดับคอเลสเตอรอล หรือการรักษาทางการแพทย์ และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ถึง 355 คน
ข้อมูลอ้างอิง : engadget