อีกก้าวสู่โลกไซไฟ เมื่อสถาบัน MIT สอนให้หุ่นยนต์ “เรียนรู้กันเองได้”

แล็บ CASIL ของสถาบัน MIT ได้คิดค้นวิธีใหม่ที่จะทำให้หุ่ยนต์สามารถส่งผ่านทักษะความรู้ไปยังหุ่นยนต์ตัวอื่นได้…ราวกับหุ่นยนต์ในภาพยนตร์ไซไฟเลยทีเดียว

โดยปกติแล้ว “หุ่นยนต์” จะสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆได้ 2 วิธี คือ

  • 1. ดูการสาธิตสิ่งที่เราต้องการให้หุ่นยนต์ทำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 2. ตั้งโปรแกรมให้หุ่นยนต์เคลื่อนให้ตามที่ต้องการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนการเคลื่อนไหว (Motion Planing Techniques)

ล่าสุด แล็บ CSAIL (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory) ของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology: สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) ได้พัฒนาวิธีที่ 3 คือ

  • การให้หุ่นยนต์ส่งผ่านทักษะความรู้ไปยังหุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งด้วยตนเอง

ระบบดังกล่าวเรียกว่า C-LEARN ซึ่งได้รับการออกแบบให้ผู้ใช้ตั้งโปรแกรมภาระที่หุ่นยนต์ต้องทำเอาไว้กว้างๆ โดยใส่แค่ข้อมูลเบื้องต้นว่าจะต้องให้หุ่นยนต์ตอบสนองต่อวัตถุนั้นๆ อย่างไร จากนั้นก็ทำการสาธิตให้ดู 1 ครั้ง ในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้โปรแกรม CAD (Computer Aided Design: การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบ) ซึ่งก็เหมือนกับการวาดภาพเคลื่อนไหว (Animation) ที่จำเพาะเจาะจงให้หุ่นยนต์ได้ทำตามอย่างถูกต้อง และตั้งเป็นคีย์เฟรม (Keyframe) และเติมการเคลื่อนไหวส่วนที่เหลือลงไป

จากนั้นหุ่นยนต์จะแชร์ข้อมูลด้านการเคลื่อนไหวที่ได้รับไปยังหุ่นยนต์ตัวอื่นที่เป็นหุ่นชนิดเดียวกัน

หุ่นยนต์ตัวแรกที่ได้รับประโยชน์จากระบบใหม่นี้คือ Optimus ซึ่งเป็นหุ่นยนต์กู้ระเบิด 2 แขน ที่แล็บ CSAIL ได้สอนให้มันเปิดประตู, แบกวัตถุ หรือแม้กระทั่งลากวัตถุออกจากโถหรือโอ่ง โดย Opitmus นั้นสามารถส่งผ่านทักษะเดียวกันนี้ไปยังหุ่นยนต์ Atlas ที่มีความสูง 6 ฟุต หนัก 400 ปอนด์ ซึ่งอยู่ในแล็บ CSAIL ได้

ข้อมูลอ้างอิง : engadget

เติบโตขึ้นในยุคป๊อปคัลเจอร์ ทำให้หลงใหลการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมพีซีเป็นชีวิตจิตใจ ส่งผลให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ชื่นชอบเรื่องราวด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม รักของสะสมยุค 90s กลายเป็นสาวก Apple และติด Netflix มากๆ