ผู้ใช้แอป LINE ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง แต่สวนทางกับรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น… ทำไมล่ะ ?
จากการงานรายได้ล่าสุดของ LINE แอปส่งข้อความโซเชียลชื่อดัง ระบุว่า ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2017 ที่ผ่านมา ได้มีจำนวนผู้ใช้ลดลง 2 ล้านคน ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 3 ประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้สูงสุด (นอกเหนือจากญี่ปุ่นที่เป็นต้นกำเนิดแอป LINE) คือ ไต้หวัน, ไทย และอินโดนีเซีย
ถ้าหากเปรียบเทียบกับแอปโซเชียลอื่นอย่าง Facebook หรือ Snapchat ที่กำลังเติบโต จะเห็นได้ว่า LINE มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านคน จากประเทศญี่ปุ่น
ในปัจจุบัน LINE ได้มีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกทั้งหมด 203 ล้านคน ซึ่งจำนวนเริ่มลดลงตั้งแต่เมื่อปลายปี 2016 ที่ผ่านมา
จากจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงทำให้ผลกำไรของ LINE ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2017 ลดลง 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปี 2016 แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operation Expense) เพิ่มขึ้น 19% ซึ่งทำให้รายได้ของ LINE เพิ่มขึ้น 18%
- ปล. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operation Expense) คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ต้นทุนโดยตรงของสินค้าหรือบริการ แต่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการนั้น กล่าวคือ ยิ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น แสดงว่าการขายสินค้าหรือบริการนัั้นได้เพิ่มขึ้นนั่นเอง
นั่นหมายความว่า ถึงแม้ว่าผู้ใช้แอป LINE ซึ่งเป็นบริการหลัก จะลดลง แต่บริการย่อยของ LINE ยังคงดำเนินงานได้ดีอยู่ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นจากบริการ LINE News (60 ล้านคน), LINE Live (33 ล้านคน), LINE Manga (กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว), LINE Music และ LINE Shopping
นอกจากนี้ บริการ LINE Pay ก็ยังได้รับความนิยมในการทำธุรกรรมการเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน
สำหรับท่านที่ใช้บริการแอป LINE อยู่ในขณะนี้ สามารถคอมเมนต์แบ่งปันความคิดเห็นกับเราได้นะครับว่า “ทำไมผู้ใช้ LINE จึงลดลง ?”
ข้อมูลอ้างอิง : techinasia