เทรนด์ไมโคร ผู้นำด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้เผยถึงผลประกอบการประจำปี 2018 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2018  ที่ผ่านมา โดยมีรายได้สุทธิจำนวน 160,410 ล้านเยน สูงขึ้นจากปี 2017 อยู่ 7.8% และมีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 35,836 ล้านเยน โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) อยู่ที่ 22,980 ล้านเยน เติบโตถึง 20.2%

คุณปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด

ภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ เป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ยกให้อยู่ในลำดับต้น ๆ ของความสำคัญที่จะต้องคำนึง โดยในปี 2018 ที่ผ่านมานั้น ทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายในกับระบบไอทีขององค์กร การที่ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาลให้กับภัยแรนซั่มแวร์ ภัยคุกคามที่ขโมยเงินดิจิทัลด้วยการฝังมัลแวร์แปลก ๆ ลงในบราวเซอร์เพื่อที่จะแอบขุดเงิน Cryptocurrency Mining รวมไปถึงองค์กรชั้นนำในยุโรปยังต้องคำนึงในส่วนของการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่บังคับใช้กันในวงกว้างเช่น General Data Protection Regulation (GDPR) จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์กรไม่อาจละเลยเรื่องของการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้

ตัวเลขของภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2018 ที่ผ่านมานั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากกว่าเดิม อย่างเช่น กรณีของภัยคุกคามด้วยวิธีการโจมตีแบบ Business Email Compromise (BEC) เพิ่มขึ้นเป็น 12,472 ครั้ง (ปี 2017 จำนวน 9,708 ครั้ง) เป็นเมล์ลวงที่ผู้ไม่ประสงค์ดีปลอมอีเมล์ของผู้บริหารเพื่อลวงพนักงาน เป็นต้น ถัดมาเป็นภัยที่ยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแรนซั่มแวร์สายพันธุ์ใหม่จะพบน้อยลง แต่สายพันธุ์เก่าอย่างเช่นการกลับมาของแรนซั่มแวร์ WannaCry และตระกูลอื่น ๆ สำหรับ WannaCry นั้นเป็นภัยคุกคามที่โด่งดังในช่วงปี 2017 แต่จวบจนในปี 2018 ภัยนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน ก็ยังเติบโตเช่นกันและพบว่ามีภัยในตระกูลเดียวกับ WannaCry ถึง 616,399 สายพันธุ์ (ปี 2017 อยู่ที่ 321,814 สายพันธุ์) ส่วนตระกูลอื่น ๆ อีก 126,518 สายพันธุ์ (ปี 2017 อยู่ที่ 244,716 สายพันธุ์) สำหรับในประเทศไทยเราตรวจพบว่ามีการโจมตีถึง 15,733 ครั้ง ในปี 2018 ที่ผ่านมาคุณปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด

ภัยคุกคามอีกประเภทหนึ่งที่เรียกได้ว่าน่ากลัวไม่แพ้กันก็คือ

การโจมตีโดยอาศัยการฝังมัลแวร์เพื่อทำการขุดเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency Mining

ซึ่งวันนี้มีการโจมตีเลยระดับ 1 ล้านครั้งไปแล้ว โดยทางเทรนด์ไมโครตรวจพบถึง 1,350,951 ล้านครั้งในปี 2018 (ปี 2017 เพียงแค่ 400,873 ครั้งเท่านั้น) โดยกระบวนการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีกระทำนั้น ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น มีการฝังมัลแวร์ลงบนตัวส่วนขยายของเว็บบราวเซอร์  ใช้ป๊อป-อัพ ของโฆษณา ปลั๊กอินแปลก ๆ  บ็อตเน็ต หรือการใส่โค้ดร้ายลงไปยังซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น

ในส่วนของปี 2019 นี้ทางเทรนด์ไมโคร ก็ยังมองว่าภัยคุกคามยังคงสูงขึ้น และยังได้จัดทำ รายงานพิเศษชื่อว่า Mapping the Future : Dealing With Pervasive and Persistent Threats  เป็นคาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 ซึ่งจะมีการคุกคามและโจมตีต่อเนื่องเข้มข้นกว่าเดิม โดยมาจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ แนวโน้มของตลาด และผลกระทบของอันตรายในวงกว้าง โดยมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 ประการ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://documents.trendmicro.com/assets/rpt/rpt-mapping-the-future.pdf