ปี 2014 NASA ประกาศเลือก Boeing และ SpaceX เพื่อขนส่งลูกเรือของสหรัฐไปและกลับจากสถานีอวกาศโดยใช้ยานอวกาศ CST-100 Starliner ของ Boeing ด้วยงบมูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Crew Dragon ของ SpaceX ด้วยงบมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อยุติการพึ่งพารัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Commercial Crew
Crew Dragon ของ SpaceX ได้ผ่าน Pad abort test ทดสอบดีดตัวขึ้นจากฐานปล่อย เมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 และ First orbital flight test การทดสอบวงโคจรการบินโดยไม่มีลูกเรือ เมื่อมีนาคม 2562 ได้สำเร็จไปก่อน
ส่วน Boeing Starliner ได้มีการทดสอบใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ Pad abort test ทดสอบดีดตัวขึ้นจากฐานปล่อย เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2019 ซึ่งแคปซูลสามารถออกจากฐานปล่อยได้ ขณะลงจอดหนึ่งในสามของร่มชูชีพทำงานล้มเหลว แต่ก็สามารถลงจอดได้จนภารกิจสำเร็จ และการทดสอบ First orbital flight การทดสอบวงโคจรการบินโดยไม่มีลูกเรือ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2019 ภารกิจล้มเหลวในบางส่วน คือ ขณะที่ส่งยานไปยังสถานีอวกาศนานาชาติกลับพลาดใช้เชื้อเพลิงมากเกินไปจนต้องเดินทางกลับสู่โลกก่อนที่จะไปถึง แต่ก็สามารถไปสู่วงโคจรและลงจอดได้สำเร็จ
ตอนนี้ทำให้สถานะ Boeing กำลังตามหลัง SpaceX อยู่นั่นเอง และในขณะที่ Crew Dragon ของ SpaceX กำลังจะเข้าสู่การทดสอบการยกเลิกการบิน In-flight abort test (IFA) ในวันที่ 19 มกราคม 8:00 A.M. ซึ่งถ้าการทดสอบนี้สำเร็จ SpaceX ก็จะสามารถทดสอบส่งมนุษย์อวกาศไปยังสถานีอวกาศได้ และเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ก็จะอยู่ไม่ไกล
ฺล่าสุด Boing ได้เคลื่อนไหวโดยปล่อยวิดีโอใหม่ด้วยมุมมองภายในแคปซูล Starliner crew ให้ชมกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเปิดตัวส่ง Starliner ไปยังอวกาศนั้นช่างราบรื่น ซึ่งมีภาพหุ่นจำลองมนุษย์อวกาศ ทุกอย่างที่อยู่ในยานถูกมัดไว้แน่นหนาปลอดภัย ตุ๊กตา Snoopy กระเด้งไปมาเล็กน้อยระหว่างเดินเครื่อง จากนั้นก็เป็นภาพตอนยานถูกยิงขึ้นไปและลงจอดในที่สุด หรือ Boeing ต้องการจะบอกว่าถ้าไม่อะไรติดขัดฉันก็บินขึ้นลงอวกาศได้ปลอดภัยนิ่มเหมือนนั่งเครื่องบินของ Boeing เลยนะ 555
โครงการนี้ถือว่า Boeing Starliner กำลังตามหลัง SpaceX Crew Dragon ซึ่งจะต้องทดสอบส่ง Starliner ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติอีกครั้งในไม่ช้านี้ ยังไงก็ขอเอาใจช่วยให้สำเร็จ และมีเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ในไม่ช้า
ที่มา : cnet
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส