ปี 2014 NASA ประกาศเลือก Boeing และ SpaceX เพื่อขนส่งลูกเรือของสหรัฐไปและกลับจากสถานีอวกาศโดยใช้ยานอวกาศ CST-100 Starliner ของ Boeing ด้วยงบมูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Crew Dragon ของ SpaceX ด้วยงบมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อยุติการพึ่งพารัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Commercial Crew
SpaceX ได้ผ่านการทดสอบมาแล้วตั้งแต่ Pad abort test ทดสอบดีดตัวขึ้นจากฐานปล่อยสำเร็จ เมื่อ 6 พฤษภาคม 2015, Demo-1 Orbital flight test หรือการทดสอบวงโคจรการบิน (Uncrewed flight demo) ทดสอบการบินครั้งแรกที่ไม่มีลูกเรือ (ใช้หุ่นจำลองนักบินอวกาศชื่อริปลีย์) ในเดือนมีนาคม 2562 และเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติแล้วกลับมาสู่โลกได้สำเร็จ ส่วนแคปซูลจะถูกนำมาปรับแต่งใช้ในการทดสอบ In-flight abort test แต่ในวันที่ 20 เมษายน 2019 ได้เกิดเหตุระเบิดระหว่างการทดสอบระบบ SuperDraco แล้วได้ทำอีกครั้งในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2019 จนสำเร็จ
ล่าสุด 19 มกราคม SpaceX ได้เข้าสู่การทดสอบครั้งสำคัญ คือ การทดสอบ In-flight abort test (IFA) การทดสอบการยกเลิกการบิน โดยทดสอบยานสามารถเคลื่อนที่แยกจากจรวดที่กำลังขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศภายใต้สภาพบรรยากาศที่เลวร้ายหรืออันตรายให้กลับมาสู่โลกได้อย่างปลอดภัย เริ่มต้นจาก SpaceX ได้ปล่อยจรวด Falcon 9 พร้อมด้วยแคปซูล Crew Dragon ที่ไม่มีนักบินอวกาศออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดี ซึ่งในเวลา 7 A.M. (มาตรฐานเวลาแปซิฟิก) หลังจากที่จรวด Falcon 9 ได้ถูกยิงขึ้นไป ตามแผนประมาณ 84 วินาทีก็มีการยกเลิกการบินโดยเกิดลูกไฟระเบิดขึ้นบนท้องฟ้าตามด้วยเสียงที่ดังกึกก้อง จรวด Falcon 9 ได้ระเบิดตามคาดไว้ จากนั้น Crew Dragon ก็ได้หนีออกมาพร้อมกับร่มชูชีพได้อย่างปลอดภัย
Splashdown of Crew Dragon in the Atlantic Ocean! pic.twitter.com/V1C2Xfd9Mk
— SpaceX (@SpaceX) January 19, 2020
การทดสอบ In-flight abort ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ จากนั้นทีมงานก็ดำเนินการกู้คืน Crew Dragon โดยใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งผู้ดูแลระบบของนาซา Jim Bridenstine ก็ได้ทวีตแสดงความยินดีกับ SpaceX ในการทดสอบที่ประสบความสำเร็จ
https://twitter.com/JimBridenstine/status/1218930884226711553
Elon Musk ผู้ก่อตั้ง SpaceX ได้บรรยายการสาธิตว่า “ภาพสมบูรณ์แบบ” และได้กล่าวในการประชุมสื่อว่า “ฉันรู้สึกตื่นเต้นจนบอกไม่ถูก มันยอดเยี่ยมมาก” และขั้นต่อไป SpaceX จะก้าวสู่ภารกิจส่งนักบินอวกาศของสหรัฐไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
ที่มา : cnet
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส