FBI เปิดเผยถึงรายงานด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์จากศูนย์ร้องเรียนอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (Internet crime complaint centre : IC3) ซึ่งระบุว่าในปี 2019 อาชญากรไซเบอร์สามารถทำเงินได้ถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงปีมานี้ IC3 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลและธุรกิจต่าง ๆ ถึง 467,361 รายการและตั้งแต่หน่วยงานก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 ได้รับเรื่องร้องเรียนเกือบ 5 ล้านรายการ ซึ่งวิธีการฉ้อโกงยอดฮิตที่เหล่าอาชญากรไซเบอร์ใช้กันมากที่สุดนั่น ก็คือ ฟิชชิงและการขู่กรรโชก
อาชญากรจะใช้เทคนิคที่ซับซ้อนจนผู้คนแทบแยกไม่ออกว่าที่อยู่เว็บและอีเมลเป็นของจริงหรือของปลอม เพราะดูผิวเผินจะเหมือนถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะฟิชชิงจะใช้เว็บหรืออีเมลปลอมเหล่านี้มาหลอกลวงให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญแล้วนำไปใช้ทำธุรกรรมดูดเงินออกไป
Ransomware เป็นเครื่องมือสุดแสบที่สามาถทำเงินให้กลุ่มแฮกเกอร์ได้มากกว่า 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะใช้มัลแวร์ที่ถูกติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อแอบไปล็อกข้อมูลหรือดูดข้อมูลออกไป จากนั้นก็ขู่กรรโชกว่าถ้าไม่จ่ายเงินเป็นค่าไถ่ก็ไม่สามารถปลดล็อกข้อมูลหรือแฮกเกอร์จะนำข้อมูลไปเผยแพร่
ปีที่ผ่านมา IC3 ได้รับเรื่องเรียน 13,633 รายการจากผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงที่สนับสนุนด้านเทคนิค (Technical support scam) โดยนักต้มตุ๋นจะโทรถึงเหยื่อแล้วอ้างว่าเป็นฝ่ายสนันสนุนทางเทคนิคของบริษัทชั้นนำที่น่าเชื่อถือ พบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อมีปัญญาจะต้องทำการแก้ไขในทันที แล้วหลอกลวงด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าสู่คอมพิวเตอร์จากระยะไกลและขโมยข้อมูลบัญชีบัตรเครดิต
รายงานระบุเพิ่มเติมว่าความสูญเสียมีมูลค่ามากกว่า 54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งรับการร้องเรียนมาจากผู้เสียหายใน 48 ประเทศ และผู้เสียหายส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี
Matt Gorham ผู้ช่วยผู้อำนวยการ FBI Cyber Division (หน่วยงานตรวจสอบและดำเนินคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์) กล่าวว่า ข้อมูลที่รายงานต่อ IC3 มีบทบาทสำคัญให้ FBI สามารถเข้าใจต่ออาชญากรทางไซเบอร์และแรงจูงใจของพวกเขา ซึ่งในทางกลับกัน ช่วยให้ FBI สามารถกำหนดความเสี่ยง บทลงโทษสำหรับผู้ทำผิดกฎหมายและคุกคามความมั่นคงของชาติ รวมทั้งความพยายามเหล่านี้จะทำให้ไซเบอร์ปลอดภัยมากขึ้น
ที่มา : bbc
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส