เมื่อช่วงเช้าวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสีย กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มจัดการประมูลคลื่นความถี่ 5G ประจำปี 2563 ในย่านความถี่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยมีบริษัทด้านโทรคมนาคมต่าง ให้ความสนใจในการร่วมประมูล จำนวน 5 บริษัท ดังนี้

  1. บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ทรู คอร์ปอเรชัน หรือ TRUE
  2. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ดีแทคหรือ DTAC
  3. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เอไอเอสหรือ AIS
  4. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT
  5. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT

ทั้งนี้ พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน กสทช. ได้จับสลาก เพื่อให้บริษัทที่เข้าร่วมการประมูลที่ได้รับการสุ่มเลือก และจะต้อง Log in เข้าสู่ระบบซอฟต์แวร์การประมูลที่ห้อง พร้อมทั้งแจ้งชื่อผ่านระบบและรหัสผ่านที่มีการจับฉลากได้ โดยจะเริ่มประมูลตั้งแต่เวลา 09.30 . เป็นต้นไป โดยสิ้นสุดลงเมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. และได้ผลสรุปการประมูลดังนี้

ผลการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz

700 MHz เป็นคลื่นที่ใช้ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัลเดิม มีชุดคลื่นความถี่จำนวน 3 ชุด ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท

การประมูลสิ้นสุดลงที่ชุดละ 17,153 ล้านบาท และผลรวมราคาสูงสุดในขั้นตอนการกำหนดราคาย่านความถี่เท่ากับ 1 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่า 51,460 ล้านบาท (เคาะราคา 20 ครั้ง) โดยมีผู้ชนะการประมูลชุดคลื่นความถี่ ดังนี้

  1. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด 1 ชุด ย่านความถี่ 733 – 738 MHz คู่กับ 788 – 793 MHz มีราคาสุดท้ายอยู่ที่ 17,154 ล้านบาท
  2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : 2 ชุด ย่านความถี่ 738 – 748 MHz คู่กับ 793 – 803 MHz มีราคาสุดท้ายอยู่ที่ 34,306 ล้านบาท
  3. บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : ไม่ได้รับการจัดสรรชุดคลื่นความถี่
  • ปล. คลื่น 700 MHz พร้อมใช้งานในเดือนเมษายน 2564

ผลการประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz

2600 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่พร้อมให้บริการ 5G โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ชนะการประมูลต้องทำโครงข่าย 5G ในพื้นที่เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ได้ 50% ในระยะเวลา 1 ปี โดยมีชุดคลื่นความถี่จำนวน 19 ชุด ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท

การประมูลสิ้นสุดลงที่ชุดละ 1,956 ล้านบาท และผลรวมราคาสูงสุดในขั้นตอนการกำหนดราคาย่านความถี่เท่ากับ 269.9 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่า 37,433.9 ล้านบาท (เคาะราคา 2 ครั้ง) โดยมีผู้ชนะการประมูลชุดคลื่นความถี่ ดังนี้

  1. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด : 10 ชุด ย่านความถี่ 2500 – 2600 MHz มีราคาสุดท้ายอยู่ที่ 19,561 ล้านบาท
  2. บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : 9 ชุด ย่านความถี่ 2600 – 2690 MHz มีราคาสุดท้ายอยู่ที่ 17,872.9 ล้านบาท
  3. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ไม่ได้รับการจัดสรรชุดคลื่นความถี่

การประมูลคลื่นความถี่ 26 GHz

26 GHz เป็นคลื่นความถี่ที่พร้อมให้บริการ 5G ได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด แต่อาจต้องการลงทุนในด้านต่าง และความพร้อมของอุปกรณ์นานถึง 2 ปี โดยมีชุดคลื่นความถี่จำนวน 27 ชุด ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท

ผลการประมูลจบลงที่ 26 ชุด จากที่เปิดประมูล 27 ชุด ชุดละ 445 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่า 11,570 ล้านบาท (เคาะราคา 1 ครั้ง) โดยมีผู้ชนะการประมูลชุดคลื่นความถี่ ดังนี้

  1. บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : 8 ชุด ย่านความถี่ 24.3 – 25.1 GHz ราคาสุดท้ายอยู่ที่ 3,576.9 ล้านบาท
  2. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด : 12 ชุด ย่านความถี่ 25.2 – 26.4 GHz ราคาสุดท้ายอยู่ที่ 5,345 ล้านบาท
  3. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : 4 ชุด ย่านความถี่ 26.4 – 26.8 GHz ราคาสุดท้ายอยู่ที่ 1,795 ล้านบาท
  4. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด : 2 ชุด ย่านความถี่ 26.8 – 27.0 GHz ราคาสุดท้ายอยู่ที่ 910.4 ล้านบาท

รวมมูลค่าการประมูลอยู่ที่ 100,521 ล้านบาท โดยยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ สามารถจำแนกให้เห็นภาพชัด ๆ ได้ ดังนี้

คลื่นความถี่ 700 MHz

  • AIS : 10 MHz (1 ชุด)
  • CAT : 20 MHz (2 ชุด)

คลื่นความถี่ 2600 MHz

  • AIS : 100 MHz (10 ชุด)
  • TRUE : 90 MHz (9 ชุด)

คลื่นความถี่ 26 GHz

  • AIS : 1200 MHz (12 ชุด)
  • TRUE : 800 MHz (8 ชุด)
  • DTAC : 200 MHz (2 ชุด)
  • TOT : 400 MHz (4 ชุด)

นั่นหมายความว่า บริษัทที่ชนะการประมูลได้ 5G รวมทุกคลื่นไปทั้งสิ้น มีดังนี้

  • AIS : 1305 MHz
  • TRUE : 890 MHz
  • DTAC : 200 MHz
  • TOT : 400 MHz
  • CAT : 10 MHz

ภายหลังจากการประมูลสิ้นสุดไม่นาน บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ในกลุ่ม AIS ที่ชนะการประมูล ได้ออกมามาแสดงความมั่นใจในการดำเนินงาน และให้บริการ 5G แก่ผู้ใช้ทุกคนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยได้ใบอนุญาต ทั้ง 3 คลื่นความถี่

ทั้งนี้ คณะผู้บริหารและพนักงานได้ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จ โดย AIS ยังคงยืนหยัด รักษาตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ของอุตสาหกรรมที่ถือครองคลื่นความถี่ในการให้บริการ 4G และ 5G มากที่สุดในประเทศ รวมทั้งสิ้น 1450 MHz พร้อมประกาศเดินหน้าพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศเป็นรายแรก

ข้อมูลอ้างอิง : thaipbs , kaohoon

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส