นักค้นคว้าจาก 3 มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กลีย์ (University of California’s Berkeley campus), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือตัวย่อว่า MIT) และ มหาวิทยาลัยโคโลราโด ที่โบลเดอร์ (University of Colorado’s Boulder campus)ได้สร้างชิปที่จะส่งข้อมูลผ่านแสงแทน ซึ่งจะช่วยยกระดับขอบเขตความในการส่งข้อมูลและใช้พลังงานน้อยลง เรียกว่า Silicon Photonics โดยคาดว่าน่าจะสามารถใช้งานได้จริงในช่วงต้นปี 2017

ในปัจจุบันนี้ การส่งถ่ายข้อมูล (ภายในคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน) ต้องจะต้องผ่านสัญญาณไฟฟ้าที่วิ่งผ่านลวดทองแดงจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลและส่งไปยังหน่วยความจำ, เน็ตเวิร์ค, อุปกรณ์เก็บข้อมูล และพอร์ท USB โดยศูนย์กลางข้อมูลในหลายประเทศต้องใช้เซิร์ฟเวอร์จำนวนมากในการส่งถ่ายข้อมูล แต่มันก็ประหยัดกว่าการส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง

เหล่านักค้นคว้าจึงเปลี่ยนองค์ประกอบของชิปเสียใหม่ เป็นแบบ Photonic ซึ่งสามารถส่งและรับสัญญาณแสงได้ ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลได้ดีมากกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น Google หรือ Facebook ที่มีข้อมูลมหาศาลส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ถ้าหากนำระบบนี้ไปใช้ จะช่วยให้การค้นหารูปภาพต่างๆรวดเร็วขึ้น และสำหรับคอมพิวเตอร์ธรรมดา หากนำระบบนี้มาใช้ก็จะสามารถใช้ประสิทธิภาพสูงสุดของเครื่องโดยไม่กินพลังงานแบตเตอรี่มากเกินไป

Photonic หรือ โฟโตนิค คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของการสร้างและควบคุมแสง (โฟตอน)  การประยุกต์ใช้โฟโตนิกส์นั้นมักเกี่ยวข้องกับแสงเลเซอร์ ความถี่ของแสงที่ใช้งานนั้นอยู่ในช่วงร้อยเทราเฮิรตซ์

แต่ปัญหาก็คือราคาที่ค่อนข้างสูง ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีนี้จะเริ่มใช้ในศูนย์ข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะนำมาพัฒนาให้ถูกลงเพื่อใช้ในอุปกรณ์ที่เล็กกว่า เช่น แล็บท็อปหรือสมาร์ทโฟนได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ต่างออกไป (นอกเหนือจากความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแล้ว) คือเรื่องของพลังงาน การส่งข้อมูลความเร็วสูงนี้จะใช้พลังงานน้อยมากหากเทียบกับระบบในปัจจุบันที่ยังมีปัญญาเรื่องความร้อนที่สูงเกินไปในบางครั้ง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วย

รายชื่อของทีมค้นคว้ามีดังนี้

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Vladimir Stojanovic หัวหน้าทีมพัฒนาชิปจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กลีย์
  • Krste Asanovic จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กลีย์
  • Rajeev Ram จาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
  • Milos Popovic จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด ที่โบลเดอร์

ที่มา : www.cnet.com และ วิกิพีเดีย