ตึกทั่วไปส่วนใหญ่ จะสร้างขึ้นจาก แผ่นกระจกแก้วอย่างหนา เพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงแดดที่สาดส่องเข้ามาในตัวตึก แต่แผ่นกระจกแก้วพวกนี้นั้น จะทำให้ตัวตึกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วได้ภายในเวลาไม่กี่นาที หลังจากปะทะกับแสงแดด แลนั่นยิ่งทำให้การใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเลยหละค่ะ
แต่ตึก Al Bahr ในอาบูดาบี เป็นตึกสูง 29 ชั้น บนความสูง 145 เมตร ตั้งอยู่บริเวณสี่แยก ถนน Al Saada และ Al Salam แม้จริงๆแล้วตัวตึกก็สร้างโดยแผ่นกระจกแก้วแบบตึกทั่วๆไปเช่นกัน แต่ที่แตกต่างจากตึกเหล่านั้นคือ การที่นักออกแบบนำ เทคโนโลยี บางอย่างเข้ามาผสมผสานกับการสร้างตึก เพื่อช่วยปกคลุมให้ตัวตึกมีการป้องกันความร้อนได้มากยิ่งขึ้น และไม่ทำให้เครื่องปรับอากาศภายในตัวอาคารทำงานหนักเกินไปด้วย มันมีลักษณะคล้าย รังไหม หรือ ร่ม ที่สามารถ เปิดปิดได้แบบอัตโนมัติ ตาม ความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ เห๋ยยย! เจ๋งจริงนะ!
มันได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Mashrabiya ในสมัยศตวรรษที่ 14 เป็นการนำหน้าต่างของศิลปะแบบอารบิกมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่ทั้งสวยงามและให้ความเป็นส่วนตัวไปพร้อมกัน
ร่ม แต่ละอันนั้นทำจาก ไฟเบอร์กลาส และถูกกำหนดการทำงานโดย การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เช่น ในช่วงเวลากลางคืน ตอนเช้า และตอนเย็น ร่มจะหุบลง ทำให้คนด้านนอกสามารถเห็นวิวด้านหน้าตึกได้ แต่เมื่อใดที่ มีแสงอาทิตย์จ้ามากเกินไป ร่มก็จะถูกกางออก เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในตัวตึกไปด้วยในตัว
ซึ่งแน่นอนว่ามันดีกว่าการใช้วัสดุที่เป็นแผ่นแก้วหนาๆมาปกป้องแสงแดด เพราะนอกจากันจะไม่ค่อยช่วยป้องกันแสงแดดแล้ว มันยังจะทำให้ภายในตัวตึกนั้นค่อนข้างมืด และตัวตึกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะเกินไปอีกด้วย!
ที่มา : boredpanda