ปัจจุบัน คนเรามักจะใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งก่อนนอน ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการนอนของคุณ

แสงสีฟ้าที่ออกมาจากหน้าจอสมาร์ทโฟนในที่มืดหรือตอนกลางคือนนั้นจะส่งผลเสียต่อประสาทตาและส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเมนาโนนิน

smartphone-work-usage-at-night-635

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ เพราะเมื่อแสงอาทิตย์ลับไป ความมืดจะเข้ามาแทนที่ทำให้แสงสว่างหายไปจากจอรับภาพของดวงตา จะเป็นกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ “ฮอร์โมนเมลาโทนิน” ออกมา เพื่อเตือนให้ร่างกายต้องการพักผ่อน และทำให้เกิดอาการง่วงนอนและนอนหลับสนิท  ครั้นเมื่อร่างกายและจิตใจหลับสนิทแล้ว ฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่ง ในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือสารต่อต้านไม่ให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัย หรือที่บางคนอาจเรียกว่า “สารต่อต้านความชรา”

สำหรับผู้ที่ต้องใช้สมาร์ทโฟนในยามกลางคืนก็สามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ดังนี้

สำหรับสมาร์ทโฟน Android คุณสามารถดาวน์โหลดแอป Twilight ได้โดยการคลิกที่นี่ โดยแอพนี้จะช่วยในการตัดแสงสีฟ้าออกไปจากหน้าจอ เพื่อลดการทำลายจอประสาทตาของเรา

android-brightness-apps-twilight

สำหรับ iPhone จะมี Night Shift Mode เพื่อตัดแสงสีฟ้าให้เลือกใน iOS 9.3 ที่กำลังจะเปิดให้ดาวน์โหลดในอีกไม่นานนี้ โดย Mode นี้สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดได้อัตโนมัติ หรือเปิดใช้ด้วยตนเองได้

nightshiftmodecomparison-800x600

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถลดการทำลายจอประสาทตาลงได้ แต่ทางที่ดีนั้น แพทย์แนะนำให้หยุดใช้งานสมาร์ทโฟนเลยจะส่งผลดีกว่าในเวลานอน

ที่มา : cnet.com และ kamil-habbatussauda.blogspot.com