iCreator Conference 2022 Presented by SUPALAI งานมหกรรมรวมกลุ่มคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และแพลตฟอร์มชั้นนำครั้งใหญ่ที่สุดในไทย ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) โดยหนึ่งในเซ็กชันที่น่าสนใจคือช่วงเวลาบนเวทีจากทาง YouTube ที่ได้มายด์ ฐรินทร์ญา ศุภทรัพย์ Strategic Partner Manager แห่ง YouTube Thailand ขึ้นมาเปิดเผยก้าวสำคัญ และสิ่งใหม่ที่กำลังจะมาบน YouTube ที่เราต้องรู้ เพื่อทำให้เราสามารถเตรียมตัวพร้อมในการทำช่อง YouTube หรือการพัฒนาช่องของเราให้ดียิ่งขึ้น ควรทำอย่างไรผ่าน “Creativity 3 ประเภท ที่จะช่วยให้ YouTube ประสบความสำเร็จ”
Community Creative
Culture & Trend เป็นสิ่งแรกที่คนทำคอนเทนต์ควรรู้ ทำความเข้าใจและรู้จักให้มากพอ และปัจจุบันนี้เทรนด์สามารถเป็นใครก็ได้มากำหนด ไม่ได้ยึดติดกับสื่อหลักอีกต่อไป โดยครีเอเตอร์ต้องสร้างสรรค์งานออกมาให้ตรงตอบโจทย์กลุ่มคอมมูนิตี้ที่ชื่นชอบเหมือนกับเรา เช่น เพลงเฮอร์ไมโอน้อง ที่ถูกจริตคนรักการเต้น, กลุ่มคนรักการบิน ที่ชอบการรับวิดีโอลองเทกดูเครื่องบินลงจอดและบินขึ้นเป็นประจำ หรือช่องของเด็กตกปลา ที่นำเสนอคอนเทนต์คอยแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการตกปลาที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับกลุ่มที่รักในการตกปลา จะเปรียบเสมือนคอมมูนิตี้ที่เขาจะกลับมาอีกครั้ง อีกทั้งยังมีสถิติที่บันทึกโดย Google และ IPSOS ที่น่าสนใจ ดังนี้
- 85% ของคน Gen-Z อัปโหลดวิดีโอคอนเทนต์ของตัวเองขึ้นสู่โลกออนไลน์
- ช่องคนไทยบน YouTube มีการอัปโหลดวิดีโอเติบโตขึ้นถึง 50% ในหน่วยชั่วโมง
- การรับชมวิดีโอของคนในช่วง COVID นั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมาก และมีวัตถุประสงค์ชัดเจนขึ้น เช่น เรียนออนไลน์, ความบันเทิง, หรือหาข้อมูล
- 95% ของคน กล่าวว่า YouTube เป็นที่แรกที่เข้ามาเวลาหาวิธี หรือต้องการคำตอบของอะไรบางอย่าง
- Meme เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน การเล่นกับสิ่งที่เป็น Meme ช่วยให้เกิดการทำซ้ำ หรือตีความใหม่ ในบริบทที่แตกต่างออกไปจากต้นฉบับ
- ชาว Gen-Z กว่า 50% สนใจโฆษณาที่มีการเล่นกับกระแส
- Meme และมีอิทธิพลต่อคอนเทนต์บนโลกออนไลน์อย่างชัดเจนและทรงพลังมากในตอนนี
- 61% ของ Gen-Z บอกอย่างชัดเจนว่า พวกเขาสนใจ ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือเรื่องราวผู้คนอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างจริงจัง ดังนั้นอย่าประเมินความสนใจของคนต่ำไป และบางที การทำวิดีโอแบบ Long-form ก็ยังเติบโตและพัฒนา ไม่ต้องสนว่าจะต้องทำวิดีโอสั้น ซึ่งระยะเวลาสามารถเริ่มต้นได้ตั้ง 20 นาทีขึ้นไป – 1 ชั่วโมง และไม่จำเป็นจะต้องเป็นเชิงให้ความรู้เพียงอย่างเดียว แม้กระทั่งวิดีโอแบบ Entertainment ก็สามารถนำเสนอระยะนาน ๆ ได้เช่นกัน
- คนไทย 92% บอกว่า YouTube ทำให้พวกเขาอยากติดตามผู้ที่เขาสนใจหรือชื่นชอบ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม การทำ Fan Funding หรือการสมัคร Membership ของช่อง ซึ่งทำให้หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จและมีคนจ่ายรายเดือนเพื่อดูคอนเทนต์ที่พิเศษขึ้นด้วย และก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม หากแต่เป็นความเข้มแข็งและเหนียวแน่นของ คอมมิวนิตี้ต่างหากที่เป็นปัจจัยส่งให้แฟน ๆ ช่องนั้น ๆ พร้อมสนับสนุน
Responsive Creativity
เป็น Trend ที่คนดูไม่ได้เข้ามาเพื่อดูเพื่อความบันเทิง แต่เข้ามาดูเพื่อบำบัดจิตใจตัวเอง (ศัพท์ร่วมสมัยก็คือดูแล้วฟิน) บางทีเราอาจจะดูแล้วรู้สึกว่าแปลก แต่ดันมีคนดู เราเรียกสิ่งนี้ว่า “Psychological Emotional” ดูแล้วเพลิน ดูแล้วพอใจ เช่น การปั่นแก้วไปเรื่อย ๆ, การทำขนม, การปอกผลไม้ไปเรื่อย ๆ คนดูเข้ามาดูแค่เพื่อความเพลิดเพลิน หรือพอใจ คน Gen-Z กว่า 83% จากสถิติ บอกว่ารับชมวิดีโอเหล่านี้แค่เพื่อความพอใจ และคนกว่า 69% บอกว่า ถ้าดูแล้วฟินจริง ก็จะย้อนกลับไปดูอีก หรือไปไล่ดูวิดีโอในช่องจนครบ
วิดีโอแนว ASMR ก็จัดว่าอยู่ใน Responsive Creativity เช่นกัน ในช่วง COVID ปี 2020-2022 วิดีโอแนว ASMR เติบโตขึ้นอย่างมาก และมี Creator หน้าใหม่ ๆ มาทำคอนเทนต์ ASMR และโด่งดังขึ้นมาในระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากคนต้องการบำบัดความเครียด โดยวิดีโอเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องพูดแม้แต่คำเดียว แต่สามารถทำให้คนนั่งดูได้จริงจัง และเกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น การเปิด YouTube ไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา แล้วทำอย่างอื่นไปด้วย โดยช่องที่เป็นตัวอย่างที่ดีคือ Ghost Radio โดยคอนเทนต์รูปแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความอิสระและการไร้ข้อจำกัดของเนื้อหาไม่มีเส้นมาจำกัดว่าต้องทำแบบไหน
Multi-format Creativity
การใช้ Format ที่แตกต่างกันในการสร้างคอนเทนต์อย่างผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอแบบ Shorts (ฟีเจอร์เสนอวิดีโอคอนเทนต์ภายในเวลา 1 นาทีของทางยูทูบ), Mid-Long Video (ความยาว 5 – 15 นาที) หรือ Longform Video (ความยาว 25 นาทีขึ้นไป) ซึ่งครีเอเตอร์สามารถใช้ทั้งสามรูปแบบสามารถในการนำเสนอคอนเทนต์ได้
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือหลายช่องจะเลือกใช้การตัดทีเซอร์ลง Shortsเพื่อสร้าง Engagement และดึงเอาคนดูให้มาดูวิดีโอตัวเต็ม หรือแม้กระทั่งการนำเสนอข่าว สารคดี ในรูปแบบ Shorts การไลฟ์ก็นับว่าเป็น Multi-format Creativity คนทำคอนเทนต์วิดีโออาจจะมา Live พูดคุยกับแฟน ๆ ของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม “คนดูจะเลือกดูคอนเทนต์ตามเนื้อหาที่สนใจ ไม่ใช่ Format ต่อให้คอนเทนต์ซ้ำกัน เรื่องเดียวกัน แต่ Format ต่างกัน คนก็อยากดู”
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส