AIS จัดงาน ‘The Next Evolution’ เพื่อขยายผลการทำ ‘AIS Ecosystem Economy’ พาประเทศไทยสู่ ‘Sustainable Nation’ เพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ทั้งสำหรับคนทั่วไป และสายธุรกิจ
โดยงานนี้ตั้งอยู่บนหลัก AIS Ecosystem Economy ที่ประกาศมาตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยประกอบไปด้วย Digital Intelligence Infrastructure, Cross Industry Collaboration และ Human Capital & Sustainability ซึ่งในงานครั้งนี้ได้ประกาศความก้าวหน้าที่ทำไปแล้วในแต่ละหัวข้อของ Ecosystem Economy นั่นเอง
Digital Intelligence Infrastructure
Digital Intelligence Infrastructure หรือโครงข่ายดิจิทัลอัจฉริยะที่ได้ทำมาในปีนี้ โดยนาย Mark Chong Chin Kok (มาร์ค ชอง ชิน ก๊อก) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS ได้ประกาศความก้าวหน้าด้านโครงข่ายดิจิทัลอัจฉริยะออกได้ดังนี้
อย่างแรกก็คือ ได้เปิดตัว 5G Living Network ด้วยความร่วมมือกับ NT ที่จะทำให้ลูกค้าของ NT และ AIS รวมถึงคนไทยได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือกว่า ด้วยฟีเจอร์เฉพาะสำหรับการเร่งความเร็วเพื่อแต่ละกรณีการใช้งาน (Use-Case) อย่างเช่น 5G Boost Mode, Live Mode หรือ Game Mode เป็นต้น โดยฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้งานในวันที่ 23 ธันวาคม เริ่มที่กรุงเทพฯ และบางพื้นที่ก่อน
นอกจากนี้ ทาง AIS ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ NT บนคลื่น 700 MHz ที่นอกจากจะทำให้ลูกค้า NT และ AIS ได้รับคุณภาพการใช้งานที่ดีแล้ว ยังได้เพิ่มความแข็งแกร่งและยั่งยืนกับองค์กรโทรคมนาคมแห่งชาติอีกด้วย
เทคโนโลยี Wi-Fi 7 ที่เตรียมพร้อมจะเปิดให้ใช้งานในประเทศไทยผ่านความร่วมมือกับ TP-Link โดยจะเปิดให้ใช้งานในเดือนมกราคม 2024 นี้
โครงข่าย Fibre ที่จะร่วมกับ 3BB ยกระดับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมกว่า 13 ล้านครัวเรือนภายในปี 2024
นอกจากนั้นยังได้ยกระดับ Enterprise Infrastructure และ Enterprise Platform – CPaaS (Communication Platform as a Service) และ AIS Paragon ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application ที่จะทำให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมสามารถนำดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของการทำงาน เพื่อทำให้แข่งขันในตลาดได้มากขึ้นในอนาคต ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านเครือข่ายอย่าง Bridge Alliance เป็นต้น
Cross Industry Collaboration
ในด้าน Cross Industry Collaboration หรือการทำงานร่วมกันข้ามธุรกิจนั้น ทาง AIS ได้มีการร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ มากมาย เพื่อให้ชีวิต และการทำงานง่ายขึ้น โดยนายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไปของ AIS ได้ประกาศความร่วมมือกับหลากหลายแบรนด์อย่างมาก เช่น
ประกาศความร่วมมือกับ Microsoft เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พร้อมให้บริการ Microsoft Teams Phone ที่ทำให้โทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams ที่คุ้นเคย รวมไปถึงการนำ Generative AI (genAI) ที่จะมาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กับ Microsoft 365 Copilot for Enterprise ที่เปิดให้ใช้งานได้ตั้งแต่วันนี้เลย (เฉพาะธุรกิจนะ)
นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับ ZTE เพื่อเตรียมเปิดตัวบริการ Cloud PC for Enterprise ให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) บนระบบคลาวด์ที่จัดสรรได้ตามความเหมาะสมบนความปลอดภัยสูงสุดในการเก็บข้อมูล ผ่านอุปกรณ์เล็ก ๆ ของ ZTE ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าเซิร์ฟเวอร์ของ AIS ได้เลย
ส่วนเรื่องของ ‘AIS Points’ ซึ่งเป็นระบบคะแนนของทาง AIS ปัจจุบันได้มีการร่วมมือกับแบรนด์ต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 1,100 ธุรกิจ รวมแล้วกว่า 30,378 ร้านค้าทั่วประเทศ ในการใช้คะแนน ‘เอไอเอสพอยท์’ และเป็นส่วนลดหรือของฟรีต่าง ๆ ในร้านค้าได้มากมาย แต่ที่มากไปกว่านั้น คือการแปลงคะแนนจาก 11 ธุรกิจ ให้เป็น AIS Points ก็สามารถทำได้ด้วยการแปลงคะแนนแบบ 1:1 รวมถึงได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการใช้เอไอเอสพอยท์เพื่อใช้แทนเงินสดในร้านค้าถุงเงินอีกด้วย
โดยในเดือนธันวาคมนี้ สามารถใช้เอไอเอสพอยท์ 1 คะแนน เพื่อแลกเป็นสิทธิพิเศษในร้าค้าต่าง ๆ แบบไม่ซ้ำกันทุกวันตลอดเดือนได้ด้วย รวมถึงมีกิจกรรม ใช้ 5 คะแนนเพื่อลุ้นรับ BYD Seal AWD Performance ได้อีก
Human Capital & Sustainability
ในด้านของคน และความยั่งยืนหรือ Human Capital & Sustainability ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดของ AIS Ecosystem Economy เลยก็ว่าได้ เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันธุรกิจไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดด้านผลกำไรเท่านั้น แต่องค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแล เศรษฐกิจ ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปด้วย ตามหลักของ SDGs โดยนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS ได้มาอธิบายเรื่องการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับความยั่งยืนได้ดังนี้
ในการลงทุนด้านเน็ตเวิร์คกว่า 1 ล้านล้านบาท รวม 46,590 เซลล์ไซต์, สายเคเบิ้ลกว่า 254,000 กิโลเมตร ได้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศผ่านการประหยัดพลังงาน, พลังงานทดแทน และการทำ Digitalization ได้เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 17 ล้านต้น
สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ทาง AIS ได้สร้าง Green Network ผ่านการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม อย่างการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของลูกค้า หรือแม้แต่การเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และในอีกด้านที่ดำเนินการควบคู่กันอย่างเข้มข้นคือ ชวนให้คนไทยมีส่วนร่วมในภารกิจนี้ด้วยการปลูกจิตสำนึกและการตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ตามเป้าหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero e-waste to landfill โดยเราพร้อมเป็น HUB of e-waste ที่จะเป็นแกนกลางรวมทุกภาคส่วนมาร่วมกัน ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
และเพื่อสนับสนุนด้าน E-Waste มากยิ่งขึ้น ทาง AIS ได้จัดแคมเปญใหม่ ที่เพียงแค่ทิ้งขยะ E-Waste ให้ถูกที่ นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง กับ เอไอเอส ผ่านแอป E-waste+ ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ จะได้เอไอเอส พอยท์สูงสุด 5 พอยท์ต่อชิ้น ตามประเภทของขยะอิเลกทรอนิกส์ที่นำมาทิ้ง
ทาง AIS ได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยให้มีทักษะและเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพผ่านภารกิจ AIS อุ่นใจ CYBER นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบจากภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้อุ่นใจไซเบอร์ 4P ที่มีผู้เรียนแล้วกว่า 300,000 ราย
นายสมชัย กล่าวในช่วงท้ายว่า “เราตระหนักดีว่า บทบาทหลักของ AIS นอกจากสร้างมาตรฐานทั้งมิติของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว เรายังมีภารกิจในการสนับสนุนการเดินหน้าของประเทศ สู่การเป็น Sustainable Nation ซึ่งเป็นความหมายที่แท้จริงของ The Next Evolution งานนี้”