ช่อเสลา ปรียานุภาพ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คว้าชัยการประกวดออกแบบคาแรคเตอร์ในโครงการ Rabbit: Character Design Contest รับเงินรางวัล 50,000 บาท และคาแรคเตอร์ต้นแบบนี้จะถูกนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างเป็นคาแรคเตอร์แรบบิทสำหรับองค์กรที่นำมาใช้จริงในอนาคต

rabbit-hero

บริษัทบางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเท็ม จำกัด หรือ BSS ผู้ให้บริการบัตรชำระค่าสินค้าและบัตรโดยสาร BTS อย่างแรบบิท จัดโครงการ Rabbit: Character Design Contest เพื่อสร้างสรรค์คาแรคเตอร์กระต่าย Rabbit ที่เหมาะกับวิถีชีวิตยุคใหม่ และสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น โดยมีการจัด Road Show ใน 10 มหาวิทยาลัยเพื่อประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เรื่องการออกแบบคาแรคเตอร์ นำทีมโดยคุณสุมิตร สีมากุล หรือป๊อปทูเดย์ เจ้าของคาแรกเตอร์แกะน้อยสีเหลืองจอมกวน “คุณชูชีพ Eat All Day” และเปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีผลงานเข้าประกวดมากกว่า 500 ชิ้น จาก 32 มหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการ ชิงเงินรางวัลรวม 100,000 บาท

คุณไอรินทร์

คุณไอรินทร์ อริยพงศ์สถิต

ตอนนี้ Rabbit ขยายการให้บริการจาก Offline ไป Online มากขึ้น ทำให้แบรนด์ Rabbit กลายเป็นแบรนด์ดิจิทัล จึงต้องสร้างคาแรคเตอร์เพื่อให้มีชีวิต มีเรื่องราว มีไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อสะท้อนมุมมองของเด็กรุ่นใหม่กับ Rabbit เราจึงจัดโครงการนี้ เพื่อให้นิสิต นักศึกษาสร้างคาแรคเตอร์แรบบิทในแนวทางของตัวเอง จึงเป็นที่มาของโครงการนี้คุณไอรินทร์ อริยพงศ์สถิต
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด

คาแรคเตอร์ใหม่จะใช้สื่อสารกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น แต่ตัวกระต่ายหูพับแบบเดิมที่คุ้นเคยก็ยังคงใช้อยู่

คุยกับน้องช่อเสลา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ

ช่อเสลา ปรียานุภาพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่อเสลา ปรียานุภาพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มองว่า Rabbit เป็นอย่างไร ต้องการสื่ออะไรออกมาบ้าง

มองแรบบิท เป็นกระต่ายตัวหนึ่ง แล้วออกแบบเสื้อของกระต่าย โดยเก็บข้อมูลจากการเดิน BTS จริงๆ ว่าคนขึ้น BTS ใส่เสื้ออย่างไร ก็เห็นคนฟังเพลง คนใช้โทรศัพท์ คนใส่ฮู้ดใน BTS และเราชอบเสื้อฮูตเป็นการส่วนตัว เลยอยากให้กระต่ายใส่ด้วย ก็ใช้เวลาคิดคาแรคเตอร์ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วใช้เวลาวาดราว 3 ชั่วโมง

ฝึกวาดรูปมาสิบปี ก็เลยขอใช้โอกาสนี้ลองผลงานตัวเองด้วย

ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร

ร่างขึ้นมาบนกระดาษก่อน ก็ร่างอยู่หลายหน้ากระดาษจนพอใจ แล้ววาดใหม่ในคอมด้วยโปรแกรม PaintTool SAI

มีผลงานวาดอื่นๆ บางไหมครับ แล้วอนาคตอยากทำงานด้านนี้หรือไม่

ก็วาดรูปดอกไม้ วาดการ์ตูนแก็กลงเฟซส่วนตัว แต่อยากเก็บเรื่องวาดรูปไว้เป็นงานอดิเรกมากกว่า ในอนาคตคงทำงานด้านวิทยาศาสตร์ให้ตรงกับสายที่เรียนมา เพราะอยากให้การวาดรูปเป็นความสนุกต่อไป

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99

ผลงานของน้องช่อเสลามีความโดดเด่นคือมองเห็นว่ากระต่ายตัวนี้ก็พัฒนาบุคลิกของตัวเองได้ เพราะการออกแบบให้ใส่ฮู้ดกระต่าย เลยสามารถเปลี่ยนชุดให้เข้ากับเรื่องราวต่างๆ ได้ และสื่อได้ด้วยว่าใครก็สามารถเข้าสังคม rabbit ได้คุณไอรินทร์ อริยพงศ์สถิต
โฉมหน้าผู้ได้รับรางวัลทั้ง 5 คน

โฉมหน้าผู้ได้รับรางวัลทั้ง 5 คน

โฉมหน้าผู้ได้รับรางวัล Rabbit: Character Design Contest

rabbit-team2

  • น.ส.ช่อเสลา ปรียานุภาพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยมหิดล (ชนะเลิศ)
  • นาย ชาคร ขจรไชยกุล นักศึกษาชั้นปีที่3 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • น.ส.ณัชชา วัชระวิทยากุล นิสิตชั้นปีที่2 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • น.ส.ชฎาพร อัศวีนารักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่3 จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • น.ส.ศิลาลัย พัดโบก นักศึกษาชั้นปีที่3 จากมหาวิทยาลัยเพาะช่าง