อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในวันนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ซึ่งทำให้วิธีการสร้างสรรค์ เผยแพร่ผลงาน และการเข้าถึงเนื้อหาทางดนตรีเปลี่ยนไปจากอดีตอย่างชัดเจน วันนี้ประชากรโลกกว่า 3 พันล้านคนเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 48.4%) อยู่ในภูมิภาคเอเชีย มีการคาดการณ์ว่าตัวเลขของอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมอินเทอร์เน็ตจะพุ่งสูงแตะระดับ 50,000 ล้านเครื่อง ภายในปี 2563
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ระบุว่า “สมาร์ทโฟน” คือ อุปกรณ์หลักที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ถึง 85.5% สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่วันนี้อยู่ในทุกอณูของไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนไทย ตั้งแต่การทำธุรกิจ การสื่อสาร ที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วคลิก ซึ่งล้วนมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมดนตรีที่วันนี้คนรุ่นใหม่หลายคนคุ้นชินกับการเปิดแอปฯ หรือเข้าเว็บเพื่อหาเพลงฟังในรูปแบบของ “มิวสิค สตรีมมิ่ง” ได้ง่ายด้วยเครือข่าย 3G และ 4G
การฟังเพลงแบบ “มิวสิค สตรีมมิ่ง” คือไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ ที่ภาคธุรกิจเริ่มมองเห็นโอกาสในการสร้าง engage กับกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่บนแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ ปรากฏการณ์นี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงและมีบทบาทเช่นไร ในอุตสาหกรรมตลาดเพลงในโลกปัจจุบัน
ในปี 2560 จะมีคนใช้ “มิวสิค สตรีมมิ่ง” ในเอเชีย สูงราว 64 ล้านคน
ข้อมูลจาก Digital McKinsey The beat of progress: The rise of music streaming in Asia
ผลวิจัยล่าสุดจาก McKinsey : The beat of progress: The rise of music streaming in Asia คาดการณ์ว่า ในปี 2560 จะมีจำนวนผู้ใช้มิวสิคสตรีมมิ่งในเอเชียเติบโตสูงขึ้นถึง 64 ล้านคน (รวมตัวเลขจากผู้ใช้ในฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และไทย) โดยเทรนด์ของการฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งกำลังจะเปลี่ยนจากการฟังเพลงบนแอปฯ ไปเป็นแพลตฟอร์มทางดนตรีที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ อาทิ การแชร์เนื้อเพลง การสร้างเพลย์ลิสต์ของตนเอง และความหลงใหลในโลกโซเชียลที่ชื่นชอบที่จะแชร์สถานะประกอบไปกับเพลงที่ตรงกับอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการรับชมความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่กำลังมาแรงในวันนี้ สำหรับประเทศไทย บริการเพลงออนไลน์ที่ McKinsey พบว่าได้รับความนิยมมากที่สุดคือ JOOX รองลงมาคือ LINE Music , Apple Music , KKBox และ SoundCloud
JOOX นับเป็นนวัตกรรมการฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่มีอายุเพียงหนึ่งปีในประเทศไทย ผลสำรวจของ McKinsey ระบุว่า JOOX ได้ขึ้นเป็นท็อปดาวน์โหลดในสี่ประเทศรวมทั้งประเทศไทย เพราะมีทีมงานที่เข้าใจความต้องการของนักฟังเพลงในเมืองไทย แอปฯ มีรูปแบบของยูสเซอร์ อินเทอร์เฟสที่ง่ายและตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยล่าสุด JOOX เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อย่าง V Station ที่ตอบโจทย์เทรนด์การชมดนตรีของผู้ใช้ชาวไทยในรูปแบบวิดีโอที่กำลังมาแรง และเหนือสิ่งอื่นใด JOOX มีเพลงที่หลากหลาย เป็นมิวสิคแพลตฟอร์มสำหรับทุกเพศทุกวัย
มิวสิคแอปพลิเคชั่นจะเป็นผู้บุกเบิกยุค “แอปฯ เฟิร์ส”
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลายยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงในวันนี้ เรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค “แอปฯ เฟิร์ส” ที่มีบทบาทต่อทุกกิจกรรมบนโซเชียลแพลตฟอร์ม การฟังเพลงบนมือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว นั่นคือเรื่องจริง
คนไทยชื่นชอบการฟังเพลงที่ตอบโจทย์ความต้องการแบบเบ็ดเสร็จ
นั่นจึงทำให้แพลตฟอร์มมิวสิคสตรีมมิ่งในปัจจุบันสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้ให้ครบครันที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบหน้า interface , ความเร็วในการโหลดเพลง , ความสะดวกในการใช้งาน , รูปแบบการใช้ที่เชื่อมกับโซเชียลมีเดีย , ความเป็นส่วนตัว และอื่น ๆ
ด้วยเหตุที่เทรนด์ของ ‘มิวสิค สตรีมมิ่ง’ ที่กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับโอกาสในด้านธุรกิจที่บรรดาแบรนด์ ค่ายเพลงและศิลปินต่างปรับกลยุทธ์เข้าหากัน ด้วยการเสริมช่องทางนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเพลย์ลิสต์เพลงของแบรนด์ที่เชื่อมผู้ฟัง สร้าง Engagement กับแบรนด์ด้วยเสียงดนตรีมากยิ่งขึ้น จนไปถึงเป็นช่องทางที่นำไปสู่การจัดกิจกรรมทางดนตรีในแบบออฟไลน์ มิวสิคแอปฯ กำลังเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มดนตรีออนไลน์ที่เชื่อมรูปแบบการฟังเพลงจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ (O2O) ในขณะเดียวกันการฟังเพลงออนไลน์ก็นำไปสู่การจัดกิจกรรมดนตรีในแบบออฟไลน์ด้วยเช่นกัน
ค่ายเพลงและศิลปินต่างไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่บนเส้นทางแห่งความสำเร็จ โดยในปี 2560 จะเป็นปีที่เราใช้เทคโนโลยีมาผนวกรวมกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น และความบันเทิงแรกๆ ที่พวกเรานึกถึงคือการฟังเพลงจาก JOOX ซึ่งเราเชื่อว่าประสบการณ์การฟังเพลงบนแอปฯ แบบเบ็ดเสร็จจะกลายเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมดนตรีในไทย เรายังคงนำเสนอฟังก์ชั่นการฟังเพลงที่ครบและสมบูรณ์แบบอย่างต่อเนื่อง เพิ่มมิติการฟังดนตรีที่มอบครบทุกอรรถรสทางดนตรีมาสู่ผู้ใช้งาน พร้อมๆ กับเนื้อหาที่เข้าถึง มีความเฉพาะ และมีความเรียลมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์การสร้าง Music Ecosystem แบบ C2C และการให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลางแห่งการใช้งาน ทั้งหมดนี้อยู่บนแพลตฟอร์มการฟังเพลงเดียว
ข้อมูลจาก McKinsey : The rise of music streaming in Asia
อ้างอิง
- ตัวเลขของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกจาก internetlivestats
- Ericsson’s President & CEO repeated the company’s vision of 50 billion connections by 2020
- ETDA เผยพฤติกรรมผู้ใช้เน็ตปี 59 ชี้เทรนด์ใหม่มาแรง ชงรัฐ-เอกชน จับตา 3G/4G ยังต้องปรับปรุง
- Digital McKinsey The beat of progress: The rise of music streaming in Asia