ทุกวันนี้เราใช้อีเมลเป็นช่องทางสื่อสารหลักกันในองค์กรใช่ไหมครับ แล้วก็ใช้ LINE เพื่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการในองค์กร หรือองค์กรใหญ่ๆ หน่อยก็อาจจะใช้ระบบสื่อสารของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco หรือ Microsoft แต่ตอนนี้มีบริษัทไทยอย่าง Eko ที่หาญกล้าบุกการตลาดการสื่อสารในองค์กร ซึ่งวันนี้เว็บแบไต๋จะพาไปรู้จักบริการนี้กันครับ

ต้นกำเนิด Eko

คุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์

Eko เกิดจากแนวคิดของคุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอโค่ คอมมิวนิเคชั่น (EkoCommunications) ที่มองเห็นว่าคนยุคใหม่เริ่มใช้การแซทกับการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะการคุยผ่านโมบาย จึงพัฒนาโดยดูว่าลูกจ้างต้องการอะไร แล้วบริษัทต้องการอะไร เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับทั้ง 2 กลุ่ม และสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับมือถือตั้งแต่ต้น Eko จึงเป็น startup ที่เน้นการสื่อสารในบริษัท โดยเฉพาะบริษัทใหญ่

เอโค่นั้นก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดยคุณกรวัฒน์ ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับ High school ที่อเมริกา หลังจากนั้นก็เข้าโครงการ Accelerator ใน Princeton อยู่ 3 เดือน ผ่านการรื้อทำใหม่มาหลายรอบ จนไปโฟกัสไปที่การใช้งานแซทสำหรับองค์กร

ทีมงานของ Eko

บริการอย่าง Eko นั้นค่อนข้างใหม่สำหรับบริษัทในประเทศไทย คือ Eko เป็น SaaS หรือ Software as a Service ที่ต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทใหญ่ ต้องลงทุนสูง แถมคู่แข่งก็เป็นบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลก จึงต้องหาทีมงานชั้นยอดจากทั่วโลกมาร่วมทีม และเพื่อให้ดึงดูดคนเก่งๆ ให้เข้ามาทำงาน จึงมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างจากบริษัทไทยทั่วไป

  • มีวิสัยทัศน์ในระดับโลก
  • ให้ผลประโยชน์กับพนักงานมาก คือไม่จำกัดเวลาทำงาน ไม่มี dress code มีคะแนนเดินทาง คือจ่ายเพื่อให้ไปเที่ยว
  • เน้นคอนเซปต์การบริหารแบบไม่มีศูนย์กลาง ให้พนักงานทุกคนมีความสามารถในการคิดเอง

ตอนนี้ Eko มีลูกค้ามากกว่า 180,000 รายในไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ จีน และไต้หวัน โดบบริษัทที่ใช้บริการแล้วก็เช่น True, Celcom, Bangkok Bank, TOA, สานพลังประชารัฐ

ความสามารถของ Eko

แพลทฟอร์มการสื่อสารของ Eko นั้นมีความสามารถหลายอย่างที่ไม่ได้จำกัดแค่การสื่อสารอย่างเดียว แต่สามารถใช้บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรได้อีกด้วย ซึ่งสรุปจุดเด่นออกมาได้ดังนี้

  • การแซทที่มีประสิทธิภาพ สามารถดึงข้อความที่แซทออกไปกลับมาได้ แก้ไขได้
  • Workspace สามารถจัดระเบียบหัวข้อที่จะคุยกันได้
  • Workflow เพื่อช่วยจัดการเรื่องเอกสารแทน เช่นการลา การยื่นเรื่องต่างๆ ป้อนฟอร์มได้ในมือถือเลย
  • Discover ให้พนักงานได้เปิดโลกความรู้ใหม่ๆ ที่บริษัทอยากให้รู้ อาจจะมาในรูปแบบของเกม ให้พนักงานมีส่วนร่วม พนักงานมีการแบ่งปันความรู้ต่างๆ เมื่อแชร์ความรู้ ก็จะได้แต้ม แล้วบริษัทก็เอาแต้มเหล่านี้ไปทำอะไร เช่นได้แต้มมากสุด อาจจะได้โบนัส
  • Security ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยมาก มีการตั้งเซิร์ฟเวอร์เฉพาะสำหรับองค์กรที่ต้องการ เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูงสุด
  • Permission สามารถตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลใหญ่ๆ ในลักษณะต่างๆ ได้
  • Customizability ลูกค้าของ eko สามารถทำ branding สำหรับบริษัทต่างๆ ได้เลย ทำให้ผู้ใช้อยากใช้งานตัวแอปมากขึ้นเพราะรู้สึกว่าเป็นระบบของบริษัท

ช่วงสัมภาษณ์ผู้บริหาร

Play video

ค่าใช้จ่าย และสมัครอย่างไร

ตอนนี้ที่เปิดเซิร์ฟเวอร์เป็น tier สูง ส่วนตลาด SME ที่ปรับลดฟีเจอร์จะเปิดตัว Q1 ปีหน้า

คู่แข่งในตลาด

ใกล้ที่สุดก็ microsoft, facebook workplace ซึ่งเราคิดว่าจุดเด่นของเราคือ Mobile First, เข้าใจคนเอเชีย มีการปรับแต่งบริการได้ เช่น บริษัทสามารถอัปโหลดสติกเกอร์ตัวเองได้

เมื่อเทียบกับ slack ที่ตอนนี้มีผู้ใช้ราว 1 ล้าน จุดแข็งของบริการคือสามารถเชื่อมโยงกับบริการอื่นๆ ได้ เหมาะมากสำหรับ tech company ดังนั้นทาง Eko จึงไปโฟกัสสำหรับผู้ใช้ในบริษัททั่วไปมากกว่า และวางราคาถูกกว่า

มีพนักงานต่างชาติมากขนาดไหน

35-40% ของพนักงานเป็นต่างชาติ เพราะต้องนำหัวกะทิจากทั่วโลก มาสร้าง Global Mindset ให้บริษัท จึงเป็นจุดมุ่งหมายของบริษัทตั้งแต่ต้นเลยว่าอยากให้มีแนวคิดจากต่างชาติเยอะๆ

และตัว Eko เองนั้นไม่เกี่ยวกับทรู (แม้ผู้ก่อตั้งจะนามสกุลเจียรวนนท์) เพราะคุณปู่กับพ่อมีนโยบายให้หาเงินเอง ทำเอง เรียนรู้เอง หาทุนเอง