The Story Thailand ฉลองครบรอบ 4 ปีด้วยการจัดงานสัมมนา The Story Thailand Forum 2024 ในหัวข้อ “Tech Vanguard – CIOs Leading the Charge in AI and Sustainability” ที่ได้นำเอาผู้นำด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน และบรรดาผู้เชี่ยวชาญระดับสูงขององค์กรต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองต่อการนำ AI มาใช้ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและเพิ่มความสำคัญต่อความยั่งยืน
The Story Thailand สื่อด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ ESG และความยั่งยืน ได้จัดงานสัมมนา The Story Thailand Forum 2024 ในหัวข้อ “Tech Vanguard – CIOs Leading the Charge in AI and Sustainability” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 4 ปี ของ The Story Thailand ในเดือนมิถุนายนนี้ ไปพร้อมกับการนำเอาเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งด้าน AI และความยั่งยืน ในวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมานี้

โดยในงานสัมมนานี้ ประกอบไปด้วย 9 หัวข้อจาก 9 วิทยากรที่ได้ผลัดกันมาแลกเปลี่ยนเรื่องราว ประสบการณ์ต่าง ๆ ในความถนัดที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยทาง BT beartai ได้ขอสรุปบางหัวข้อไว้ดังนี้
ในหัวข้อ Technology: The twin factor of sustainability, from ‘Net Profit’ to ‘Net Positive’ โดย ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ที่ได้พูดถึงเกี่ยวกับเทคโนโลยีและความยั่งยืน โดยได้กล่าวว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี สร้าง Carbon Footprint ค่อนข้างมาก อย่างเช่น Data Center ในปัจจุบัน ได้มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่า 100 – 200 เท่า เมื่อเทียบกับอาคารพาณิชย์โดยทั่วไป หรืออย่าง Data Center ของ Google ที่ได้มีการใช้น้ำไปกว่า 1.7 ล้านลิตรต่อวันเลย หรืออย่างการเข้ามาของ ChatGPT ก็สร้างการปล่อยคาร์บอนไปไม่น้อย เช่น การที่เราส่งคำถามกับ Generative AI เช่น ChatGPT ประมาณ 20-50 คำถาม ก็ใช้น้ำไปแล้วกว่า 17 ออนซ์ (ประมาณ 500 มิลลิมิตร)

เมื่อเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการสร้าง Carbon Footprint ที่มากขึ้นในทุก ๆ ปี ดังนั้น การทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ควรคำนึงถึงการสร้าง Net Positive ที่จะต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจเหล่านั้น สร้างประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว โดยการปล่อยคาร์บอนไม่ใช่ด้วยการชดเชยให้เป็น 0 (Net Zero) แต่ต้องเพิ่มมากกว่าเดิม คือต้องใช้พลังงานหมุนเวียน วัสดุหมุนเวียน ไปจนถึงการสร้างขยะให้ลดลงไปด้วย โดยในปัจจุบันสภาพัฒน์ได้มีการตั้ง Sustainability Disclosure Community (SDC) ที่มีองค์กรกว่า 160 องค์กรเข้าร่วม เพื่อเตรียมสร้างเป็น Net Positive Club เพื่อให้องค์กรเป็น Net Positive ให้ได้ในระยะยาวด้วย

หรืออย่างเรื่อง The next chapter of the digital transformation for Thailand โดย นายสมคิด จาตุรานันตรัตน์ อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย และผู้อยู่เบื้องหลังแอปฯ เป๋าตังและ K-Plus อดีตประธาน Kasikorn Business Technology Group (KBTG) ที่ได้พูดถึงการ Digital Transformation ภายในประเทศไทย โดยในไทย ยังได้เจอกับความท้าทายต่าง ๆ ประกอบไปด้วย จำนวนคนทำงานในประเทศไทยที่น้อยลงไปเรื่อย ๆ (Aging Society & Productivity), สภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ (Digital Disruption), ต้นทุนสังคมที่สูงขึ้น รวมไปถึงการคอร์รัปชัน และการขาดความเป็นธรรมในสังคม (Inequality) ซึ่งนายสมคิด ได้มีการแนะนำว่า ประเทศไทยเราต้องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างจริงจัง โดยได้แนะนำในแต่ละหัวข้อความท้าทายในประเทศไทยไว้แล้ว

- ในด้านจำนวนคนทำงานที่น้อยลง ให้เพิ่ม Productivity ด้วย AI หรือเรียกง่าย ๆ ว่าให้ AI มาช่วยงานเราแทน พร้อมกับการ Upskill และ Reskill
- ในด้านสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง ให้สร้าง Tech-Capability และ Innovation Culture หรือเตรียมพร้อมทุกคนให้รับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั่นเอง
- ในด้านต้นทุนสังคมที่สูงขึ้น ให้เพิ่ม Digital Footprint เพื่อความโปร่งใสที่มากกว่าเดิม และใช้ Autonomous Process หรือใช้อะไรที่อัตโนมัติมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีคนเข้าไปปรับแต่งได้
- ในด้านการขาดความเป็นธรรมในสังคม ให้เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ (Open Opportunity) เช่น การให้ความรู้ใหม่ ๆ (Education) การให้อาชีพ (Career) และการส่งเสริมการเติบโต (Growth Support), Telemedicine และ Thailand’s Open
Digital Platform
อีกตัวอย่างก็คือ The Real used cases of AI in Business โดย นายปริชญ์ รังสิมานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลูลู่ เทคโนโลยี จำกัด โดยได้กล่าวว่า หลาย ๆ บริษัทเริ่มใช้ Predictive Analytics ในการคาดเดาการขายว่าลูกค้าแต่ละเจ้าควรจะซื้อสินค้านี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้สามารถเก็บสินค้าได้ถูกจำนวน และถูกสถานที่ ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยคาดเดาไว้แล้วด้วย แต่จะเป็นปัญหากับรายเล็กที่โดนผลักตกจากการถูกแนะนำได้ ใด ๆ ก็ตามก็คือ ทุก ๆ ธุรกิจล้วนต้องใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ประกอบธุรกิจอยู่ตลอด และด้วยข้อมูลที่มี ทำให้บางครั้งการใช้คนไม่พอแน่นอน AI จะเข้ามาแทนที่งานของคนที่ต้องใช้ข้อมูลมาประกอบเหล่านี้ ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กหลาย ๆ เจ้า จะคอยห่วงแต่ว่า AI จะแย่งงาน หรือ AI ยังไม่เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ แต่ที่จริงแล้ว AI เกี่ยวข้องกับทุกธุรกิจ และควรปรับตัว และให้ AI มาช่วยงาน เพิ่มความ Productive ให้กับธุรกิจให้ดีขึ้น โดยได้ยก Use Case เช่น ทางการแพทย์ที่ได้ใช้ปัญหาด้านการจดโน้ตของหมอที่อ่านยาก แต่ก็ทำเพราะใช้เวลาในการพิมพ์ที่นาน มาใช้เป็นการอัดเสียงเพื่อถอดออกมาเป็นสรุปโน้ตแทนหมอได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังมีหัวข้ออื่น ๆ ประกอบไปด้วยหัวข้อเหล่านี้อีกด้วย
- AI Economy by AI Ecosystem, AI from one to millions
- โดย ดร. ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director KBTG
- Humanized AI: AI adaptation for everyday life
- โดย ดร. พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท LINE ประเทศไทย
- AI and Sustainability Solution
- โดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท บิทคับ แคปปิตอล
- Generative AI: Cyberworld with Double Edge
- โดย ปิยธิดา ตันตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย)