วิกฤตแรงงานด้านไอทีที่ขาดแคลนอย่างหนัก จะสามารถนำประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างไร ซิสโก้ (CISCO) อัพเดทความร่วมมือระหว่างรัฐบาล , ภาคเอกชน , สถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อนำประเทศก้าวสู่ Thailand 4.0 พร้อมฟังความเห็นจาก “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์” เกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนแรงงานไอทีคุณภาพที่เกิดจริงในภาคอุตสาหกรรม และทางออกในการพัฒนา
จากการที่รัฐบาลมีแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดิจิทัลไทยแลนด์” ถือเป็นก้าวสำคัญของการนำประเทศเข้าสู่ ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) “ความพร้อมทางด้านบุคลากร” เป็นความท้าทายลำดับต้น ๆ เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับระบบการทำงาน ระบบราชการ การเรียนรู้ การดำเนินธุรกิจ ฯลฯ
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรไอทีและ Digital Skill กำลังเป็นวิกฤติอย่างยิ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเวลานี้ที่บริษัทไม่สามารถหาบุคลากรที่มีความสามารถเข้าทำงานได้ เพราะบุคลากรไอทีที่มีคุณภาพมีจำนวนจำกัด การมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป ขาดความอดทน เปลี่ยนงานบ่อย ค่านิยมของคนรุ่นใหม่นิยมที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ การอ่อนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเรียนด้านไอที และการที่มหาวิทยาลัยจำนวนมากเปิดสอนสาขาไอที โดยเน้นที่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพ ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
ผลการสำรวจจจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า ประเทศไทยผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพโดยเฉลี่ยไม่เกิน 2,000 คน ต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ขณะที่ World Bank เผยว่าปีที่แล้ว 83.5% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทยอยู่ในจำพวก “ไม่มีฝีมือ” (Unskilled workers) ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้ และการขาดแรงงานที่มี Digital Skill จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในภาคธุรกิจ ขณะที่ไอดีซี (IDC) เผยว่าจะเกิด “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีราว 2 ล้านตำแหน่งทั่วโลกในปี 2566” ส่วนสายงานที่มีการจ้างงานมากที่สุด 3 อันดับแรกของปีที่แล้วคือ งานขาย , บัญชี และไอที โดยงานด้านไอที เช่น วิศวกรซอฟแวร์ และ Data Scientists เป็นสายที่ต้องการมากที่สุด จากผลการสำรวจของอเด็คโก้
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน และ นางสาวแซนดี้ วอลช์ ผู้อำนวยการด้านการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม , ซิสโก้ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ร่วมให้ข้อมูลตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ซิสโก้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ซิสโก้มีการทำงานและร่วมมือด้านเศรษฐกิจสังคมกับภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาอย่างไร และในอนาคตจะมีนโยบายหรือความร่วมมืออะไรบ้างในการนำประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 และ รองศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ร่วมแชร์ประสบการณ์ สิ่งที่ขาดหาย สิ่งที่ท้าทายในการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านไอทีเพื่อป้อนแรงงานคุณภาพกลับเข้าสู่เกือบทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ฯลฯ
- วิสัยทัศน์ บทบาท แนวทางของซิสโก้ในการพัฒนา ขับเคลื่อนและส่งเสริมบุคลากรด้านไอทีที่มีคุณภาพกลับเข้าสู่อุตสาหกรรมในประเทศ
- ความร่วมมือในอนาคตของซิสโก้กับภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และชุมชนต่างๆ เพื่อการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ
- ข้อเสนอแนะจากสถาบันการศึกษา (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีเข้าสู่อุตสาหกรรม และรองรับ Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ
- ความท้าทาย สิ่งที่ขาดหายไปในภาคการศึกษา และตลาดแรงงานในประเทศไทยวันนี้
โลกของเราต้องพึ่งพาอาศัยเครือข่ายดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรต่าง ๆ ในทุกภาคส่วนต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ด้านการออกแบบ สร้าง และควบคุมเครือข่ายเหล่านี้ กระแสการปฏิวัติทางด้านดิจิตอลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคาดว่าจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ กว่า 5 หมื่นล้านเครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตภายในปี 2563 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จะสร้างงานที่ต้องใช้ทักษะระดับสูงเป็นจำนวนมาก โดยครอบคลุมหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และภายในปี 2558 คาดว่า 90% ของตำแหน่งงานในสหรัฐฯ จะต้องการทักษะด้านเทคโนโลยี และตำแหน่งงานเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับไอที1
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเรายังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสำหรับตำแหน่งงานดังกล่าว นักเรียนนักศึกษาของท่านพร้อมแล้วที่จะรับมือกับความท้าทายนี้ โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือโอกาส และท่านสามารถมอบโอกาสให้แก่พวกเขาได้ด้วยการเพิ่มเติมหลักสูตร Cisco Networking Academy เข้าไว้ในหลักสูตรการศึกษาของท่าน
ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของซิสโก้เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน
ซิสโก้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะผู้นำระดับโลกทางด้านเทคโนโลยีเครือข่าย และโครงการด้านการศึกษา Networking Academy ของซิสโก้นำเสนอหลักสูตรที่อ้างอิงงานวิจัยและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมให้แก่โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
หลักสูตรครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่หลากหลาย ตั้งแต่ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ไปจนถึงระบบเครือข่ายขั้นสูง และผู้เรียนจะได้รับใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซิสโก้ทำหน้าที่พัฒนาเนื้อหาและนำเสนอทรัพยากรข้อมูลที่รองรับการเรียนการสอนตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่สถานศึกษาจัดเตรียมครูผู้สอน ห้องเรียน และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
Networking Academy เป็นโครงการช่วยเหลือสังคมทางด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของซิสโก้ โดยตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา มีผู้เรียนหลักสูตร Networking Academy ไปแล้วกว่า 6 ล้านคน ครอบคลุมกลุ่มอายุ และเป้าหมายทางอาชีพที่หลากหลาย
ปรับใช้เครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการเรียนการสอน
หลักสูตร Networking Academy ผสานรวมทฤษฎีทางการศึกษาและเครื่องมือชั้นนำเข้ากับเทคโนโลยีเครือข่ายระดับโลกที่ทันสมัย อีโคซิสเต็มส์ที่ยืดหยุ่นมอบการฝึกอบรมและการสนับสนุนแก่ครูผู้สอนในท้องถิ่น พร้อมตัวเลือกที่หลากหลาย ไร้ขีดจำกัด อีกทั้งการประเมินผลผู้เรียนแบบอินเทอร์แอคทีฟจะช่วยให้รับทราบผลการเรียนรู้ได้อย่างฉับไว การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มั่นใจว่าได้แนวทางการประเมินผลที่ทันสมัยและเปี่ยมประสิทธิภาพ
กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในเทคโนโลยีให้มากขึ้น
หลักสูตรต่างๆ รองรับเป้าหมายการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษา STEM และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ปรับปรุงความพร้อมในการประกอบอาชีพ และเพิ่มความเชี่ยวชาญให้แก่ผู้สอน โดยสอดคล้องกับโครงการการศึกษา STEM
สร้างบุคลากรสำหรับตลาดแรงงานที่กว้างขวางมากขึ้น
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี องค์กรต่างๆ จึงใช้งานและพึ่งพาระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับบุคลากรที่มีทักษะด้าน ICT และเทคโนโลยีเครือข่าย
เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นสำหรับผู้เรียนหลักสูตร Networking Academy ซิสโก้จึงได้สนับสนุนให้พันธมิตรและลูกค้าประสานงานร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ เพื่อเฟ้นหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบุคลากรในระดับภูมิภาค
เตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนเพื่ออนาคตที่ยืดหยุ่น
ทักษะด้าน ICT ช่วยปรับปรุงทุกหนทางสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าผู้เรียนจะต้องการประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยีหรือสาขาอื่นๆ หรือเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง หลักสูตร Networking Academy จะสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหลักสูตรเหล่านี้:
- มีความแปลกใหม่ : เนื้อหาการเรียนการสอนสอดรับกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ประกอบด้วยการบรรยาย การฝึกปฏิบัติในห้องแล็บ แบบจำลอง เกม และการประเมินผลทางออนไลน์
- มีความเกี่ยวข้องกับโลกความจริง : โครงงานต่างๆ สะท้อนสถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และการนำเสนอแนวคิดอย่างชัดเจน
- ทันสมัย : บทเรียนและการฝึกปฏิบัติในห้องแล็บได้รับการพัฒนาและปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาอุปกรณ์และแนวคิดต่างๆ โดยตรง
- มุ่งเน้นอาชีพ : กิจกรรมเสริมนอกหลักสูตรและชุมชนออนไลน์กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และรองรับการพัฒนาอาชีพ
- สอดคล้องกัน : ผู้สอนผ่านการฝึกอบรมและได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างดีเยี่ยมตามมาตรฐานที่กำหนด
- มีการรับรองวิทยฐานะภายใต้มาตรฐานเดียวกัน : หลักสูตรต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการสอบใบรับรองอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที โดยแทบไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพิ่มเติม หรืออาจใช้เพื่อเสริมหลักสูตรปริญญาบัตรด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม เทคโนโลยีเครือข่ายหรือ ICT นอกจากนี้ไม่มีการคิดค่าไลเซนส์สำหรับสถานศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร ทั้งยังมีการให้ส่วนลดพิเศษสำหรับอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาการเรียนการสอนเปิดให้ใช้งานทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง จึงไม่จำเป็นต้องซื้อตำราเรียน นอกจากนั้น เครื่องมือต่างๆ ยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรี เช่น การประเมินผลทางออนไลน์ คู่มือการสอนแบบอินเทอร์แอคทีฟ และสมุดคะแนน และมีเครื่องมือเสริมราคาประหยัดจาก Cisco Press เช่น คู่มือฉบับพกพา คู่มือสำหรับห้องปฏิบัติการ วิดีโอการสอน และหนังสือเตรียมสอบใบรับรอง
พัฒนาผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
ช่วยให้ผู้สอนทุ่มเทเวลาให้กับผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ :
- พอร์ทัลชุมชนผู้สอนนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการสอน และยกย่องผู้สอนที่ประสบความสำเร็จ การสัมมนาทางเว็บสำหรับการฝึกอบรมครูผู้สอนรองรับเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับการสอนและการอัพเดตหลักสูตร
- การประชุม Instructor Academy Conference ระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาชีพและการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สอน