พานาโซนิค โชว์ศักยภาพผู้นำตลาด เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ และดิสเพลย์ ในประเทศไทย ทุ่มงบประมาณกว่า 5 ล้านบาท จัดงาน “Panasonic Display Open House 2017” เปิดตัวสินค้าใหม่ล่าสุด ได้แก่ เลเซอร์โปรเจคเตอร์ PT-RZ31K โปรเจคเตอร์ที่มีความคมชัดสูงถึง 31,000 ลูเมนส์ โดยพานาโซนิคเป็นผู้นำเข้ามาทำตลาดเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย พร้อมทั้งสเปซ เพลเยอร์ อีกหนึ่งนวัตกรรมเครื่องฉายภาพ ที่รวมคุณสมบัติความสามารถระหว่าง สปอตไลท์ และโปรเจคเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน และอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่าง ลิงค์ เรย์ (ไลท์ ไอดี เทคโนโลยี) ที่ถือได้ว่าจะมาเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
นางสาวอนุรัตน์ จี้เพ็ชร ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ดิสเพลย์ โซลูชั่น บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า พัฒนาการของโปรเจคเตอร์เริ่มมาจากเทคโนโลยียุค LCD บวกหลอดภาพ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความคมชัดและความทนทาน อีกทั้งยังต้องคอยเปลี่ยนหลอดภาพตามอายุการใช้งาน ปัจจุบันทางพานาโซนิคได้เลือกใช้เทคโนโลยี DLP ซึ่งมีความคมชัดมากขึ้น สีสันสมจริงมากขึ้น แต่ก็ยังจำเป็นต้องเปลี่ยนหลอดภาพอยู่ เพราะฉะนั้น พานาโซนิคจึงพัฒนาเทคโนโลยี Laser ซึ่งนำมาใช้กับเทคโนโลยี DLP ถือเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของภาพและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหลอดภาพอีกต่อไป ทำให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานแบบมืออาชีพที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพของภาพที่สูงและ เสถียรภาพในการใช้งานได้ดียิ่งขึ้นโดยเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 ข้อคือ
- พยายามรักษาอันดับ 1 ของ Marketshare ของ Projector ระดับ Mid to High end
- เป็นผู้ที่ช่วยแก้ปัญหาในด้าน Display แบบ One Stop Visual Solution ในทุกุก ๆ ด้าน
- พยายามเป็นอันดับ 1 ของตลาด “Laser Projector” ในประเทศไทยให้ได้
หากพูดถึงภาพรวมของตลาดโปรเจคเตอร์ในประเทศไทยนั้น ช่วงระหว่างปี 2014 ถึง 2015 ตลาดมีมูลค่าลดลงในส่วนของจำนวนเครื่องที่ขาย แต่ในส่วนของตัวเลขยอดขายกลับเติบโตเพิ่มขึ้น 5% และในปี 2016 ต่อเนื่องถึง 2017 ตลาดมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอีกมาก คาดการณ์ว่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 10% โดยยังคงมีการแข่งขันด้านราคา และเทคโนโลยี ที่ดุเดือดอยู่
“สำหรับ พานาโซนิค ถือเป็นผู้นำตลาดโปรเจคเตอร์ในระดับกลางถึงบน มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งของโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างตั้งแต่ 5,000 ลูเมนส์ ขึ้นไป ซึ่งในปี 2015 พานาโซนิคส์มีสัดส่วนทางการตลาดถึง 58%* ด้านยอดขายและด้านจำนวนเครื่องถึง 37%* และในปี 2016 ครึ่งปีแรก พานาโซนิคก็ยังคงมีส่วนแบ่งในการตลาดเป็นอันดับหนึ่งในส่วนของความสว่าง 5,000 ลูเมนส์ขึ้นไป โดยในครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปีนี้ พานาโซนิค จะเน้นเรื่องความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก จึงได้เปิดตัว เลเซอร์โปรเจคเตอร์ในตระกูล PT-RZ ที่มีความสว่างตั้งแต่ 3,000 ลูเมนส์ จนถึง 31,000 ลูเมนส์ เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกใช้งาน โดยเฉพาะในรุ่น PT-RZ31K นั้นถือเป็นไฮไลท์สำคัญ เพราะเป็นการการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์เครื่องแรกที่ให้ความสว่าง และความคมชัดสูงสุดถึง 31,000 ลูเมนส์ ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเหมาะสำหรับกับการใช้งานขนาดใหญ่ระดับชาติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ องค์กรที่มีการจัดงานขนาดใหญ่ในประเทศ” ผู้บริหารกล่าว
นอกจากนี้ พานาโซนิค ยังได้นำเสนออีก 2 เทคโนโลยีใหม่ภายในงาน ประกอบด้วย สเปซ เพลเยอร์ ( Space Player) เครื่องฉายภาพเสมือนจริง ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่าง สปอตไลท์ และเลเซอร์ โปรเจคเตอร์ สำหรับสร้างสีสันด้วยการฉายแสงแบบ สปอตไลท์ หรือ การฉายภาพแบบโปรเจคเตอร์ เพื่อใช้ในการตกแต่งสถานที่ สร้างบรรยากาศเสมือนว่าลูกค้าได้ไปอยู่ในสถานที่นั้นๆ จริง เหมาะสำหรับ โรงแรม สถานบันเทิง พิพิธภัณฑ์ หรือคฤหาสน์ ที่ต้องการสร้างความประทับใจให้กับแขก รวมถึงการประยุกต์ใช้ในงานคอนเสิร์ตหรืองานเลี้ยงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้ง ลิงค์ เรย์ ( Light ID ) เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในการส่งข้อมูลผ่านจอ แอลอีดี เพื่อให้โทรศัพท์มือถือรับข้อมูลจากจอ แอลอีดี ได้อย่างรวดเร็วเทียบเท่าความเร็วแสง ซึ่งจะมาเปลี่ยนรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตามสถานที่ต่างๆ ในอนาคต
สำหรับงาน “Panasonic Display Open House 2017” พานาโซนิค ได้จำลองรูปแบบการใช้งานสินค้าใหม่ในแบบ Entertainment Space เพื่อสะท้อนถึงวิธีการใช้สินค้าต่างๆ เหล่านี้ในชีวิตจริงผ่านบูธต่างๆ อาทิ Panasonic Fun Park สวนสนุกรูปแบบใหม่ในห้างสรรพสินค้า ที่ใช้สเปซ เพลเยอร์ ฉายภาพบนพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อสร้างลวดลาย และใช้ เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ ฉายภาพของรถไฟเหาะในฉากหลัง เมื่อลูกค้าเดินเข้ามาจะเกิดความรู้สึกเหมือนได้ไปเที่ยวสวนสนุก เห็นรถไฟเหาะจริงๆ Smart Bus Terminal เป็นการจำลองตัวอย่างการใช้งาน ลิงค์ เรย์ (Light ID) ที่ป้ายรถเมล์ซึ่งทำจากจอแอลอีดี จะสามารถให้ข้อมูลตารางการมาถึงของรถ และเส้นทางที่รถจะวิ่งเพื่อวางแผนการเดินทางได้สะดวกมากขึ้น Lumix Concept Store ที่ใช้สเปซ เพลเยอร์ สร้างสีสันและลูกเล่นบนโมเดลจำลองกล้อง Lumix เพื่อทำให้สินค้าในร้านมีความโดดเด่น ดึงดูดความสนใจลูกค้าได้มากขึ้น และยังมีการใช้ ลิงค์ (Light ID) ที่ตัวจอแอลอีดี ในการให้ข้อมูลของสินค้าที่กำลังฉายอยู่บนจอเข้าสู่โทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ได้ทันที 180O PANA Rooftop Bar การจำลองภาพบรรยากาศตามความต้องการของลูกค้า ลงบนโต๊ะอาหาร ด้วย เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ และสเปซ เพลเยอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ พานาโซนิค ต้องการให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานสินค้าต่างๆ เหล่านี้ ที่สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย โดดเด่น และมีเทคโนโลยีที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดอย่างแท้จริง