ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล (DOGE) ของอีลอน มัสก์ได้บังคับให้พนักงานของรัฐบาลกลางหลายหมื่นคนกลับเข้าทำงานที่สำนักงาน โดยอ้างว่าการย้ายครั้งนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการอวสาน WFH และให้ทุกคนกลับมาทำงานที่หน่วยงานนั่นเอง

แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่สวยเท่าไหร่ กลับกลายเป็นว่าพนักงานจากหน่วยงานของรัฐบาลกลาง 17 แห่ง เต็มไปด้วยความวุ่นวาย โครงสร้างพื้นฐานพังทลาย และขวัญกำลังใจที่ลดลง

พนักงานบอกว่าพวกเขาเดินทางไปทำงานเพียงเพื่อเข้าร่วมประชุมเสมือนจริงกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่ที่อื่น แต่ตอนนี้พวกเขาไม่มีพื้นที่ส่วนตัวหรืออินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้จริง อย่างที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ พนักงานบ่นเรื่องการเดินทางที่ใช้เวลานาน และเสียเวลาตรงนี้ไป 2-3 ชั่วโมงต่อวัน

ปัญหาทางเทคโนโลยีคือเรื่องที่ถูกตำหนิมากที่สุด สำนักงานไม่มี Wi-Fi ที่ใช้งานได้ และอุปกรณ์พื้นฐาน ในอาคารของกรมสรรพากร สบู่และกระดาษชำระหายไป Wi-Fi ก็ไม่ค่อยเสถียร วงเงินการใช้จ่ายบัตรเครดิตของรัฐบาลที่ DOGE กำหนดไว้ที่ 1 ดอลลาร์ทำให้การซื้อปากกาและกระดาษถูกบล็อก

อย่างเจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวพอต้องเดินบนพื้นคอนกรีตทุกวันเป็นไมล์ ทำให้ปวดเรื้อรังมากขึ้น ส่วนพนักงานอีกคนหนึ่งที่มีก็กลับมามีปัญหาปวดข้อมือหลังจากที่ได้รับเก้าอี้ทำงานที่ไม่มีคุณภาพและมีขนาดไม่พอดีตัว

ในด้านจิตใจ ผลกระทบก็รุนแรงไม่แพ้กัน “ฉันร้องไห้เกือบทุกวัน” พนักงานกระทรวงการคลังคนหนึ่งกล่าว คนอื่นๆ รายงานว่ารู้สึกซึมเศร้า หมดไฟ และกลัวการเลิกจ้าง

“เรารอที่จะถูกไล่ออกในขณะที่ทุกอย่างยังยุ่งเหยิง”

แทนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ คำสั่งดังกล่าวกลับทำให้การทำงานหนักขึ้น ช้าลง และเจ็บปวดมากขึ้น “เรารักงานของเรา” อีกคนหนึ่งกล่าว “แต่สิ่งนี้ทำให้ไม่สามารถทำงานนี้ได้”

เรียกได้ว่า เป็นการอวสาน WFH ที่ทำให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการเรียกคนกลับเข้าหน่วยงานเลยครับ