เมื่อวานนี้ (4 เมษายน 2560 ) ได้มีประกาศคำสั่งจาก คสช. ที่ทำให้ได้เฮกันยกใหญ่ หลังจากรายงานผลการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกซึ่งปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 46 จาก 190 ประเทศ โดยที่ผ่านมาหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในไทยยังคงมีกฎระเบียบอยู่มาก และทำให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยาก
ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาล คสช.เล็งเห็นการอุปสรรคในการบริการ และการปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานของธนาคารโลก เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนของระบบ-กระบวนการในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น โดยมุ่งหวังเรื่องอันดับที่ดีขึ้นในการประเมินรายงานผลการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจครั้งต่อไป รวมถึงเพิ่มความสามารถการแข่งขัน เพิ่มโอกาสเป็นแหล่งเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจไทย
ติดต่อราชการ ไม่ต้องเตรียมเอกสารที่ออกโดยราชการไป
ประกาศฉบับนี้มีคำสั่งที่น่าสนใจในข้อ 17 คือระบุให้เจ้าหน้าที่ต้องหาข้อมูลหรือสำเนาเอกสารจากหน่วยงานที่ออกเอกสารนั้นมาเพื่อดำเนินการ แทนที่จะเป็นหน้าที่ของผู้ติดต่อต้องเตรียมเอกสารไปเอง และห้ามไม่ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากการทำสำเนาด้วย ซึ่งก็น่าจะทำให้การติดต่อรัฐง่ายขึ้น
และคำสั่งที่น่าจับตามอง
ข้อ 9. ระบุว่าใน ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ จดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ยกเลิกความในมาตรา 100 แห่งพ.ร.บ. บริษัทมหาชน เเละใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 100 ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จะเข้าชื่อทําหนังสือขอให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ … เเละต้องจัดให้มีการประชุมภายใน 45 วัน… ซึ่งผู้ถือหุ้นเข้าชื่อกันได้จํานวนหุ้นตามที่บังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ ภายใน 45 วัน ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการประชุม”
ข้อ 7. พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ใจความหลักคือ “แก้ไข มาตรา 108 ให้นายจ้าง เผยแพร่ หรือปิดประกาศข้อบังคับการทำงาน อย่างเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง มาตรา 110 หากนายจ้างมีแก้ไขข้อบังคับการทำงาน ให้ประกาศภายใน 7 วัน และให้นำมาตรา 108 วรรค 2 วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด และ วรรค 3 หลักเกณฑ์การทํางานล่วงเวลาและการทํางานในวันหยุด มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 10 .พ.ร.บ. บริษัทมหาชนฯ ใจความหลักคือ “ยกเลิกความในมาตรา 128 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 128 ผู้ถือหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จะเข้าชื่อให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบเพื่อดําเนินการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของบริษัท ตลอดจนตรวจสอบการดําเนินงาน …” ข้อ 13. พ.ร.บ. ล้มละลาย ใจความหลักคือ “มาตรา 90/46 มติยอมรับแผนต้องเป็นไปดังนี้ (1) มีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น หรือ (2) ที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อย1กลุ่ม มีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก และเมื่อนับรวมจํานวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมแล้วมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ50…”
ข้อ 15 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 148/1ของส่วนที่ 2 อํานาจหน้าที่ ในหมวด 5 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483“มาตรา 158/1 ในกรณีที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาล หรือประกาศหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์รายวัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใดแทนตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนดก็ได้”
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. มีสัญญาณว่าจะใช้มาตรา 44 เพื่อผ่านร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้ทันในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการพิจารณาโดยกฤษฎีกาแล้ว หากแก้ไขได้ในหัวข้อนี้ไทยจะถูกจัดลำดับติดอันดับ TOP 20 เลยทีเดียว !!