ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ฉลองครบรอบ 40 ปีในประเทศไทย แถลงวิสัยทัศน์ตอกย้ำจุดยืนสนับสนุนการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มสปีด โดยเปิดตัวแคมเปญ “Bold Idea” โครงการดี ๆ ที่คุณคิดขึ้นมาเพื่อช่วยจัดการด้านพลังงานภายใต้หัวข้อ “40 Years for 4.0 Life” เจาะ 4 หัวข้อ เพื่อตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยี
4 หัวข้อหลักมีดังนี้
- สถานที่พักอาศัย
- อาคารและเมือง
- อุตสาหกรรม
- ด้านไอทีและเทคโนโลยี
และทุก 1 โครงงานที่ส่งเข้ามามีส่วนช่วยบริจาคโคมไฟโมบิยา พลังงานแสงอาทิตย์ 10 ดวงต่อ 1 โปรเจ็ค เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ที่ไร้พลังงานตามชนบทในประเทศไทยให้มีพลังงานใช้ และสำหรับผู้ที่ชนะเลิศในแต่ละหัวข้อ จะได้รับ Package ทัวร์ประเทศฝรั่งเศษ เยี่ยมชมต้นแบบอาคารประหยัดพลังงานระดับโลกของชไนเดอร์ ณ ประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่ง proposal โปรเจ็คเข้ามาได้ที่นี่
คุณมาร์ค เพลิทิเยร์ ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมาได้มีการตื่นตัวด้านพลังงานนั้นเกิดขึ้นไปทั่วโลก ทางชไนเดอร์ได้คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกพลังงานที่กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยสมการ 3DS คือ
- แนวโน้มการลดลงของปริมาณก๊
าซคาร์บอน (Decarbonization) ผ่านการนำพลังงานทดแทนทั้งในส่ว นของพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ตลอดจนพลังงานจากไบโอแมสที่จะมี การนำเข้ามาใช้งานเพิ่มมากยิ่ งขึ้น - แนวโน้มการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล (Digitization) จากการเกิดขึ้นของ Internet of Things หรือ IoT จะเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ มากถึงกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นเข้าหากัน ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายในปี 2020 นี้ จะก่อให้เกิด Big Data จำนวนมหาศาล โดยเฉพาะ
ในส่วนของระบบสาธารณูปโภคที่จะเ ชื่อมเข้าหากันในลักษณะของ “grid-of-things” ทำให้การควบคุมดูแลทำได้ทันที ลดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ - แนวโน้มด้านการกระจายศูนย์พลังง
าน(Decentralization) ที่จะรองรับการขยายตัวด้ านการบริโภคพลังงาน และตอบโจทย์ท้าทายเรื่องกระแสขอ งผู้บริโภคยุคใหม่ ทั้งในเรื่อง Smart Home ที่ช่วยจั ดการพลังงาน โดย 57 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคจะสามาร ถผลิตพลังงานได้ด้วยตัวเองในอนาคต และสามารถส่งออกไฟฟ้าขายได้ผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดอยู่บนหลังคา
ซึ่งทางชไนเดอร์ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อรองรับการใช้งานด้าน IoT โดยนำเงินลงทุน 5% ของยอดรายได้รวมมาเพื่อใช้ในการค้นคว้า พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมได้อย่างสมบูรณ์
อีก 1 Platform ที่ Schneider ได้สร้างขึ้นมาคือ EcoStruxure เป็นแพล็ตฟอร์มแบบเปิดที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบอะไรก็ได้ มี 3 Layer หลัก ๆ คือ
- การเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์หรือเครื่องจักรโดยตรง โดยไม่ต้องมีคนคอยควบคุมดูแล
- สามารถเข้ามาควบคุมจัดการอุปกรณ์หรือเครื่องจักรได้ผ่านระบบ Online
- สามารถที่จะรู้ว่าอุปกรณ์ตัวไหนกำลังจะชำรุด เพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขได้ทันทีก่อนจะส่งผลกระทบโดยรวม
ปัจจุบันมีโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบน EcoStruxure Grid แล้ว ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้ระบบ AI ควบคุมการใช้งานไฟฟ้า ทำให้เมืองสามารถจัดการพลังงานได้ดียิ่งขึ้น ลดการใช้พลังงาน ประเทศอิตาลีมีจำนวนประชากรพอ ๆ กับประเทศไทย ซึ่งทำให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประเทศไทยได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยให้การไฟฟ้าสามารถจัดการโครงข่ายไฟฟ้าได้ในระยะไกล ซึ่งปัจจุบันได้เริ่ม Apply โครงการนี้กับการไฟฟ้านครหลวงแล้วในชื่อ Smart Metro
โดยชไนเดอร์ จับมือกับการไฟฟ้านครหลวง โดยจัดการทำ Smart Metro นำสายไฟลงใต้ดิน ซึ่งเป็นระบบ EcoStruxure สามารถควบคุมไฟฟ้า ถ้าเกิดไฟดับตรงไหน ก็สามารถจัดการปรับเปลี่ยนกระแสไฟเพื่อให้ใช้งานต่อได้แทบจะทันที และทราบจุดที่เกิดปัญหาพร้อมเดินทางไปแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
อีก 1 โครงการผลิตพลาสติกใหญ่ของ SCG ซึ่งโครงการนี้ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ สามารถ Optimize เข้าไปได้ทันทีและสร้างมูลค่าเพิ่มได้กว่า 30% โดยที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อเครื่องจักรใหม่เลยlution นี้ ซึ่งสามารถการันตีได้ว่า 100% uptime เมื่อผ่านโซลูชันนี้
ชไนเดอร์ตั้งใจเป็นอีก 1 จิ๊กซอว์ที่ช่วยผลักดันประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน