กรมสรรพากร เปิดแสดงความคิดเห็น “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร” ที่ให้ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีเพื่อตรวจสอบภาษี เนื่องจากว่าจะมีกฎหมายใหม่ “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” ซึ่งระบุไว้ว่า

สรุปคือผู้ให้บริการทางการเงิน สถาบันการเงิน จะต้องส่งข้อมูลธุรกรรมเหล่านี้ให้กรมสรรพากร

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3000 ครั้งต่อปี (คือถ้ามีเงินโอนเข้าเกิน 8 ครั้งต่อวันก็เข้าข่ายแล้ว
  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 200 ครั้งต่อปี แต่มียอดรวมธุรกรรมที่โอนเข้ามาเกิน 2 ล้านบาท

“ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 3,000 ครั้ง ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 200 ครั้ง และยอดรวม 2,000,000 บาทขึ้นไป!”

อัพเดตเพิ่มเติม 5 เมษายน 2560 กรรมสรรพากรแจ้งเพิ่มว่า “แต่มีมูลค่าเงินรวมกัน 2 ล้านบาทต่อปี” และหากผู้ค้าออนไลน์เห็นว่า ตนไม่ควรเสียภาษี ก็สามารถแสดงหลักฐานการลดหย่อนรายจ่ายต่างๆได้ ยกตัวอย่าง มีรายได้ 2 ล้านบาทต่อปี แต่มีรายจ่ายกว่า 1.9 ล้านบาท เหลือกำไรไม่มากนัก เมื่อหักลดหย่อนต่างๆ เขาก็จะถือว่า ไม่มีภาระภาษี (อ้างอิงจาก NationTV)”

ซึ่งนับจากทุกบัญชีที่คุณถือรวมกัน จุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่ามีการหนีภาษีหรือไม่ เงินที่ได้รับ-โอน มีที่มาอย่างไร ซึ่งคุณอาจถูกตรวจสอบได้ และเมื่อถูกตรวจสอบคุณต้องมีหลักฐานที่ให้การได้ (ไม่ได้มีการเก็บภาษีเพิ่มแต่อย่างไร หากการทำธุรกรรมของท่านมีการหักภาษีอย่างถูกต้อง หรือมีการยืนภาษีรายได้ของท่านอย่างถูกต้องอยู่แล้ว จุดประสงค์คือเพื่อตรวจสอบการหลีหนีภาษี)

ซึ่งหากมีการประกาศใช้จริง จะกระทบทุกคน แต่ว่าที่เห็นภาพได้ชัดคือ “การขายของออนไลน์” ที่มีเงินโอนเข้ามามากๆ นั่นเอง

ตอนนี้ยังเป็นแค่ร่างกฎหมายที่กรมสรรพากรเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้

โดยเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2561 ที่เว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/27837.0.html

นอกจากนี้ทางเว็บไซต์ “tax.bugnoms” ก็ได้นำเสนอแนวทางการปรับตัวหากร่างกฎหมายนี้มีการประกาศบังคับใช้จริงๆ ซึ่งทำให้สามารถมีหลักฐานและข้อมูลไว้อ้างอิงได้ เมื่อถูกตรวจสอบจริงๆ หากสนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ที่

จุดจบของคนหลบภาษี? เมื่อธนาคารถูกสั่งให้ส่งข้อมูลบัญชีกับสรรพากร – tax.bugnoms.com

ภาพประกอบหัวข่าว: Pixabay

อ้างอิงเพิ่มเติม: NationTV (อัพเดตเมื่อ 5 เมษายน 2561)