หลังจากที่เว็บแบไต๋เคยนำเสนอข่าว ม.เกษตร คว้าอันดับ 2 ของโลกจากการประกวดหุ่นยนต์ศิลปะเมื่อปีที่แล้ว
วันนี้เว็บแบไต๋ขอนำเสนอเจาะลึกว่า ม.เกษตร ไม่ได้หยุดแค่นี้ เพราะปีนี้ RobotArt 2018 ก็จัดเต็มของเด็ดๆ ส่งประกวดเช่นกัน โดยจะเป็นหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ทำงานร่วมกับมนุษย์
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ถูกนำมาใช้ในโรงงานเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตของสินค้า รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ที่มีความถูกต้องแม่นยำ มีความรวดเร็วสูง และทดแทนค่าจ้างแรงงานคน คืนทุนได้เร็ว
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการสร้างระบบหุ่นยนต์ Co-bots เพื่อใช้ทำงานร่วมกับมนุษย์เป็นงานวิจัยหลักอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติติการวิจัย CMIT Robotics ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ. ดร. เชาวลิต มิตรสันติสุข และนิสิต ได้ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์แบบ Delta Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเรียนรู้ทักษะการทำงานมนุษย์ และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้
ซึ่งเริ่มจากนำมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ด้วยเทคโนโลยีรับรู้แรงสัมผัสที่สามารถจัดเก็บทักษะการวาดภาพของศิลปินเป็นไฟล์ดิจิตอลที่ชื่อว่า Haptic file และนำมาประมวลผลทักษะการทำงานเพื่อเป็นคำสั่งในการเล่นซ้ำที่ปรับปรุงคุณภาพการทำงานของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ สามารถส่งผ่านทักษะการทำงานดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้ทำงานอีกซีกโลกหนึ่งได้
จะเห็นได้ว่าช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานข้ามประเทศเลย โดยผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะระดับนานาชาติหรือ Robot Art 2017 ที่สหรัฐอเมริกามาได้ตามข่าวที่เราเคยนำเสนอไว้
ในปีนี้ทางทีมวิจัยได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในนามทีม CMIT ReART เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Robot Art 2018 ได้มีการปรับปรุงการบันทึกทักษะการทำงานและ เทคนิคการตวัดพู่กันของศิลปินในแบบต่าง ๆ และการผสมสี ดังที่ได้แสดงใน Clip video ดังต่อไปนี้
สามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันบนผืนผ้าใบที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเดิมถึง 4 เท่า ขนาด 45 x60 cm โดยมีผลงานทั้งหมด 5 ภาพด้วยกันได้แก่
1) Wheat field with cypresses
2) Full Bloom of Sakura
3) Beautiful beach in Thailand
4) Paradise on Earth
5) ILLUSION OF RGB
ในปีนี้ผลงานทั้งหมดจำนวน 20 ภาพจะได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมจัดแสดงในงาน Seattle Art Fair http://seattleartfair.com/ ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2018 ที่ CenturyLink Field Event Center เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทีมงานแบไต๋ ขอเชิญร่วมโหวตผลงานฝีมือคนไทย
ร่วมโหวตและแชร์ผลงานของ CMIT ReArt จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการแข่งขัน RobotArt 2018
วิธีการเข้าร่วม Vote
- เข้าไปที่ https://robotart.org/facebook-login/กดปุ่ม Sign in with Facebook จะได้รับ 20 Votes
2.เข้าไปที่ผลงานศิลปะซึ่งมี 5 ภาพได้แก่
2.1) https://robotart.org/projects/paradise-on-earth/
2.2) https://robotart.org/projects/beautiful-beache-in-thailand/
2.3) https://robotart.org/projects/illusion-of-rgb/
2.4) https://robotart.org/projects/full-bloom-of-sakura/
2.5) https://robotart.org/projects/wheat-field-with-cypresses/
- กดเลือกที่ผลงานศิลปะตาม Link ในข้อที่2 และกดปุ่มVote up สีส้มด้านบน ผลงานศิลปะ 1 ชิ้นกด โหวตได้ 3 ครั้ง
- โหวตได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2018
ห้องปฏิบัติการวิจัย CMIT Robotics ได้รับรางวัลชนะเลิศ และ รางวัล Best Development Award จากการประกวดแผนธุรกิจการสร้างนวัตกรรมเพื่อผลกระทบที่ดี MIT Enterprise Forum Thailand 2018 ซึ่งจัดโดย สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ Massachusetts Institute of Technology, MIT และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และได้รับโอกาสเข้าไป Boot camp และ นำผลงานนวัตกรรมไปแสดงต่อนักลงทุนที่สนใจระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2018 นี้ที่ MIT, Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นตัวแทนประเทศไทยที่จะไปเข้าร่วมแข่งขันการแข่งขันการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อประกอบชิ้นส่วน Industrial Robotics Category ในรายการ World Robot Summit 2018 http://worldrobotsummit.org/en/ ที่เมือง Tokyo ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม 2018 งานแข่งขันหุ่นยนต์ดังกล่าวถือว่ามีความล้ำสมัยด้านวิทยาการหุ่นยนต์สูงสุดระดับโลก และจัดพร้อมกับงานแสดงนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ World Robot Expo แบ่งออกเป็น 4 รายการด้วยกันได้แก่ Industrial Robotics Category, Service Robotics Category, Disaster Robotics Category และ Junior Category ถูกจัดโดย Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) และNew Energy Industrial Technology Development Organization (NEDO) มี โดราเอมอนเป็น Support Character และ มีผู้ส่งใบสมัครเข้าร่วม 250 ทีม และมีเงินรางวัลสูงสุดถึง 104.9 ล้านเยน (ประมาณ 30.5 ล้านบาท) คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม