ใครๆ ก็รู้ว่าตอนนี้เราเข้าสู่ยุค IoT หรือ Internet of Things เรียบร้อยแล้ว มองในมุมของผู้บริโภค เราหาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลามาใช้ได้ง่ายขึ้นนะครับ จะเครื่องซักผ้า หลอดไฟ หรือตัวปลั้กไฟที่ปิด-เปิดได้จากสมาร์ทโฟน ก็หาได้ทั่วไปในท้องตลาด
ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง หากผู้ประกอบธุรกิจนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ การมีข้อมุล จากโลกจริงแบบ Real-time ก็ทำให้เป็นต่อทางธุรกิจเยอะมาก หรือสามารถควบคุมหลายๆ อย่างได้จากระยะไกลก็ประหยัดเวลาทำงานไปเยอะ แต่เมื่อก่อนมีข้อจำกัดเรื่องการเชื่อมต่อที่เครือข่าย LAN หรือ Wifi แบบเดิมไม่ครอบคลุม จะใช้เป็นเน็ตมือถือก็ไม่เหมาะเพราะกินไฟสูง
AIS จึงพัฒนาเครือข่าย NB-IoT และ eMTC ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อรองรับ Internet of Things โดยเฉพาะ พร้อมพัฒนาโซลูชั่นเพื่อให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐานในระบบ Cloud พร้อมให้คำแนะนำด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งทั้งหมดนี้คือ Digital Platform ที่ AIS จะให้บริการเพื่อให้ภาคธุรกิจนำ IoT ไปใช้ได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างการใช้งานจริงของเครือข่าย NB- IoT ที่น่าสนใจคือ ปตท. ที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีกับ AIS เพื่อช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบ-บำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซ แล้วส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย AIS NB-IoT เข้าไปใน Application ในมือถือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที
และตัวอย่างที่ใกล้ตัวเข้ามาหน่อย คือการใช้ IoT มาพัฒนาโครงการ ‘Perfect Smart City’ ของ Property Perfect บนเครือข่าย NB-IoT จาก AIS ทำให้เกิด IoT Solutions สำหรับการบริหารจัดการเมืองที่อยู่อาศัยให้ความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น Mobike จักรยานเชื่อมระบบ IoT, Smart Lighting ระบบจัดการแสงสว่างภายในโครงการ, Smart Tracking ระบบติดตามตัวบุคคลภายในโครงการเพื่อการดูแลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application อีกด้วย โดยเริ่มให้บริการแล้วใน 15 โครงการที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
และตัวอย่างที่น่าชื่นใจ เพราะอยู่ใกล้ชิดวงการการศึกษาคือการนำ IoT ไปใช้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อสร้าง Smart City ให้เกิดขึ้นจริง เครือข่าย NB-IoT ของ AIS ถูกใช้เป็นรากฐานของระบบล้ำยุคหลายอย่าง เช่นระบบอ่านป้ายทะเบียน ควบคุมรถยนต์เข้าออกสถานที่ ระบบควบคุมแสงสว่าง ที่ควบคุมการปิดเปิดไฟภายในพื้นที่เกือบ 1,800 ไร่ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้อย่างละเอียด พร้อมรายงานปัญหากับระบบแสงสว่างที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที หรือระบบ Smart Locker ที่ใช้ IoT ควบคุมการล็อก สามารถปลดล็อกโดยอาศัยสมาร์ทโฟน หรือจะส่งรหัสให้เพื่อนมาปลดล็อกเอาของก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย