ด้วยประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ดำเนินงานสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ และสร้างสรรค์งานบริการภาครัฐสำหรับประชาชนมากกว่า 7 ปี การเติบโตสู่ภารกิจที่สำคัญของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ “DGA” ตามที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 61 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ทำหน้าที่ให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พร้อมเร่งเดินหน้าประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติเข้าสู่ Road Map รัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เผยว่า “DGA เตรียมผุดไอเดีย พร้อมเปิดแผน Digital Transformation ทั้งด้านคน (Digital Literacy) และ Mindset กระบวนการ (Digital Transformation Program) และ กฏหมาย เช่น พ.ร.บ. รัฐบาลดิจิทัล ภายใต้บทบาทใหม่ของ DGA ที่มุ่งตอบโจทย์ให้คนไทยทราบว่า ประชาชนจะได้อะไรจากรัฐบาลดิจิทัล ที่กำลังจะก้าวสู่ระบบราชการใหม่ 4.0 ด้วย DGA Milestone ใน 1-2 ปีข้างหน้า” ดังนี้
- ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทะเบียนข้อมูลดิจิทัลภาครัฐ (Government Data Exchange) (โครงการลดการขอสำเนาเอกสารราชการ)
- ระบบบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
- ศูนย์ข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Center)
- ศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) และ กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Government framework)
- ระบบติดต่อสื่อสารภาครัฐ (Unified Government Communication)
- Government Secure Intranet (IT AS A UTILITY)
- โปรแกรมการเปลี่ยนผ่านบริการภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation Program)
ปัจจุบันรัฐบาลมุ่งหน้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐเพิ่มขึ้นในทุกมิติ ทำให้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวสู่ Cashless Society ผ่านโครงการสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย เช่น พร้อมเพย์ บัตรแมงมุม และ e-Ticket เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้ก็ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลประกาศให้ทุกหน่วยงานของภาครัฐลดการขอ สำเนาเอกสารราชการ (Less paper) โดยเฉพาะให้ยกเลิกการขอ สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาบัตรประชาชน ในทุกบริการของภาครัฐภายในปีนี้
สำหรับภาคธุรกิจ ทางด้าน Doing Business จะเป็นบริการแบบ One stop service อย่างแท้จริง นอกจากนี้ต่อไปทุกคนจะสามารถนำข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ให้ทุกคนสามารถเข้ามาอ่านข้อมูลผ่าน โปรแกรม Visualization ได้ง่ายๆ ซึ่งข่าวดีก็คือ ภายในปีหน้าเราจะประกาศ ชุดข้อมูลเปิดแห่งชาติ หรือ National Open Data set เวอร์ชั่น 1 ประมาณ 300-500 data set ให้ประชาชนและภาคธุรกิจนำไปต่อยอดทั้งในด้านความรู้และสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ได้ โดยใช้นวัตกรรมจากข้อมูลเตรียมพร้อมไปสู่การใช้ AI (Artificial intelligence) ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
สำหรับโครงการที่ต้องเร่งทำในปีนี้ คือ ทางสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ หรือ TDGA จะดำเนินการอบรม Data Scientist เพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้บุคลากรภาครัฐ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ที่สำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการทำงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น เช่น ผู้ที่มีรายได้น้อย , ภัยพิบัติ , ท่องเที่ยว เป็นต้น
ภารกิจสำคัญเหล่านี้ นับเป็นการเติบโตที่สำคัญของ DGA ที่เปลี่ยนผ่านจาก Out-Sourcing หรือ การรับงานดิจิทัลภาครัฐบางส่วนมาจัดการเอง เป็นระบบ Co-Souring ที่กลายเป็นเข้าไปรวมอยู่ในโครงการของภาครัฐนั้นๆ การเปลี่ยนจาก Agency-Centric หรือ ดูแลหน่วยงานรัฐเป็นหลัก มาเป็น Citizen-centric หรือ การดูแลประชาชน เป็นหลัก
การเปลี่ยนจากการสร้าง Infrastructure หรือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับภาครัฐ มาเป็น Platforms ซึ่งมุ่งเน้นมาตรฐานการใช้งานเป็นหลัก และเปลี่ยนจากการเป็น Agency Vendor ที่ทำงานรองรับหน่วยงานรัฐ มาเป็น Agency Partner คือการเป็นคู่คิดไปพร้อมกับหน่วยงานรัฐ เพื่อเปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง