งาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ครั้งที่ 24 จะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ งานนี้จะจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และจะเน้นในหัวข้อกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานในประเทศไทย
งานนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งร่วมเป็นเจ้าภาพโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และได้รับการสนับสนุนจาก ไมโครซอฟท์ประเทศไทย โดยจะเน้นไปที่นโยบบายประเทศไทย 4.0 และเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของอุปสรรคและความท้าทายที่บริษัทรวมถึงหน่วยงานภาครัฐต้องเผชิญในการนำโครงการ IoT มาปรับใช้และใช้งานรวมถึงการพัฒนาล่าสุดในอุตสาหกรรม IoT และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย งานนี้ยังเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่าง DEPA กับ Asia IoT Business platform เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ผลักดันให้เกิดการลงทุงทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา (Soft and hard infrastructure) เพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศกำลังเตรียมพร้อมสำหรับยุคดิจิทัล ดัชนีพัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ในด้านพัฒนาการทางโครงสร้างพื้นฐานและเนื้อหาดิจิทัล
ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ผลักดันให้เกิดการลงทุงทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา (Soft and hard infrastructure) เพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศกำลังเตรียมพร้อมสำหรับยุคดิจิทัล ดัชนีพัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ในด้านพัฒนาการทางโครงสร้างพื้นฐานและเนื้อหาดิจิทัล
- และอันดับที่ 3 ในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล ทำให้เป็นสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพดิจิทัล
ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ประธาน/ซีอีโอของ DEPA กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจขององค์กรเราคือการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศในอุตสาหกรรมของตน และการช่วยพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการเหล่านั้น การทำงานร่วมกับ Asia IoT Business Platform จะช่วยให้ผู้ประกอบการภายในประเทศเหล่านี้มีโอกาสมากขึ้นในการเปิดตลาดใหม่ในระดับภูมิภาค การทำงานร่วมกันจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาภารกิจหลักของเรา ปัจจุบันเรามีโครงการที่มุ่งช่วยเหลือกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ SME ในการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะใช้ช่องทางนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมทั้งพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วย”
ในการสำรวจ Asia IoT Business Platform ครั้งที่สามในกลุ่มผู้ประกอบการในอาเซียน ข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า 26% ของผู้ประกอบการในประเทศไทยได้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิรูประบบดิจิตอล โดยที่อีก 32% ระบุว่าได้ดำเนินการปฏิรูประบบดิจิทัลไปแล้วอย่างน้อยในหนึ่งส่วนงานภายในธุรกิจของตนเอง ผู้ประกอบการในประเทศไทยยังมีความพึงพอใจกับทางเลือกในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในประเทศมากที่สุด โดยมีเพียง 26% ที่แสดงออกว่าต้องการทางเลือกในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ดีกว่าเดิม เทียบกับ 51% ในฟิลิปปินส์และ 33% ในมาเลเซีย
ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจในปี 2560 ซึ่งได้ทำการสำรวจลักษณะเดียวกันใน ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิ ลิปปินส์ และ เวียดนาม ผลการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า 89% ของผู้ประกอบการไทยกำลังหาข้อมูลหรือทดลองใช้งานเทคโนโลยี Internetof-Things สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้ทาำการสำรวจ
นี่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเพิ่มขึ้นของโครงการ “อุตสาหกรรม 4.0” ที่ทั่วโลกกำลังดำเนินการ และนับเป็นผลดีสำหรับประเทศไทย ซึ่งการผลิตยังคงเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ สามารถดูผลการสำรวจผู้ประกอบการฉบับสมบูรณ์ได้ที่งาน Asia IoT Business Platform
นายเออร์ซ่า สุปรับโต ซีอีโอของ Asia IoT Business Platform กล่าวว่า “มีความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการภายในประเทศไทยที่จะดำเนินโครงการกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ IoT ไปปรับใช้ในองค์กร ความต้องการนี้สร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและผู้ให้บริการด้านการปรับใช้เทคโนโลยีในประเทศ และทวีความเข้มข้นขึ้นเมื่อ DEPA จะจัดตั้งสถาบัน IoT ขึ้นตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)”
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและพันธมิตรของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “IoT เป็น เทคโนโลยี ที่รวบรวมหลากหลายนวัตกรรมมาผสานกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับระบบคลาวด์ , การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) , ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมไปถึง ระบบที่รองรับด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การรวมกันของเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการเสริมศักยภาพขององค์กรและลูกค้าให้สูงขึ้นอย่างควบคู่กันไป
ทั้งนี้รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซีเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า กระบวนการปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัลจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้
เติบโตขึ้นได้เป็นมูลค่าถึง 3.87 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2564 และผู้นำในภาคธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคดังกล่าว รวมถึงในประเทศไทยด้วย ต่างมองว่า IoT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการนำพาองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จบนเส้นทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน“