สวัสดีครับ ช่วงนี้มีอีกประเด็นที่กำลังพูดถึงเป็นอย่างมากในโลกออนไลน์ นั่นก็คือ “พรบ. ไซเบอร์” ซึ่งแต่เดิมนั้นจะนำเข้า สนช. ไปพิจารณาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ล่าสุดมีการเลื่อนเป็นนำเข้าในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยวันที่ 27 จะมีการพิจารณา พรบ. ดังกล่าวนี้ แต่ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 27 ก็มีการแจ้งเลื่อนการพิจารณาเป็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เนื่องจาก สนช. ทำการพิจารณา “พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลไม่เสร็จ” และยังมีเวลาพิจารณาในวันพฤหัสและศุกร์
สรุปสาระสำคัญของ พรบ. ไซเบอร์
- มีการจัดตั้ง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ขึ้นมาดูแล
- งบประมาณและทรัพย์สินจัดตั้งมาจากการโอนจาก กระทรวงดีอี และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA
- เงินงบประมาณแผ่นดินรายปีตามที่รัฐบาลจัดสรร
ระดับของการกำกับ
- ระดับไม่ร้ายแรง ภัยที่ส่งผลต่อระบบของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลทำงานช้าลง เข้าถึงยากขึ้น
- ระดับร้ายแรง ภัยที่ส่งผลต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ความมั่นคง ของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสียหายจนไม่สามารถทำงานหรือให้บริการได้
- ระดับวิกฤติ
- ภัยคุกคามจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นกว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ของประเทศเป็นวงกว้าง และอาจส่งผลต่อชีวิต
- ภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียงร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมาย
หากใช้จริงจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
มีการสรุปจากเพจกฎหมาย iLaw ไว้ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าตีความได้กว้างไปจนน่ากังวล
- ตีความด้านเนื้อหา มากกว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามที่เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริง
- เจ้าหน้ารัฐที่สามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ และตรวจ ยึด ค้น ทำสำเนาข้อมูล แม้กระทั่ง “แฮก” ระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันที หากมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ ไม่สามารถอุทธรณ์เพื่อยับยั้งได้
- เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องแบบ Real time ได้
- ถ้าเร่งด่วนสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอหมายศาล
ทำให้เกิดความกังวลทั้งด้านความเป็นส่วนตัว ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การยัดข้อกล่าวหาและมีประเด็น (ที่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงไหม) ว่าถ้าเจ้าหน้าที่ยึดเครื่องไปแล้วทำเสียหาย จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
จากความกังวลทำให้เกิดเสียงวิจารณ์
hashtag #พรบไซเบอร์ ติดเทรนด์ Twitter ในหลายช่วงเวลาตั้งแต่คืนวันที่ 26 จนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ โดยเมื่อกดเข้าไปดูพบว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย แต่ก็มีบางส่วนมองว่าอย่าเพึ่งรีบตัดสิน นอกจากนี้ก็มีการแชร์แคมเปญลงชื่อคัดค้านบนเว็บ Change.org
ทั้งนี้ต้องติดตามต่อพรุ่งนี้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่ออีกหลังจากนี้ ทั้งนี้สามารถเข้าไปอ่านร่าง พรบ.ไซเบอร์ ได้ที่ https://ictlawcenter.etda.or.th/de_laws/detail/de-laws-cyber-security-protection-act
อ้างอิง:
- https://prachatai.com/journal/2019/02/81196
- https://prachatai.com/journal/2019/02/81141
- https://hilight.kapook.com/view/184518
- https://thestandard.co/consider-cybersecurity-law-act/
- https://ilaw.or.th/node/5173
เลิกสนใจข่าวป๊อปกันก่อนพวกเรา มาสนใจ #พรบไซเบอร์ กันก่อน ต่อต้านพรบไซเบอร์! pic.twitter.com/6KwvKeGlKt
— timtisa (@dracocharls) February 26, 2019
16.40 น. รองประธาน สนช. หารือกับสมาชิก 'ขอเลื่อน' การลงมติวาระ 2 ร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปวันพรุงนี้ และเลื่อนวาระอื่นๆ เช่น การพิจารณา #พรบไซเบอร์ หรือ #พรบมั่นคงไซเบอร์ ไปวันพรุ่งนี้ด้วย โดยสมาชิก สนช. ไม่คัดค้าน
ปิดการประชุมในวันนี้ ยังมีประชุมต่อในวันพฤหัสและศุกร์
— iLawClub (@iLawclub) February 27, 2019