หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าเมื่อปี 2560 ที่กสทช. กร้าว Facebook, YouTube ไม่ลงทะเบียน OTT จะลำบากในอนาคต จนกระทั่ง คุณ สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. ได้โพสต์ข้อความลง Twitter ให้ความเห็นเกี่ยวกับการลงทะเบียน OTT ว่าอาจขัดต่อกฎหมาย
ทำให้เรื่องนี้เงียบไป เพราะว่าขัดต่อกฎหมาย จนกระทั่งเมื่อเช้าวันนี้ มีสื่อไทยรายงานว่า “กสทช.” หรือชื่อเต็มคือ “สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ” ได้เสนอไอเดีย
“การเก็บรายได้จากสื่อ OTT ต่างชาติ” โดยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่งสถิติว่า มีบริการต่างชาติตัวไหนวิ่งผ่านเป็นปริมาณมากกว่าที่กำหนด บริการเหล่านั้นต้องจ่ายรายได้ให้ กสทช. หากไม่จ่ายจะลดความเร็วในการเข้าถึง
โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการ กสทช. ได้กล่าว ณ งาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ณ ห้องประชุม อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านได้พูดถึงการลงทุนจากต่างประเทศตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นมาก แต่เริ่มมาเพิ่มขึ้นปี 2559-2561 ดังนั้นจึงจำเป็นเร่งให้ 5G ของไทยเป็นที่ 1 ในอาเซียน หากไม่รีบทำจะเป็นรองเวียดนามและอินโดนีเซีย และหาก 5G เกิดขึ้นในไทยจะมาช่วยส่งเสริมการเกษตรมากขึ้นเช่น Smart Farming รวมถึงทางด้านโรงพยาบาลก็จะมี Smart Hospital
และเนื่องจากบริการต่างชาติเช่น Facebook, YouTube, LINE, Netflix นั้นมีการไหลผ่านข้อมูลเป็นจำนวนมากในไทย และมีการให้บริการวิดีโอ เข้าข่าย “OTT” หรือ Over the top ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผู้ใช้บริการในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในอนาคตที่ 5G จะให้บริการ และบริการเหล่านี้จะวิ่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในไทย เท่ากับว่าใช้โครงข่ายของไทย และหากมีการเข้าถึงมากๆ ก็จะส่งผลทำให้ Internet Gateway และผู้ให้บริการของไทย ต้องแบกรับปริมาณการเข้าถึงมากขึ้น จึงเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกสทช. และรัฐบาล เพื่อกำหนดปริมาณขั้นต่ำว่า ข้อมูลวิ่งผ่านเท่าไหนจึงจะต้องเก็บเงิน และหากไม่สามารถเก็บเงินได้จะใช้วิธีลดความเร็วการเข้าถึง โดยทั้งนี้ยังไม่ระบุปริมาณข้อมูลขั้นต่ำและหลักเกณฑ์ในการเก็บเป็นอย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่า หากทำแบบนี้
“ผลกระทบตกอยู่กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยทั่วไป”
อ้างอิง: เรื่องเล่าเช้านี้, มติชน