เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา AIS ได้จัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับ ‘อุ่นใจไซเบอร์’ ผลักดันสังคมดิจิทัลที่ดีให้เยาวชน ซึ่ง AIS ไม่ได้ให้บริการด้านเครือข่าย หรือคำนึงถึงด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่มี DQ (Digital Quotient – ความเป็นอัจฉริยะทางดิจิทัล) , AIS Secure Net, Google Family Link เป็นเครื่องมือเข้ามาช่วยให้เยาวชนรู้เท่าทันดิจิทัลด้วย

ปัญหาในสังคมไทยร้ายแรงในปัจจุบันนอกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste แล้ว เด็กไทยยังขาดความรู้เรื่องการใช้สื่ออยู่ ทาง AIS จึงสร้างแนวคิด ‘ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย’ ปลูกฝังจิตสำนึกการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลตั้งแต่เยาวชน ครอบครัว และโรงเรียน ร่วมมือกัน รวมถึงบอกต่อ ๆ ไปเชื่อมโยงเสมือนเครือข่าย ให้คนไทยใช้สื่อเป็น เพราะถ้าใช้ไม่เป็นอาจจะเกิดโทษ “สมาร์ตโฟนจะถูกสร้างมาอย่างสร้างสรรค์ หรือทำลายขึ้นอยู่กับนิ้วมือของเรา” สมชัย เลิศสุทธิวงค์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวไว้

Solutions สำคัญของ ‘อุ่นใจไซเบอร์’

Network Educator

ให้ความรู้เพื่อจะได้มีทักษะการใช้ และรู้ทันดิจิทัล เพราะโซเชียลไม่ใช่ทุกอย่าง และต้องไม่ปล่อยให้มันมากำหนดชีวิต

Network Protector

เป็นเหมือนกับวัคซีนทำให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เพราะเด็กจะต้องเจอสังคม หรือรับอะไรมาจากโรงเรียน การรู้ว่าอะไรดี หรือไม่ดี เป็นสิ่งสำคัญ

DQ (Digital Quotient – ความเป็นอัจฉริยะทางดิจิทัล)

AIS ได้เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัลรายแรก และรายเดียวที่นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา โดย Dr.Yuhyun Park ซึ่งจะพัฒนาทักษะ และความฉลาดทางดิจิทัล ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันในการเข้าสู่โลกออนไลน์ และการใช้มือถือหรือแท็บเล็ตอย่างฉลาด รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วย ขณะนี้ได้เริ่มขยาย DQ ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ และสามารถเข้าไปใช้งานเพื่อวัดระดับ DQ ได้แล้วที่ www.ais.co.th/dq

AIS Secure Net

ช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ เพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลานเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งในช่วงแรก AIS จะให้ลูกค้าทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase โดยให้เข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน และจะได้ทดลองใช้บริการในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้

Google Family Link

 

AIS จับมือกับ Google ให้บริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน ให้การใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง สามารถดูได้ว่าติดตั้งแอปฯ อะไร, เข้าเว็บไซต์อะไรบ้าง, ดูรายการการใช้โทรศัพท์ ไปจนถึงดูพิกัดของบุตรหลาน

อุ่นใจไซเบอร์ของ AIS เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยปลูกฝังการใช้ดิจิทัลของเยาวชนในตอนนี้ แต่ไม่ว่ายังไงเยาวชนเหล่านั้นก็ต้องเติบโต และเผชิญโลกด้วยตัวเอง ซึ่งโลกไซเบอร์จะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เพราะมันจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ การที่สร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์ตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์ และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน AIS “การป้องกันภัยไซเบอร์เหมือนกับสร้างภูมิคุ้มกันโดยการให้วัคซีน”

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก และวัยรุ่น
“สื่อออนไลน์เป็นภาวะปกติใน Digital World การติดเกมจึงเป็นคนละอย่างกับโรคเสพติดเกม”

อาการเสี่ยงของโรคเสพติดเกม

  • เล่นจนเสียวิถีชีวิต กินข้าวไม่เป็นเวลา หรืออดนอน
  • ต้องการเวลาเล่นเพิ่มขึ้นอีก
  • ไม่ได้เล่นแล้วลงแดง ไม่มีสติ ทำร้ายคนในครอบครัว

อาการเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดโรคโฟเบียหวาดผวา, ลดความเมตตา และชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น ทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาคือ ‘พักก่อนโพสต์’ เพื่อกดปุ่มหยุดอารมณ์ตัวเอง เหมือนกับพิมพ์ความรู้สึกไว้ แต่ไม่ได้แชร์ลงไปบนโซเชียล และให้ผู้ปกครอง รวมถึงโรงเรียนมีการพูดคุยเหลาความคิดกับเด็กผ่านคำถาม “ดูแล้วได้อะไร รู้สึกยังไง และถ้าเป็นแบบนั้นจะทำอย่างไร?”

ดร. วรนาท รักสกุลไทย ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาปฐมวัย และผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา
“เทคโนโลยีเหมือนอากาศ อากาศเป็นพิษ แต่เราหยุดหายใจไม่ได้ ต้องใช้ต่อไป”

ผู้ใหญ่ต้องรู้เท่าทันก่อน การเป็นครูก็ต้องเปลี่ยนบทบาท ไม่ใช่เพียงสอนอย่างเดียว แต่ต้องแนะนำ และให้คำปรึกษา ไกด์ไลน์ให้เด็ก

วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ กรรมการบริหาร ซูเปอร์จิ๋ว
“โรงเรียนเครือข่ายซูเปอร์จิ๋วมีการอีเมลล์ โทรคุย และพบปะคุณครูโดยตรง ขยายผลทั้งกลุ่มพ่อแม่เด็ก และโรงเรียน”

 

กบ สุวนันท์ ปุณณกันต์
“ไม่สามารถห้ามลูกใช้เทคโนโลยีได้ แต่ต้องปลูกจิตสำนึก อะไรดีไม่ดี แยกแยะให้เป็น”

พูดถึงในฐานะแม่ของลูก เทคโนโลยีนั้นจำเป็น และเป็นวัยของเขาที่ต้องเรียนรู้ เด็กต้องเติบโต รู้จักคิดเอง และต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ที่สอนลูกให้รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ

ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ AIS
“วันนี้ถ้าช่วยได้ โตขึ้นก็ต้องเผชิญด้วยตัวเองอยู่ดี”

ทั้งนี้อุ่นใจไซเบอร์ของ AIS เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยปลูกฝังการใช้ดิจิทัลของเยาวชนในตอนนี้ แต่ไม่ว่ายังไงเยาวชนเหล่านั้นก็ต้องเติบโต และเผชิญโลกด้วยตัวเอง ซึ่งโลกไซเบอร์จะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เพราะมันจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ การที่สร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์ตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย