หลังจากที่เปิดตัวในประเทศจีนเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Huawei ได้เผยข้อมูลของ OS ตัวล่าสุดที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานยุคใหม่อย่าง HarmonyOS หรือในชื่อจีนว่า HongmengOS ซึ่งมาพร้อมความสามารถที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกันระหว่าง Smartphone และฝั่งอุปกรณ์ IoT ได้แบบ Seamless ที่สุด

โดย Huawei ได้เล่าว่า ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมายกำลังเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหลาย ๆ ตัวนั้นก็ได้ใช้ระบบ Android ในการทำงาน แต่ Android เหล่านั้นอาจจะไม่ใช้ตัวเดียวกับที่ถูกใช้บนมือถือ ทำให้หลาย ๆ แอปฯ ที่ไม่ได้ถูกพัฒนาออกมาโดยเฉพาะ ไม่สามารถนำมาใช้บนอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยเฉพาะ IoT ที่มีความจุและพลังการประมวลผลที่ไม่สูงเท่ามือถือ

และปัจจุบันผู้คนต้องการใช้การเข้าถึงรหัสความปลอดภัยต่าง ๆ เช่นรหัสผ่าน ลายนิ้วมือ ใบหน้า เพื่อปลดล็อกการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ยุคใหม่ ๆ ที่บางครั้ง Hacker สามารถเห็นช่องโหว่ และเจาะเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านั้นได้ เช่นอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้ถูกออกแบบ Software ในด้านความปลอดภัยที่ดีพอ และข้อมูลเหล่านี้พวกเขาอาจจะนำไปใช้ในการโจรกรรมสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นได้อีกด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นบน AndroidOS คือด้าน Coding ที่มีขนาดใหญ่มากถึง 100 ล้านบรรทัด หรือแม้แต่ Android Kernel ก็ใช้ถึง 20 ล้านบรรทัด แต่แท้จริงแล้ว Code เหล่านั้นถูกใช้บ่อยแค่ 8% เท่านั้น

ทั้งหมดนี้หัวเว่ยจึงได้มองเห็นและตั้งใจพัฒนาระบบปฎิบัติการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ดีที่สุดมาเป็น HongmengOS หรือในชื่อต่างประเทศ HarmonyOS นั่นเอง

Play video

จุดเด่น HarmonyOS 4 อย่าง

เขียนแอปเดียวใช้ได้ทุกอุปกรณ์

สร้าง Modular Based เพื่อให้การเขียน Code เพื่อนำไปใช้เฉพาะอุปกรณ์แต่ละตัวได้ ทำให้ผู้เขียนแอปฯ สามารถเขียนครั้งเดียว ส่งแอปฯ ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ เช่นระบบที่สามารถใช้การรับ Video Call โดยให้ระบบหน้าจอไปอยู่บนทีวี และตัวรับเสียงอยู่กับเราได้ โดยทำให้ Latency หรือการแลคลดลงและใช้งานง่ายขึ้นมาก

ระบบการจัดสรรการส่งผ่านข้อมูล

โดย HarmonyOS จะมีการตรวจสอบว่า อุปกรณ์ตัวไหนต้องการใช้ข้อมูลระดับอะไรบ้าง โดยแต่ละอุปกรณ์ก็ต้องการส่งข้อมูลในขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งการใช้งานปกตินั้นอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ก็จะจองพื้นที่ไปหมดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่สามารถส่งข้อมูลได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่ง HarmonyOS จะสร้างถนนการส่งข้อมูลแยกกันออกมาเพื่อให้แต่ละอุปกรณ์ทำงานแยกกันได้ตาม Schedule ได้อย่างลื่นไหล

ระบบ Security ที่ดียิ่งกว่าเดิม

อย่างที่ได้พูดถึงไปในตอนแรกว่า ระบบความปลอดภัยในปัจจุบันบนอุปกรณ์ IoT เป็น 1 ในจุดที่ Hacker เจาะได้ง่าย แต่ HarmonyOS นั้นจะใช้ระบบป้องกันการเจาะข้อมูลรูปแบบเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตาม ทำให้ Hacker ไม่สามารถเจาะเข้าได้โดยง่าย

และรวมไปถึงระบบ Root ที่เมื่อโดนปลดแล้ว จะทำให้มือถือถูก Hack ข้อมูลทุกอย่างได้ แต่ HarmonyOS จะไม่สามารถ Root ได้เพราะจะมีระบบป้องกันแบบแยกจากกันอีกทีหนึ่ง เปรียบเสมือนตู้เซฟที่มีตู้เซฟเพื่อเก็บข้อมูลข้างในอีกขั้น ทำให้เจาะได้ยากกว่าเดิม

HUAWEI ARK Compiler

เป็นคอมไพเลอร์แบบ Static ตัวแรกที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Virtual Machine ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถรวบรวมโค้ดที่ซับซ้อนมาเพื่อให้ระบบแปลงเป็นโค้ดที่เรียบง่ายสำหรับการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงเอื้อประโยชน์ให้กับนักพัฒนาเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันการเขียนโปรแกรมนั้น ถ้าเราฝึกภาษาใดก็ตาม หลายครั้งเราจะไม่สามารถนำภาษานี้ไปใช้เพื่อเขียนโปรแกรมให้เข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นได้ แต่ Huawei ARK Compiler จะเปรียบเสมือนตัวกลางที่แปลงภาษาต่าง ๆ ให้กลายเป็นภาษาที่ใช้ใน Harmony OS ได้ทันที ทำให้ไม่ต้องศึกษาภาษาใหม่

อย่างไรก็ตาม Huawei ก็ยังอยากใช้ระบบปฎิบัติการ Android อยู่ ซึ่งการเตรียมพร้อมของ HamonyOS นั้นจะถูกนำมาใช้ทันทีถ้าเกิดเหตการณ์อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถใช้งาน Android ได้

EMUI10

Play video

เป็น OS สำหรัยมือถือของ Huawei ที่อยู่บน Android ที่มีระบบต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีทั้งด้านการใช้งานทั่วไปและใช้งานด้านความบันเทิงก็มี GPU Turbo และอีกหลายอย่างที่น่าสนใจเพียบ

  • จัดหน้าจอแบบเดียวกับหน้าหนังสือ Magazine ทำให้อ่านสบายตากว่าเดิม
  • ใส่ animation ให้กับการสัมผัสต่าง ๆ เช่นปุ่มเปิดแอปฯ หรือภาพ เพื่อสร้างการตอบสนองการใช้งานที่น่าสนใจมากขึ้น
  • มีการเลือกสีที่แตกต่างสำหรับแต่ละ Contact
  • เปลี่ยนรูปร่างของ Icon ให้ไปในทางเดียวกัน
  • มี Dark Mode ที่ดียิ่งกว่า ไม่ได้เป็นแค่เพียงการสลับสี แต่เป็นการสร้างสีสันในแสงแต่ละระดับที่ต่างกันเพือเพิ่มความสบายของสายตาที่สุดโดยผ่านการคนคว้าวิจัยมาแล้วผ่าน Human Factor Lab
  • มี Guesture ใหม่ในการเรียกใช้แอปฯ หรือระบบเสริมบนมือถือ
  • สามารถเชื่อมต่อบน PC และสามารถควบคุมได้แบบต่อเนื่องผ่าน Mouse Keyboard หรือแม้แต่การ Touch Screen ได้ รวมไปถึงการ Drag and Drop ไฟล์ได้ทันที

ซึ่งปัจจุบันก็ได้คอนเฟิร์ม HUAWEI P30 Series จะได้รับอัปเดต EMUI10 ก่อน และจะปล่อยอัปเดตให้แก่รุ่นอื่น ๆ ในอนาคตอันใกล้ โดยสามารถอัปเดตรุ่นเบต้าก่อน ในวันที่ 8 กันยายนนี้ และ สมาร์ตโฟน HUAWEI Mate20 Series จะได้รับการอัปเดตในลำดับต่อมา

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส