ด้วยพันธกิจของเฟซบุ๊ก (Facebook) คือการเชื่อมต่อผู้คนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ และเพื่อให้เป้าหมายของพวกเขาเป็นไปดั่งหวัง เฟซบุ๊กจึงได้ประกาศเปิดตัว โปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลเท็จโดยผู้ตรวจสอบภายนอกในประเทศไทย เพื่อรักษาและเพิ่มความโปร่งใสบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง
โปรแกรมนี้ Facebook ได้ร่วมมือกับ AFP ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ โดยทาง AFP จะตรวจสอบและประเมินความถูกต้องของเรื่องราวบน Facebook รวมไปถึงรูปภาพและวิดีโอในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นไป
Facebook จะมีการปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ที่ปรากฎบนหน้าฟีดใหม่ ที่จะทำการให้คะแนนด้วย ประเภทของโพสต์ (โพสต์ลงบนสาธารณะ เห็นแค่เพื่อน หรือเป็นโพสต์จากเพจ), ใครเป็นคนโพสต์และโพสต์เมื่อไหร่, โพสต์นั้น ๆ คนที่เข้าถึงมีส่วนร่วมอะไรบ้าง (Engage)
และหากถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงภายนอกประเมินว่าเรื่องราวนั้น ๆ เป็นเท็จ ก็จะปรากฏในฟีดข่าวน้อยลง ซึ่งเป็นการลดการเผยแพร่อย่างมีนัยสำคัญ โดย AFP เป็นพันธมิตรด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับโลก ที่ร่วมมือกับ Facebook ในกว่า 20 ประเทศ ซึ่งมีวิธีดำเนินการ 3 ส่วน ได้แก่
- Remove: ลบบัญชีและเนื้อหาที่ละเมิดมาตรฐานชุมชนหรือนโยบายโฆษณาของเรา
- Reduce: ลดการกระจายข่าวเท็จและเนื้อหาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ อาทิ clickbait
- Inform: แจ้งผู้คนด้วยการให้บริบทเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพสต์ที่พวกเขาเห็น
รักษาการผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก Facebook
นอกจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอก Facebook ยังสนับสนุนความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ผู้คนมีทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการรับข่าวสาร เพื่อการตัดสินใจอ่าน เชื่อ และแชร์ด้วยตนเอง ผ่านการสนับสนุนโปรแกรมด้านการพัฒนาทักษะในการรับข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก และการแชร์เคล็ดลับในการช่วยสังเกตข่าวปลอม และให้ข้อมูลเชิงบริบทแก่ผู้คนเกี่ยวกับโพสต์ที่พวกเขาเห็นในฟีดข่าว
Facebook เปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึง AFP โดยครอบคลุมกว่า 40 ภาษา
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส