หัวเว่ยจัดงาน Huawei Galileo 5G Online Live Tour ณ กรุงปักกิ่ง เผยเทรนด์ 5G เปลี่ยนผ่านจากมาตรฐาน TDD มาเป็นการผสมผสานระหว่างหลักปฏิบัติ TDD และ FDD เพื่อรองรับการใช้งานเครือข่ายแบบ B2B ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ 5G จะกระตุ้นให้เกิดการทำธุรกรรมแบบ B2B มากขึ้น และตอบรับความต้องการของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ต้องการลดต้นทุนการดำเนินงานได้ขึ้น ชี้หัวเว่ยยังคงมุ่งหน้าลงทุนและออกสิทธิบัตรด้าน 5G อย่างต่อเนื่อง
ตอนนี้อุตสาหกรรม 5G ในระดับโลกกำลังเผชิญกับ 3 เทรนด์หลัก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากการติดตั้งที่มีพื้นฐานหลักปฏิบัติการแบบ TDD สู่การติดตั้งที่มีการผสมผสานระหว่างหลักปฏิบัติการ TDD และ FDD, การเปลี่ยนผ่านจากการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจกับผู้บริโภครายบุคคล สู่การพัฒนาที่ครอบคลุมการทำธุรกิจทั้งแบบ B2C, B2H และธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) และเทรนด์หลัดสุดท้าย ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน (Operation Expenditures – OPEX) ที่ลดลงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ 5G สู่ความสำเร็จ
หลิน เหยียนชิง ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ แผนกประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรบริษัทหัวเว่ย
ในด้านเทรนด์การเปลี่ยนผ่านจากการติดตั้งที่มีพื้นฐานหลักปฏิบัติการแบบ TDD สู่การติดตั้งที่มีการผสมผสานระหว่างหลักปฏิบัติการ TDD และ FDD ในระยะแรกของการเปิดตัวเครือข่าย 5G ทั่วโลก การใช้คลื่นความถี่ต่าง ๆ แบบ TDD ใน Massive MIMO ซึ่งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 4G ได้กลายเป็นหลักปฏิบัติมาตรฐาน แต่หลักปฏิบัติการแบบ TDD นั้นโดยธรรมชาติแล้วมีข้อจำกัดทั้งในด้านการครอบคลุมและการมอบประสบการณ์การใช้งาน ในขณะที่หลักปฏิบัติการแบบ FDD กลับสามารถส่งมอบการรับส่งข้อมูลได้อย่างสมดุล ทั้งยังส่งมอบการครอบคลุมที่ทั่วถึงภายในตัวอาคารอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถเปิดตัวเครือข่าย 5G โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นอกจากนี้การผสมผสานดังกล่าวจะทำให้สามารถตอบรับการใช้งานบนช่องสัญญาณความถี่ขนาดใหญ่ของแอปพลิเคชันที่ใช้งานระหว่างองค์กรด้วยกัน (B2B)
ส่วนเทรนด์ที่สอง อันได้แก่การเปลี่ยนผ่านจากการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจกับผู้บริโภครายบุคคล (Business-to-Customer – B2C) และระหว่างเจ้าของธุรกิจกับบุคคล (Business-to-Human) สู่การพัฒนาที่ครอบคลุมการทำธุรกิจทั้งแบบ B2C, B2H และธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) โดยเครือข่าย 5G ในปัจจุบันสามารถรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายศักยภาพสูง (eMBB) สำหรับการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น การสาธารณสุขแบบอัจฉริยะ โรงพยาบาลมิตรภาพจีนและญี่ปุ่น (China-Japan Friendship Hospital) มีบริการให้คำปรึกษาระยะไกล (teleconsultation) ผ่านวิดีโอความคมชัดสูงโดยใช้เทคโนโลยี 5G และโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยเวสต์ไชน่าแห่งที่สอง (West China Second University Hospital) ยังได้นำเทคโนโลยี 5G ไปใช้สำหรับการเยี่ยมไข้ในห้องไอซียู รวมถึงการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในห้องพักผู้ป่วยของแพทย์และพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรมที่ต้องการความหน่วงต่ำและความเสถียรในระดับสูง (Ultra-Reliable Low-Latency Communication – URLLC) ตัวอย่างเช่น ท่าเรือ, อุตสาหกรรมการผลิต, การสื่อสารระหว่างยานพาหนะกับสิ่งต่าง ๆ (Vehicle-to-Everything – V2X) และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (power grid) ก็กำลังมีการศึกษา วางมาตรฐาน รวมถึงเริ่มนำร่างการใช้งานในอุตสาหกรรมโดยเริ่มติดต่อและทดลองนำไปติดตั้งใช้งาน
สำหรับเทรนด์ที่สามคือ ปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน (Operation Expenditures – OPEX) ที่ลดลงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ 5G สู่ความสำเร็จ ขั้นตอนการติดตั้งไซต์ที่สะดวกและง่ายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ให้บริการเครือข่าย นอกจากนี้ เทคโนโลยีการเข้าถึงคลื่นวิทยุแบบอเนกประสงค์และการประสานการใช้งานแถบความถี่ต่าง ๆ ยังช่วยปรับปรุงเครือข่าย O&M และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการประหยัดพลังงาน ซึ่งการหยุดให้บริการเครือข่าย 2G และ 3G (มีเครือข่ายทั่วโลก 17 เครือข่ายที่ได้สิ้นสุดการให้บริการแล้ว และอีก 12 เครือข่ายกำลังจะปิดตัว) จะทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย (operator) ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานในขั้นตั้น
“จากมุมมองด้านการปฏิบัติการ เครือข่าย 4G มอบประสบการณ์ด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือสำหรับให้กับผู้บริโภครายบุคคลเป็นหลัก ในขณะที่เครือข่าย 5G จะช่วยยกระดับขึ้นไปอีกขั้นของการให้บริการด้านความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือรายบุคคล พร้อมทั้งยัง ผสานรวมการสื่อสารไร้สายในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมให้เป็นรูปแบบดิจิทัล (digitization) และสร้างโลกแห่งการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างการใช้งานเครือข่าย 5G ที่โดดเด่น เช่น การขับขี่แบบอัตโนมัติ โรงงานอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ทางไกล” นายหลินกล่าวเพิ่มเติม
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2562 การลงทุนของหัวเว่ยในด้านเครือข่าย 5G (ไม่นับรวมถึงอุปกรณ์ 5G) มีมูลค่ารวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหัวเว่ยได้วางมาตรฐาน 9 ประการสำหรับเครือข่าย 5G รวมถึงศูนย์วิจัยทั่วโลกซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 500 คนที่คอยกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ยังมีตำแหน่งหน้าที่ในการวางมาตรฐานให้องค์กรต่าง ๆ กว่า 100 แห่ง นอกจากนี้หัวเว่ยได้เริ่มการวิจัยด้าน 5G ในปี พ.ศ. 2552 และส่งผลงานกว่า 23,600 รายการให้แก่กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (3GPP) โดยหัวเว่ยครอบครองกลุ่มสิทธิบัตรด้านเครือข่าย 5G กว่า 3,367 รายการ ซึ่งนับเป็น 20% ของสิทธิบัตร 5G ทั้งหมด และครองอันดับ 1 ในกลุ่มผู้จัดจำหน่ายเครือข่ายสัญญาณด้วยกัน
ทั้งนี้ โถงนิทรรศการ 5G Huawei Galileo Hall ได้รับการตั้งชื่อตามกาลิเลโอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่” ที่ค้นพบจักรวาลที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน หัวเว่ยได้เริ่มต้นการเดินทางเพื่อสำรวจและพัฒนาเทคโนโลยี 5G เมื่อสิบปีที่แล้ว โถงนิทรรศการ 5G ของหัวเว่ย จึงถูกตั้งชื่อตามกาลิเลโอ เพื่อยกย่องผู้บุกเบิกในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสานต่ออัจฉริยภาพนี้
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส