เปิดศักราชใหม่พร้อมช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากไวรัสและมัลแวร์ได้ พบกับ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Anti-Virus
เปิดตัวเวอร์ชั่น 2016 ด้วยฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่สามารถป้องกันผู้ใช้ทั่วไปได้อย่างดีเยี่ยม และเน้นการรักษาความเป็นส่วนตัว แถมมีระบบช่วยปกป้องลูกของคุณจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
แคสเปอร์สกี้ แลป เผยโฉมเวอร์ชั่นล่าสุดของโซลูชั่นซีเคียวริตี้ชั้นเรือธงสำหรับผู้ใช้ทั่วไป – Kaspersky Internet Security 2016 และ Kaspersky Anti-Virus 2016 โปรดักส์ทั้งสองตัวใช้งานกับ Windows 10 ได้ พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดด้วยการปกป้องสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้: ความเป็นส่วนตัว ข้อมูล ข้อมูลระบุบ่งชี้ตัวบุคคล (identity) เงินและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน โซลูชั่นใหม่ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่อัพเดททันสมัยมั่นใจได้ว่า ผู้ใช้งานจะได้รับการปกป้องไม่ว่าจะทำอะไรอยู่บนคอมพิวเตอร์ก็ตาม อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมมากขึ้นเพื่อการป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้
จากข้อมูลการสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไอทีระดับคอนซูมเมอร์ (Consumer IT Security Risks Survey 2015) พบว่า จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่กังวลกับความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างยิ่งเทียบกับปีที่ผ่านมา 70% ของผู้ใช้งานกังวลว่าตนเองอาจโดนใครบางคนแอคเซสเข้ามายังไฟล์ส่วนตัว 61% กังวลว่าอาจจะมีโปรแกรมแฝงบนอุปกรณ์ที่ตนใช้งานคอยแอบดักข้อมูล และ 49% ไม่วางใจเว็บแคมของตนเอง ซึ่งกล้องเหล่านี้เป็นที่รู้กันว่าอาจถูกแอบขโมยใช้อยู่บ่อยๆ แม้จะอยู่บนอุปกรณ์ของเราเองก็ตาม ซึ่งประเด็นเหล่านี้รุกให้โซลูชั่นความปลอดภัยต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ในความเป็นส่วนตัวบนอุปกรณ์ของตนเอง เวอร์ชั่นใหม่ของแคสเปอร์สกี้ออกแบบมาให้มีเทคโนโลยีป้องกันความเป็นส่วนตัวรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน
โซเชียลเน็ตเวิร์ก เอเจนซี่โฆษณา และการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลมักเก็บข้อมูลของผู้ใช้เกี่ยวกับกิจกรรมพบบ่อยบนบราวเซอร์ สถานที่ หรือประวัติการสืบค้นข้อมูล เป็นต้น พวกเขาเรียกใช้ข้อมูลผ่านบราวเซอร์และสามารถนำมาขายต่อได้ และใช้เพื่อทำโฆษณาบริบทพุ่งเป้าหมายไปยังผู้ใช้เอง “Private Browsing” จะเป็นฟีเจอร์ที่เอาข้อมูลเช่นนี้ออกจากอินเทอร์เน็ตทราฟฟิกและรายงานรีเควสต์ที่ถูกบล็อกไปยังผู้ใช้ผ่านทางปลั๊กอินที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ (ซึ่งจะมีอยู่ใน Mozilla Firefox, Internet Explorer และ Google Chrome) โดยเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลปต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ที่มีอยู่ในบราวเซอร์ นั่นคือ สามารถปกป้องได้มากกว่าป้องกันผู้ใช้จากการถูกระบุตัวตนผ่านคุ้กกี้ไฟล์ หรือเตือนเรื่องไซต์ที่เราไม่ต้องการส่งข้อมูลที่จะทำให้ติดตามเราได้ โดยจะการันตีได้ว่าข้อมูลนี้จะไม่เล็ดลอดออกนอกอุปกรณ์เด็ดขาด
เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปสำหรับเอ็กซเทนชั่นเพิ่มเติม (additional extensions) ที่จะฝังไปบนอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยที่เจ้าของอุปกรณ์ไม่รู้ตัวว่ามีการติดตั้งฟรีแวร์ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อบราวเซอร์โฮมเพจ และดิฟอล์ทเสิร์ชเอ็นจิ้น หรือการติดตั้งปลั๊กอินพิเศษเพิ่ม และ/หรือ เอ็กซเทนชั่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งค่าเน็ตเวิร์คและค่าคอนฟิกูเรชั่นระบบของอุปกรณ์ได้โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมไม่รู้เรื่องเลย เป็นไปได้ว่าองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปเพื่อล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว เพราะปลั๊กอินและเอ็กซ์เทนชั่นบางตัวอาจคอยเก็บข้อมูล และพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้ จากนั้นนำมาใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ “System Change Control” เป็นตัวตรวจสอบกระบวนการที่พยายามจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม และรายงานไปยังผู้ใช้ พร้อมทั้งสอบถามว่าต้องการให้จัดการกับกระบวนการนั้นอย่างไร เช่น ยอมรับ หรือบล็อก
จิมมี่ ฟง ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลนี้ถือเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะอยู่ในโลกแห่งความจริงหรือเสมือนจริง ซึ่งเป็นสาเหตุที่แคสเปอร์สกี้ แลปมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นด้วยเป้าหมายในการป้องกันทุกข้อมูลอันมีค่าของผู้ใช้งานของเรา ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวในการใช้งานติดต่อสื่อสาร ให้พ้นเงื้อมมืออาชญากรไซเบอร์และประชากรไซเบอร์ผู้อยากรู้อยากเห็นทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต โดยธรรมชาติแล้ว มาตรการเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากผู้ใช้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย ป้องกันอุปกรณ์และบัญชีใช้งานด้วยรหัสผ่านที่ยากต่อการแกะรอย หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ และสแกนเครื่องเป็นประจำเพื่อหาภัยคุกคามไซเบอร์ที่อาจเป็นไปได้ในเครื่อง”
จากรายงานของ Kaspersky Security Network ระบุว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 33 จากทั้งหมด 250 ประเทศทั่วโลกที่เป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ ไทยกำลังกลายมาเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายของแฮกเกอร์ อันเป็นผลจากการติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อนและการทำธุรกรรมธนาคารออนไลน์ที่แพร่หลาย รวมถึงการเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดของอุปกรณ์สื่อสารไร้สายและโซเชียลเน็ตเวิร์ก
“เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์นี้มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้บ่อยๆ เราจึงขอแนะนำให้ผู้ใช้งานทุกคนหมั่นอัพเดทโปรแกรมระบบความปลอดภัยเป็นเวอร์ชั่นที่ล่าสุดที่สุด เพื่อให้มั่นใจสมรรถนะการป้องกันและรับมือกับภัยไซเบอร์หน้าใหม่ได้ โปรดักส์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปของแคสเปอร์สกี้ แลปที่โดดเด่นเป็นที่นิยม ได้แก่ ออโตเมติกอัพเดทและอัพเกรดแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถที่จะบริหารจัดการได้จากระยะไกลผ่านบัญชีผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ แลป (My Kaspersky account) ส่วนตัว” จิมมี่ ฟง กล่าวเสริม
นอกจากฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ เวอร์ชั่น 2016 สำหรับคอนซูเมอร์ ได้ปรับปรุงฟีเจอร์พร้อมเสริมความแข็งแกร่งในการรับมือป้องกันรูปแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปของภัยไซเบอร์ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและสมรรถนะของการป้องกันระดับพรีเมี่ยม อาทิ Safe Money, Application Control, Trusted Application Mode และ Two-Way Firewall
Kaspersky Anti-Virus เป็นรากฐานการต่อกรกับไวรัส ให้การปกป้องจากไวรัสทุกชนิด ตรวจจับ กำจัดไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่ล่าสุดได้ทันที แจ้งเตือนเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย ตรวจสอบความปลอดภัยของไฟล์ โปรแกรมต่างๆได้ทันที ด้วยการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพนี้ จึงมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะปลอดภัย ไม่ว่าขณะทำงาน หรือท่องอินเทอร์เน็ต
Kaspersky Anti-Virus สำหรับ 3PC มาในราคาเพียง 1,380 บาท และ 1PC เพียง 690 บาท เท่านั้น
Kaspersky Internet Security ให้การปกป้องระดับพรีเมี่ยมจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบ ผ่านแอนตี้ไวรัส แอนตี้ฟิชชิ่ง พร้อมด้วยทูลและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคลและธุรกรรมการเงินออนไลน์ มีโมดูล Parental Control สนับสนุนผู้ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองในการสอดส่องกิจกรรมบนเว็บของเด็กๆ
Kaspersky Internet Security สำหรับ 3PC มาในราคาเพียง 1,780 บาท และ 1PC เพียง 890 บาทเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยการประกาศรายชื่อผู้โชคดี ได้รับรางวัล Kaspersky Internet Security 2016 จากทาง Kaspersky ที่มอบให้เรามาเล่นกิจกรรมแจกของรางวัลใน Beartai On LINE กันจ้า บอกเลยกิจกรรมเราเล่นง่ายมวากกก ไม่เชื่อลองถามผู้ที่ได้รับรางวัลกันดังต่อไปนี้เลยจ้า !!
นายณัฐพล หลำพงษ์
นายฉันทวัฒน์ บัวตา
นครินทร์ หุ่นประดิษฐ
ลักขณา นีรมิตร
เอกสิทธ์ พิทักษ์สินพานิชย์
ณัฐวุฒิ หมื่นไธสง
นภาพร แผนวงค์
นายสรวุฒิ มินิ
กนิษฐ์ ศรีสุริยสวัสดิ์
คมฤทธิ สุขสมบูรณ์
สำหรับผู้โชคดีทั้ง 10 ท่านกรุณาส่งข้อความเพื่อยืนยันการรับรางวัลผ่าน https://www.facebook.com/beartai โดยถ่ายรูปบัตรประชาชนที่มีชื่อจริงตรงกับชื่อที่ได้รางวัล พร้อมที่อยู่ในการจัดส่ง เสร็จแล้วทางทีมงานจะติดต่อกลับไปจ้า เสร็จแล้วก็รอรับรางวัลอยู่บ้านกันได้เลย 🙂