เรื่องจริงไม่อิงนิยายที่เคยเป็นข่าว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซิราช อับราฮัมส์ ชาวเมืองเคปทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศแอฟริกาใต้ คุณพ่อลูกห้าวัย 41 ปี เจ้าของธุรกิจไอทีและรถยนต์ ถูกโจรจู่โจมและยิงเข้าที่หน้าอก เดชะบุญที่กระสุนลูกนั้นไปโดนสมาร์ทโฟนหัวเว่ยพี 8 จึงไม่ระคายผิวเขาแม้แต่น้อย  หลังจากโดนยิง ซิราชหมดสติไปโดยไม่รู้เลยว่าสมาร์ทโฟนหัวเว่ยช่วยชีวิตเขาไว้ จนกระทั่งฟื้นขึ้นมาทีหลังและเห็นรูกระสุนบนเสื้อแจ็คเก็ตและซากสมาร์ทโฟน จึงทราบว่าเกิดอะไรขึ้น

huaweip8lite

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สมาร์ทโฟนช่วยชีวิตคนจากกระสุนปืน  ก่อนหน้านี้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย พี 7 ช่วยชีวิตชายคนหนึ่งในป่าเขตร้อน ในประเทศกัวเตมาลามาแล้ว  นักวิจัยบริษัทมิลเวิร์ดบราวน์รายหนึ่งก็เคยใช้ มีเดียแพดเป็นโล่กันกระสุนที่เมืองการิสซา ประเทศเคนยา ขณะที่กำลังเก็บข้อมูลในพื้นที่  นอกจากนี้ยังมีข่าวทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นกับสมาร์ทโฟนยี่ห้ออื่นๆ ทั้งไอโฟนและซัมซุงเช่นกัน

เบื้องหลัง “ซูเปอร์สมาร์ทโฟน”

แม้เรื่องสมาร์ทโฟนกันกระสุนจะฟังดูเป็นเรื่องของโชค  แต่จริงๆ แล้ว เกิดจากความตั้งใจ  บริษัทชั้นนำอย่างหัวเว่ยไม่ได้เพียงแค่พัฒนาเครื่องและซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่ยังยกระดับการผลิตและการควบคุมคุณภาพเพื่อให้แน่ใจว่าสมาร์ทโฟนที่ผลิตออกมานั้นจะมีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปอีก

หัวเว่ยซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 แบรนด์ชั้นนำของโลกที่จำหน่ายไปยังกว่า 170 ประเทศทั่วโลก และในปีที่แล้วปีเดียวก็มียอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนถึงกว่า 100 ล้านเครื่อง ทุ่มเทอย่างเต็มที่ชนิดที่เรียกว่าทุ่มกันสุดตัวทีเดียวในการพัฒนาและผลิตสมาร์ทโฟนคุณภาพเยี่ยม  หัวเว่ยนำระบบ QMS มาใช้ในการออกแบบเครื่องต้นแบบ  ลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา  คัดสรรวัสดุที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิตทั้งหมด ไปจนการทดสอบ  รวมทั้งใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะเปี่ยมด้วยคุณภาพเหนือระดับ  มาตรฐานในการผลิตของหัวเว่ยนั้นเป็นมาตรฐานระดับโลกที่เข้มงวดมากกว่าที่ใช้อยู่ในยุโรปหรืออเมริกาเสียอีก

ในด้านการตรวจสอบคุณภาพ  หัวเว่ยมีห้องแล็บสำหรับทดสอบคุณภาพที่ทันสมัยมากที่สุดในวงการ มีการทดสอบผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด ที่บางครั้งอาจเรียกได้ว่าสุดขั้ว สำหรับการทดสอบคุณภาพความทนทานในเชิงเทคนิค  สมาร์ทโฟนตัวอย่างจะต้องผ่านการทดสอบ drum test หรือการตกกระแทกเป็นพันๆ ครั้ง ผ่านการทดสอบการบิดตัวมากกว่า 500 ครั้ง ผ่านการทดสอบความทนทาน (stress test) เมื่อถูกกดทบด้วยน้ำหนักขนาด 70 กิโลกรัม และทดสอบความทนทานของซอฟต์แวร์อีก 2,000 ครั้ง  ในด้านความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เครื่องตัวอย่างจะต้องผ่านการทดสอบความทนทานต่อแสงแดดนานกว่า 72 ชั่วโมง ผ่านการทดสอบความทนทานเมื่อต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่นจากร้อนเป็นหนาวกลับไปกลับมา 48 ชั่วโมงต่อกัน  ทนละอองน้ำเค็มได้นาน 8 ชั่วโมง ทนความร้อนชื้น การสั่นสะเทือน และความทนทานต่อการสึกหรอ  ส่วนการทดสอบความทนทานตลอดอายุการใช้งาน เครื่องตัวอย่างจะถูกนำไปทดสอบการเสียบต่อหูฟัง 5,000 ครั้ง และการต่อเชื่อมกับยูเอสบี 10,000 ครั้ง  มาตรฐานการทดสอบเหล่านี้ถือว่าสูงกว่ามาตรฐานทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตสมาร์ทโฟน ซึ่งโดยปกติแล้วจะทดสอบแค่การตกกระแทก การทนความร้อน การใช้งานหน้าจอทัสสกรีน และการทดสอบสเป็กคลื่นความถี่วิทยุเท่านั้น

หัวเว่ยยังได้ทดสอบปลั๊กหูฟัง ช่องต่อสายชาร์จ และช่องใส่ซิมการ์ดเองด้วย ในขณะที่โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะเป็นผู้ทดสอบ  นอกจากนี้สมาร์ทโฟนของหัวเว่ยยังต้องผ่านการ ทดสอบระบบเครือข่ายแบบเข้มก่อนออกสู่ตลาด  ทั้งการทดสอบการใช้งานบริการโรมมิ่ง การทดสอบ SAR หรือการแผ่รังสีของสมาร์ทโฟนที่ทำในห้องแล็บ (เพื่อให้แน่ใจว่าจะรองรับระบบ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ) การที่สมาร์ทโฟนผ่านทุกการทดสอบสุดโหดเหล่านี้ได้ ทำให้สมาร์ทโฟนของหัวเว่ยผ่านทุกมาตรฐานของผู้ให้บริการระบบชั้นนำทุกรายในโลก รวมถึงเอทีแอนด์ที ในสหรัฐอเมริกา  ในด้านระบบการบริหารคุณภาพ สมาร์ทโฟนของหัวเว่ยผ่านมาตรฐานที่ได้ชื่อว่าเข้มงวดที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่นก็ตาม  และสมาร์ทโฟนทั้งหมดของหัวเว่ยก็ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากการแผ่รังสี และเป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาหรือ  FCC  ด้วย

ของมีตำหนิ …หัวเว่ยจะไม่ทน!

มร. ริชาร์ด ยู ซีอีโอของหัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า “คุณภาพ อยู่ในสายเลือดของหัวเว่ย  พนักงานของเราทุกคนต่างก็มี “จิตวิญญาณของช่างฝีมือ” อย่างเปี่ยมล้น  ทุกคนพร้อมจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพและทำให้มั่นใจว่าของของเราจะไม่มีตำหนิเลย”

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ  หัวเว่ยลงทุนไปเป็นล้านๆ หยวนเพื่อแก้ไขปัญหากล้องในสมาร์ทโฟนเสียเมื่อตกกระแทก ทั้งๆ ที่ปัญหานี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 3,000 ครั้งของการทำสมาร์ทโฟนหัวเว่ย ตกหล่นเท่านั้น

หลังจากนั้น หัวเว่ยกลับมาเป็นข่าวฮอตในโลกโซเชียลเมื่อนำสมาร์ทโฟนรุ่นออเนอร์ 12,845 เครื่องมาทำลายทิ้งเมื่อวัน ที่ 28 พฤษภาคม 2558 ไม่นับที่เคยทำลายสมาร์ทโฟนไปแล้ว 4,462 เครื่องก่อนหน้านี้  รวมเป็น 17,307 เครื่อง รวมมูลค่ากว่า 20 ล้านหยวน  เพียงเพราะว่ารถบรรทุกที่ขนสมาร์ทโฟนเหล่านี้มาเกิดอุบัติเหตุยางระเบิดซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ว่าในครั้งนี้ จะมีเครื่องเพียง1.4% เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่หัวเว่ยก็ทำลายเครื่องทั้งหมดที่บรรทุกมาในรถดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีเครื่องที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหากใช้ไปแล้วเป็นปี หลุดไปถึงมือลูกค้าได้เลยแม้แต่เครื่องเดียว

นอกจากกระบบการควบคุมคุณภาพภายในองค์กรแล้ว หัวเว่ยยังทำงานกับซัพพลายเออร์และพันธมิตรทุกรายเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของสมาร์ทโฟนหัวเว่ยทุกเครื่องตลอดทั้งซัพพลายเชน ด้วยวิธีนี้หัวเว่ยจึงสามารถนำเครื่องที่มีคุณภาพสูงมาให้ผู้บริโภคและลูกค้าได้ใช้อย่างมั่นใจ เช่น คุณภาพของกาวที่ใช้ในมอเตอร์ในเครื่องสมาร์ทโฟนที่มีกล้องนั้นมีผลต่อความเร็วของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ  ดังนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า หัวเว่ยยังต้องใส่ใจกับทั้งผู้ผลิตเลนส์ มอเตอร์ และกาวทุกรายด้วย

หัวเว่ยมีเป้าหมายสำคัญที่ชัดเจน คือ “เราจะเป็นผู้สร้างมาตรฐานคุณภาพในวงการสมาร์ทโฟน ถ้าเมื่อไรคุณภาพของสมาร์ทโฟนของเราต่ำกว่ามาตรฐานในวงการ เราก็ต้องพยายามให้ดีที่สุดที่จะทำให้ได้ตามมาตรฐาน  ดังนั้น เราต้องพัฒนาตัวเราให้ดีขึ้นทุกปีอีกปีละ 30%  ทันทีที่เรากลายเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของตลาดสมาร์ทโฟน เราก็จะยังต้องพัฒนาตัวเราให้ดีขึ้นไปอีกปีละ 20%”

เราจะไม่ทนสินค้าที่มีตำหนิแม้เพียงนิดเดียว และจะสร้างสรรค์นวัตกรรม ยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความตั้งใจนี้ทำให้เราประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากทั่วโลก ในตลาดอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม หัวเว่ยนับได้ว่าเป็นผู้นำด้านโซลูชั่นทั้งการสื่อสารและสารสนเทศ  ส่วนในตลาดสมาร์ทโฟน รายงานของจีเอฟเค (GFK) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านวิจัยตลาดและประสบการณ์ของผู้บริโภคระบุว่าหัวเว่ยรั้งอันดับในใน 3 ของตลาด และเป็นผู้นำในตลาดจีน รวมทั้งเป็นหนึ่งใน 3 ในหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปตะวันตก  โดยรายได้กว่า 60% ของหัวเว่ยมาจากตลาดต่างประเทศ เพราะหัวเว่ยขายสมาร์ทโฟนในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก

มร. ริชาร์ด ยู เชื่อว่าหลักการในการสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพ นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของหัวเว่ย  เพราะคุณภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ แต่ยังจะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่คุณค่าของแบรนด์อีกด้วย

ในปี 2557  หัวเว่ยเป็นบริษัทแรกจากประเทศจีนที่ได้รับการคัดเลือกจาก อินเทอร์แบรนด์ให้เป็นหนึ่งในร้อยแบรนด์ที่มีค่าสูงสุด (“Top 100”) โดยอยู่ในลำดับที่ 94  ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็นลำดับที่ 88 ในปี 2558   นอกจากนี้ ในปี 2559 หัวเว่ยยังติดอันดับ 100 แบรนด์ที่ทรงคุณค่าที่สุดในรายงานชื่อ Brand Z ด้วยมูลค่าแบรนด์ที่สูงถึง 18,650 ล้านเหรียญสหรัฐ  และขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่  50 จากอันดับที่ 70 ในปี 2558