- การสาธิตแบบถ่ายทอดสดตลอดรายการด้วยเครือข่าย 5G ครั้งแรกในประเทศไทยโดยใช้ระบบทดสอบ 5G ของอีริคสันและแกนการทำงานแบบ Ericsson 5G Ready Core
- การปล่อยสัญญาณระบบต้นแบบด้วยเทคโนโลยี Multi-user , Multiple Input , Multiple Output (MU-MIMO) และ beam tracking มอบความเร็ว 5.7 กิกะบิตต่อวินาทีและความหน่วงเพียง 0.3 มิลลิวินาที
- การสาธิตระบบ 5G เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอของเทคโนโลยี เพื่อฉลองการดำเนินงานครบรอบปีที่ 111 ของอีริคสันประเทศไทย
อีริคสัน (NASDAQ : ERIC) จัดแสดงการสาธิตแบบถ่ายทอดสดตลอดรายการด้วยเครือข่าย 5G ครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้ระบบทดสอบ 5G ของอีริคสันและแกนซีพียูแบบ 5G ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการนำประเทศไทยให้ก้าวสู่วิสัยทัศน์ “ดิจิทัลไทยแลนด์” อย่างแท้จริง
การจัดแสดงเทคโนโลยีครั้งนี้ ถือเป็นการฉลองการดำเนินงานครบรอบปีที่ 111 ของอีริคสันในประเทศไทย โดยการสาธิตระบบ 5G จะมุ่งเน้นที่ความสามารถในด้านต่างๆ จากการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ถึงระดับสูงสุดผ่านสัญญาณที่มีความเร็วถึง 5.7 กิกะบิตต่อวินาที โดยมีความหน่วงเพียง 0.3 มิลลิวินาทีเท่านั้น ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในพันธะสัญญาของอีริคสันต่อประเทศไทยในการมุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีและความรู้เชิงลึกแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ “ดิจิทัลไทยแลนด์” ของรัฐบาลไทย
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า “เราคาดหวังให้ทุกแห่งในประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์ได้ภายในปี ค.ศ. 2018 ไม่ว่าจะเป็นเมืองใหญ่และอีกมากกว่า 75,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ และด้วยการปรับรูปแบบอินเตอร์เน็ตครั้งนี้ เราได้วางแผนที่จะเปิดตัวสัญญาณแบรนด์วิธ 380 เมกะเฮิร์ทซ์ภายในปี ค.ศ. 2020 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณ 420 เมกะเฮิร์ทซ์ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปัจจุบัน การเสริมประสิทธิภาพนี้จะช่วยรองรับอุปสงค์ในด้านบริการอินเตอร์เน็ต การบริหารสรรพสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมก้าวสู่ยุคดิจิทัลไทยแลนด์อย่างเต็มตัว”
ความเร็วของสัญญาณระดับหลายกิกะบิตจากแนวคิดการทดสอบระบบ 5G ของอีริคสัน จะไม่เพียงช่วยส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายบรอดแบรนด์สำหรับโทรศัพท์และการเล่นวีดีโอบนสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ เท่านั้น หากยังมอบทางเลือกการเชื่อมต่อเครือข่ายไฟเบอร์ในที่พักอาศัยที่มีความคุ้มค่าและมีแนวโน้มในการเติบโตในอนาคต ด้วยคุณสมบัติการให้ปริมาณงานที่สูงกว่าและความหน่วงต่ำกว่าของระบบ 5G ทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถดึงดูดผู้ใช้งานระบบจำนวนมากให้เข้าสู่การบริหาสรรพสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต (Internet of Things: IoT) ซึ่งจะเอื้อให้เกิดแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภค อาทิ แอพพลิเคชั่นความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) แอพพลิเคชั่นความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) รถยนต์ที่ควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์หรือระบบอัตโนมัติ และแอพพลิเคชั่นสำหรับงานอุตสาหกรรม เช่น ยานพาหนะอัจฉริยะและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านการขนส่ง บริการสุขภาพระยะไกล วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) และอื่นๆ อีกมากมาย
นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “สืบเนื่องจากรายงานธุรกิจเรื่องดิจิทัลไทยแลนด์ของอีริคสัน ประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคนี้ โดยผู้บริโภคชาวไทยมีความล้ำหน้าหรือเทียบเคียงได้กับผู้ใช้งานระดับโลกในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และพร้อมแล้วสำหรับระบบการบริหารสรรพสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต”
“นวัตกรรมระบบ 5G ที่นำมาสาธิตในวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีทั้งหมด ด้วยความสามารถและองค์ความรู้แบบครบวงจร อีริคสันมีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านระบบในอุตสาหกรรมทุกประเภทและสังคมผู้บริโภค เพื่อวิวัฒน์วิถีชีวิต การทำงาน และการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของผู้คนในประเทศไทย”
ระบบทดสอบ 5G ของอีริคสันใช้เทคโนโลยี Multi-user , Multiple Input , Multiple Output (MU-MIMO) เพื่อเพิ่มปริมาณงานในการเชื่อมต่อข้อมูล รวมถึงยังใช้ระบบ Beam-tracking ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่ในระดับมิลลิเมตรเพื่อการันตีประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไปใช้ระบบนี้
นวัตกรรมอื่น ๆ ที่นำมาสาธิตในครั้งนี้ ได้แก่ อีริคสัน แอร์ 6468 (Ericsson AIR 6468) วิทยุแบบ NR Radio ระบบ 5G ครั้งแรกของโลกที่ใช้ตัวส่งสัญญาณ 64 ตัวและเสาอากาศ 64 เสา และการถ่ายทอดสดการสาธิตตลอดรายการแบบความหน่วงต่ำ (นับแต่เวลาที่วีดีโอเริ่มจับภาพที่เซิร์ฟเวอร์ไปจนจบเวลาที่แสดงผลบนจอของอุปกรณ์) ด้วยระบบ 5G นอกจากนี้จะมีการนำเสนอแกนการทำงาน Ericsson 5G Ready Core ผ่านการสาธิตหุ่นยนต์ที่สามารถทรงตัวอย่างสมดุลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบูรณาการที่ยอดเยี่ยมระหว่างหุ่นยนต์และระบบคลาวด์ ด้วยความสามารถในการสร้างระบบหนึ่งขึ้นได้จากองค์ประกอบอิสระ ซึ่งครอบคลุมถึงตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับและหัวฉีด นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาสามวันของการจัดงาน อีริคสันจะสาธิตความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ทั้งในด้านวิวัฒนาการเครือข่ายวิทยุ (Radio Network Evolution) เครือข่ายคลาวด์ในงานอุตสาหกรรม (Industrialized Cloud) อุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงถึงกัน (Connected Industries) และ โซลูชั่นพื่อธุรกิจระบบดิจิทัล (Digital Business Solutions)
ปี ค.ศ. 2017 ถือเป็นปีที่ 111 ที่อีริคสันดำเนินงานในประเทศไทย โดยอีริคสันเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือระบบ 1G 2G และ 3G ในประเทศและยังให้บริการระบบ 4G เพื่อมอบประสบการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือที่เหนือกว่าแก่ผู้บริโภคชาวไทย