ถอดรหัส QR Code ยุค Cashless Society
QR Code หรือ Quick Response Code มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้งานในหลากหลายลักษณะ ไม่ว่าจะสแกนเพื่อ add friend ในโซเชียลมีเดีย สแกนเพื่อหาข้อมูลหรือเข้าเว็บไซต์ สแกนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ หรือสแกนเพื่อรับส่วนลดจากแบรนด์ต่างๆ
ประเทศจีน เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าใช้ QR Code เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุดในโลก โดยมี e-Wallet รายใหญ่ 2 เจ้า ได้แก่ Alipay และ WeChat Pay เป็นเจ้าตลาด
- มีจำนวนผู้ใช้งานรวมกันมากกว่า 1.25 พันล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2016
- มียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,700 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี
- และคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายรวมจะทะลุ 6.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2020
(ข้อมูล Business Insider, 2017 http://www.businessinsider.com/wechat-pay-hits-a-hurdle-2017-4 )
การใช้ QR code ในการชำระเงินและการโอนเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวก ลดการใช้เงินสด และทำให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึง เช่น การชำระเงินด้วย QR code ผ่านสมาร์ทโฟน เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ตามแนวนโยบายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สนับสนุนการลดการใช้เงินสด และส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำธุรกรรมให้กับระบบเศรษฐกิจตลอดจนสอดคล้องกับนโยบาย National e-Payment และเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลด้วย
ข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย “แนวทางการผลักดันมาตรฐาน QR Code ในประเทศไทย 18 กรกฎาคม 2560”
QR Code Payment ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
- QR Code บนเครื่อง EDC > กสิกรไทย จับมือ วีแชท ( WeChat ) และ อาลีเพย์ (Alipay) ติดตั้งเครื่องอ่าน QR ในเครื่องอีดีซีกว่า 200,000 เครื่อง เอาใจขาช้อปชาวจีนให้จับจ่ายในไทยสะดวกขึ้น ใช้สแกนคิวอาร์โค้ด ( QR Code ) ผ่านวีแชท เพย์ ( WeChat Pay ) และ อาลีเพย์ (Alipay) แทนการใช้เงินสด โดยผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับอี-วอลเล็ต ตอบรับทัพนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยแตะ 9 ล้านคน
- QR Code ในเครื่อง Vending Machine > กสิกรไทย ร่วมกับ SUN108 ผู้นำธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) พัฒนาเครื่อง Vending Machine ที่รับชำระเงินด้วยการสแกน QR Code ของ Alipay ได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชาวจีน
- QR Code มาตรฐาน สำหรับการชำระเงินของผู้บริโภคที่ถือ บัตรมาสเตอร์การ์ด ยูเนี่ยนเพย์ วีซ่า เจซีบี หรือ อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ก็ทำได้อย่างง่าย ๆ เพียงสแกน QR Code ที่แสดงอยู่ในร้านค้า และเลือกกดบัตรที่ต้องการใช้สำหรับชำระเงิน
ก้าวต่อไป :
K PLUS SHOP เป็นแอปฯ บนมือถือแอปฯ แรกในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีชำระเงินด้วย QR Code และเป็นมิติใหม่ของระบบรับจ่ายเงินที่จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพการค้าขายให้กับกลุ่มร้านค้าขนาดย่อมในยุคที่ต้องปรับตัวกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ผูกติดชีวิตกับโทรศัพท์มือถือ
ความฮอตฮิตของ “โมบาย แบงกิ้ง”
- ปี 2559 มีคนใช้โมบาย แบงกิ้งทำธุรกรรมการเงินเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 50%
- แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำตลาดโมบาย แบงกิ้ง มีจำนวนผู้ใช้กว่า 6 ล้านราย
แอปพลิเคชั่น K PLUS SHOP จะเจาะร้านค้าขนาดย่อย 3 กลุ่มที่มียอดการรับโอนเงินไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ คือ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสินค้าแฟชั่น และการเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และในอนาคต K PLUS SHOP จะสามารถรับการชำระเงินจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยผ่าน QR Code ในแอปพลิเคชั่นยอดนิยมของชาวจีน คือ อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชท (WeChat)