Wisesight ใช้ A.I. ช่วยในการคำนวณผลลัพธ์ในการทำกิจกรรมทางการตลาดบนโซเชียลของแบรนด์ โดยใช้ Model ในการทำ Text Classification โดยทาง Wisesight มีทีมงานพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อแยกแยะข้อความต่างๆ ออกมาแล้วทำการให้คะแนนในแต่ละแบรนด์

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เราได้ตั้งต้นโดยใช้มนุษย์ในการทำ Data Labeling ก่อน โดยกำหนดลักษณะคำและรูปประโยคต่างๆ แยกตามอุตสาหกรรม จากนั้นจึงทำ Text Classification ซึ่งก็คือการสอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Machine สามารถเรียนรู้และแยกประเภทของข้อความออกเป็นหมวดหมู่ได้ ดังต่อไปนี้

  • Sentiment เพื่อแยกแยะว่าประโยคไหนเป็นความเห็นเชิงบวกหรือเป็นเชิงลบ
  • Tag Friends เพื่อดูว่าประโยคนั้น ๆ มีการ Tag Friend ให้เข้ามาชมคอนเทนต์หรือไม่
  • Intentions เพื่อดูว่าประโยคนั้นเป็นประโยคแสดงความสนใจในตัวแบรนด์หรือสินค้าหรือไม่
  • Spam Detection เพื่อคัดกรองข้อความประเภทขายของ ฝากร้าน ออกจากข้อความทั้งหมด

เมื่อระบบทำการอ่านข้อความ หารูปแบบของคำหรือรูปแบบของประโยค และทำนายว่าเป็นประโยคประเภทใดแล้ว จะนำผลลัพธ์จากการจัดหมวดหมู่นี้ไปคำนวณคะแนนใน Metrics อีกครั้ง

โดย Metrics ที่ใช้ในการวัดผลกิจกรรมทางการตลาดบนโซเชียลสำหรับแบรนด์ หรือ Brand Metrics นั้น แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ตามเป้าหมายทางธุรกิจของแบรนด์ ดังต่อไปนี้

1. Business Growth วัดประสิทธิภาพการเติบโตของธุรกิจ ประกอบไปด้วย

  • Fan Growth เพื่อวัดปริมาณการเพิ่มขึ้นของจำนวนกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ติดตาม
  • Interactions เพื่อดูว่ามีคนสนใจ ชื่นชมและชื่นชอบสิ่งที่แบรนด์สื่อสารออกไปเพียงใด จาก Reaction หรือ Comment
  • Intention เพื่อดูว่าแบรนด์ทำให้คนสนใจอยากซื้อสินค้าได้ไหม จากข้อความที่เข้ามาแสดงความเห็น
  • Recommendation เพื่อดูว่ามีการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับเพื่อนหรือคนรู้จักมาก น้อยเพียงใด จากการ Share และ Tag เพื่อนเพื่อเข้ามาดูสินค้าหรือบริการนั้นๆ

2. Customer Satisfaction วัดความพึงพอใจของผู้บริโภค ประกอบไปด้วย

  • Sentiment ดูว่าผู้บริโภครักแบรนด์มากแค่ไหน โดยดูจากทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ จากประโยคเชิงบวกหรือเชิงลบ วัดความรู้สึกและความนึกคิดที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของแบรนด์
  • Response Rate วัดความสามารถในการตอบสนองของแบรนด์ต่อคำร้องเรียนคือตำหนิของผู้บริโภค
  • Response Time นอกจากตอบข้อร้องเรียนแล้ว การวัดความรวดเร็วในการตอบสนองของแบรนด์ต่อปัญหาหรือคำร้องเรียนของผู้บริโภคก็เป็นอีกมิติที่สำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจของผู้บริโภคเช่นกัน

3. Set New Standard สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการ

เป็นการพิจารณาจากคณะกรรมการในเรื่องของความแปลกใหม่ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นวิธีการโพสต์ การสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจ การนำเสนอสิ่งที่แตกต่างออกไปจากแนวทางเดิมของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบของโซเชียลมีเดียที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

จากการที่ Wisesight ได้พัฒนาดัชนีชี้วัดที่เรียกว่า “WISESIGHT METRIC” ขึ้นมาเพื่อวัดประสิทธิภาพความสามารถในการทำกิจกรรมการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเป็นรูปธรรมนั้น เราได้ส่งต่อมาตรฐานในการวัดผลเหล่านี้ผ่านงาน Thailand Zocial Awards ที่เราจัดขึ้นทุกปี อย่าลืมรอติดตามกันว่าในปีนี้ แบรนด์ไหนจะเป็นแบรนด์ที่ใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ในงาน Thailand Zocial Awards 2020 ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับงานเพิ่มเติมได้ที่นี้

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส