จากกรณีที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯได้กล่าวหาหัวเว่ยต่อสาธารณะชนในข้อหาสอดแนมผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือด้วยอุปกรณ์ของหัวเว่ย ซึ่งรายงานจากสำนักข่าว เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล (The Wall Street Journal) เมื่อวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ยกระดับการแบนหัวเว่ยขึ้นอีกขั้น เพื่อชักจูงให้ประเทศ พันธมิตรเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย แท้จริงแล้ว “ประตูหลังของระบบ (backdoor)” ที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างถึงนั้น เป็นเพียง “อินเตอร์เฟสสำหรับใช้เพื่อการสกัดกั้นทางกฏหมาย” ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่จำเป็นต้องมีตาม ข้อบังคับทางกฎหมาย และได้รับการใส่เข้ามาในระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบอาชญากรรมต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกส่งมอบโดยผู้ให้บริการเครือข่าย ไม่ใช้ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์
ตามหลักฐานจากข้อมูลที่สโนว์เดนได้เปิดเผยออกมาทำให้พบว่า สหรัฐฯ ได้มีการสอดแนมเข้าถึงเครือข่ายโทรคมนาคมทั่วโลก และคอยล้วงข้อมูลในประเทศอื่นๆ มาเป็นระยะเวลานาน โดยรายงานของสำนักข่าว วอชิงตันโพสต์ (Washington Post) เมื่อต้นสัปดาห์นี้ที่พูดถึงการที่หน่วย CIA ได้ใช้บริษัทลับในการล้วงข้อมูลของประเทศอื่นเป็นเวลาหลายทศวรรษยิ่งถือเป็นหลักฐานเพิ่มเติมในประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี ข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ ที่มีต่อหัวเว่ยโดยใช้การสกัดกั้นตามกฏหมายเป็นเพียงการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย
พวกเขาไม่มีข้อมูลหลักฐานและตรรกะที่ยอมรับได้ในวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์หัวเว่ยไม่เคยและไม่มีวันที่จะสอดแนมเข้าแทรกแซงเครือข่ายโทรคมนาคมใดๆ และหัวเว่ยไม่มีความสามารถในการทำเช่นนั้น หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล (The Wall Street Journal) นั ้นทราบเป็นอย่างดีว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถมอบหลักฐานใดๆเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหานี้ได้แต่ยังคงเลือกที่จะกล่าวซ้ำถึงข้อโกหกจากทางการสหรัฐฯในประเด็นนี้สิ่งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าเดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัลนั้นมีอคติกับหัวเว่ยและยังทำลายความน่าเชื่อถือของสำนักพิมพ์เอง
บทบาทของหัวเว่ยในฐานะผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคม คือการส่งมอบอุปกรณ์เครื่องมือตามมาตรฐาน 3GPP/ETSI เช่นเดียวกับผู้จัดจำหน่ายรายอื่นๆ เราปฏิบัติตามมาตรฐานการสกัดกั้นตามกฏหมายของอุตสาหกรรม อย่างเช่น มาตรฐาน 3GPP’s TS 33.107 สำหรับเครือข่าย 3G และ TS 33.128
แถลงการณ์
สำหรับเครือข่าย 5G สิ่งนี้คือจุดที่แสดงถึงความรับผิดชอบของหัวเว่ยในด้านการเคารพต่อประเด็นเรื่องการ สกัดกั้นทางกฎหมาย การดำเนินงานตรวจสอบควบคุมที่แท้จริง รวมถึงการใช้อินเตอร์เฟซการสกัดกั้นทางกฏหมายนั้น สามารถดำเนินการได้โดยผู้ให้บริการเครือข่ายและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านการกำกับดูแลเท่านั้น โดยที่อินเตอร์ เฟซสำหรับการสกัดกั้นนั้นจะอยู่ในสถานที่ที่ได้รับการป้องกันจากฝั่งผู้ให้บริการ และจะดำเนินการด้วยพนักงานที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลในประเทศนั้นๆ โดยผู้ให้บริการเครือข่ายจะมีกฏปฏิบัติงานที่เข้มงวด ในการให้บริการและคอยดูแลอินเตอร์เฟซดังกล่าว โดยที่หัวเว่ยไม่ได้พัฒนาหรือผลิตเครื่องมือการสกัดกั้น
ใดๆ นอกเหนือไปจากนี ้
หัวเว่ยเป็นเพียงผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือเท่านั้น และด้วยบทบาทนี้การเข้าถึงเครือข่ายของลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการที่ลูกค้าไม่รู้เห็นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เราไม่มีความสามารถที่จะหลบเลี่ยงผู้ให้บริการเครือข่าย หรือเข้าถึงการควบคุม และนำข้อมูลจากเครือข่ายออกไปได้โดยไม่มีการตรวจจับจาก ระบบไฟร์วอลล์และระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่หนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล เองก็ยอมรับว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ นั้นไม่สามารถให้รายละเอียดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสำหรับ ข้อกล่าวหาเรื่อง “ประตูหลังของระบบ (backdoor)” ที่ว่านี้ได้หัวเว่ยยึดถือเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง
สำหรับความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ นั้น ถือเป็นการละเลยการลงทุนจำนวนมหาศาล, แนวทางการปฏิบัติที่ดีระหว่างหัวเว่ยและผู้ให้บริการเครือข่ายในด้านการจัดการความเสี่ยงความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ เรามีความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามที่จะกล่าวหาหัวเว่ยในประเด็นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หากสหรัฐฯ สามารถค้นพบจุดที่หัวเว่ยละเมิดดังที่กล่าวหาจริง เราร้องขอให้ สหรัฐฯ เปิดเผยหลักฐานที่มีรายละเอียดชัดเจนอีกครั้ง แทนการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการแพร่กระจายข่าวลือ
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการเครือข่าย บริษัทโทรคมนาคมดอยช์ เทเลคอม (Deutsch Telecom) และโวดาโฟน(Vodafone) ยังยืนยันว่า ไม่พบสิ่งไม่ถูกต้องใดๆ ในการทำงานร่วมกับหัวเว่ย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com
ติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei
http://www.twitter.com/Huawei
http://www.facebook.com/HuaweiTechTH
http://www.youtube.com/Huawei