SEACON WAR OF STEEL การแข่งขันหุ่นยนต์ต่อสู้ครั้งแรกในประเทศไทย กำลังจะเกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 10 – 20 ธันวาคม 2558 ที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ โดยมีเงินรางวัล 300,000 บาท ถ้วยรางวัลแห่งเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะการต่อสู้ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 พ.ย. นี้

รายละเอียด และข้อจำกัดการสร้างหุ่น

ขนาดและน้ำหนัก

  • ไม่มีการจำกัดน้ำหนักขั้นต่ำ
  • หุ่นแต่ละตัวจะต้องมีน้ำหนักรวมทั้งหมดไม่เกิน 30 กิโลกรัม (หากหุ่นของคุณสามารถแยกร่างได้ น้ำหนักรวมของหุ่นแยกทั้งหมดจะต้องไม่เกินที่กำหนด)
  • ขนาดของหุ่นจะต้องสามารถผ่านประตูขนาดความกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร ได้
    วิธีการ Qualify: ชั่งน้ำหนักหุ่น และวัดขนาดหุ่น
    การเคลื่อนที่
  • ไม่จำกัดลักษณะวิธีการเคลื่อนที่ของหุ่น สามารถวิ่ง เดิน คลาน หมุน บิน แต่หุ่นจะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร ต่อวินาที
  • ในกรณีที่หุ่นไม่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขั้นต่ำที่กำหนดได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีอาวุธการทำลายล้างที่ดีและได้รับการอนุมัติจากทางคณะกรรมการ
    วิธีการ Qualify: นำหุ่นวิ่งเป็นเส้นตรงบน Track จับเวลาขนาดความยาว 5 เมตร ในเวลา 10 วินาที
    การควบคุม
  • หุ่นจะต้องควบคุมโดยรีโมทไร้สายเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมในระยะ 20 เมตรขึ้นไป
  • จะต้องสามารถควบคุมการเคลื่อนไหว และการโจมตีด้วยรีโมทเท่านั้น อาวุธที่ทำงานอัตโนมัติ จะไม่นับเป็นอาวุธหลัก
  • การเปิดและปิดหุ่นจะต้องทำด้วยรีโมทเท่านั้น
  • รีโมทคอนโทรลใช้รุ่นใดยี่ห้อใดก็ได้ที่เป็นระบบ Digital ความถี่ 2.4-5.8 GHz เช่น Futaba , JR , Spektrum เป็นต้น
    วิธีการ Qualify: บังคับหุ่นจากระยะ 20 เมตร ตามที่กำหนด

การโจมตี

  • หุ่นจะต้องมีอาวุธที่บังคับด้วยรีโมทอย่างน้อย 1 ชนิดที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่คู่ต่อสู้ได้
  • อาวุธที่สามารถใช้ได้ในลักษณะ ชก ตัด บีบ บด เจาะ หมุน หนีบ พลิกคู่ต่อสู้ หรืออาวุธที่ทำให้เกิดความเสียหายทางกายภาพอื่นๆ
  • อาวุธยิงวิถีโค้ง (ที่ไม่มีส่วนผสมของระเบิด) สามารถใช้ได้
  • อาวุธต้องห้ามที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้
    o อาวุธที่ใช้น้ำหรือของเหลวทุกชนิด
    o อาวุธอันตรายร้ายแรง เช่น ระเบิด, ปืน, เลเซอร์
    o การทำลายตัวเอง
    o EMP ที่สร้างความเสียหายแก่วงจร Electronic ของคู่ต่อสู้
    o อาวุธเพลิงทุกชนิด
    o การยิงปืนกาว หรือการยิงสาย Sling เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้
    o อาวุธควัน ที่จะทำให้เครื่องดักจับควันของสนามแข่งทำงาน
    o อาวุธพิษทุกชนิด
    o อาวุธที่ใช้สารกัมตภาพรังสี
    o อาวุธที่สามารถสร้างความเสียหายแก่สนามการแข่งขัน
    o อื่นๆ หากไม่แน่ใจ กรุณาเช็คกับทีมงานก่อนติดตั้งอาวุธ
    วิธีการ Qualify: ทำลายเป้าหมายที่กำหนดให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด 30 วินาที

การป้องกันโจมตี

  • การสร้างหุ่นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของแบตเตอรี่ ถังเก็บแรงดัน ถังเก็บเชื้อเพลิง ดังนั้น ในส่วนโครงสร้างภายในของหุ่นที่เก็บอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องป้องกันเป็นอย่างดี
  • วัตถุดิบที่สามารถใช้เป็นวัสดุป้องกันภายนอก เช่น เหล็ก สังกะสี อลูมิเนียม พลาสติก อะคลิลิค ไม้ ไฟเบอร์
  • วัตถุดิบต้องห้ามในการสร้างอุปกรณ์ป้องกันหุ่นภายนอก
    o แก้ว กระจก เซรามิค หรือวัสดุที่แตกได้
    o ตะกั่ว สามารถใช้ถ่วงได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นวัสดุป้องกันภายนอก
    o วัสดุกัมตภาพรังสี
    o วัสดุอ่อนเช่น โฟม กระดาษ ผ้า หรือวัสดุติดไฟอื่นๆ
    o วัสดุอันตราย เช่น แร่ใยหิน
    o วัสดุที่มีสารทำปฏิกิริยา เช่น แคดเมี่ยม ปรอท
    o วัสดุที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ หิน
    o วัสดุจากอินทรีย์สารทุกประเภท
    o อื่นๆ หากไม่แน่ใจ กรุณาเช็คกับทีมงานก่อนติดตั้งวัสดุป้องกันการโจมตี
    ระบบไฟฟ้า
  • ไม่จำกัดขนาดและกำลังไฟของแบตเตอรี่ แต่แบตเตอรี่ที่นำมาใช้จะต้องได้มาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆของต่างประเทศที่เทียบเท่าและจะต้องทำการป้องกันแบตเตอรี่ไม่ให้ถูกทำอันตรายต่อการโจมตีได้ แบตเตอรี่อาจติดไฟได้ หากได้รับความเสียหาย หุ่นของท่านจะถูกปรับแพ้หากคณะกรรมการเห็นว่าหุ่นอยู่ในสภาพที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่สนามได้

ระบบเครื่องยนต์ (หากมี)

  • เครื่องยนต์และปั๊มไฟฟ้าจะต้องใช้ระบบสตาร์ทและปิดเองด้วยรีโมทคอนโทรล
  • ถ้าเครื่องยนต์แยกจากถังเชื้อเพลิง ถังเชื้อเพลิงจะต้องถูกป้องกันอย่างดี
  • ถังเก็บเชื้อเพลิงจะต้องระบายอากาศ (ไม่ให้มีแรงอัดภายใน) ด้วยระบบระบายอากาศที่จะไม่รั่วหากหุ่นตีลังกา
  • อุปกรณ์เครื่องยนต์จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆของต่างประเทศที่เทียบเท่า
    ระบบนิวเมติก (หากมี)
  • ระบบนิวเมติกที่ใช้ ไนโตรเจน หรือ การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่อนุญาตใช้ได้
  • ถังจุแรงดันและระบบปรับแรงดันสูงสุดได้ไม่เกิน 150 psi (หากต้องการจะใช้เกินที่กำหนด ทางทีมจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในส่วนความปลอดภัย)
  • อุปกรณ์นิวเมติกจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆของต่างประเทศที่เทียบเท่า

ระบบไฮดรอลิค (หากมี)

  • ระบบแรงดันสูงสุดได้ไม่เกิน 200 psi (หากต้องการจะใช้เกินที่กำหนด ทางทีมจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในส่วนความปลอดภัย)
  • ของเหลวที่ใช้ในระบบไฮดรอลิคจะต้องเป็นชนิดไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อน มีความเป็นพิษต่ำ และมีการระบุแรงดันสูงสุดไว้ชัดเจน
  • อ่างเก็บแรงดันจะต้องถูกป้องกันอย่างดีอยู่ภายในตัวหุ่น
  • อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆของต่างประเทศที่เทียบเท่า

ความปลอดภัย

  • หุ่นจะต้องติดตั้ง Master kill switch ไว้ภายนอกตัวหุ่นที่ง่ายต่อการเข้าถึง ในกรณีฉุกเฉินสามารถกดปุ่มนี้โดยไม่ต้องยกหุ่นขึ้นหรือถอดกันชนออก
  • ปุ่ม Master kill switch นี้จะต้องติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่การโจมตีไม่สามารถเข้าถึงโดยง่าย หรือมีอุปกรณ์ป้องกัน หากในการแข่งขัน คู่ต่อสู้สามารถเข้าถึงปุ่มนี้ได้จะถือเป็นการ Knock out อย่างหนึ่ง
  • ปุ่ม Master kill switch จะต้องหยุดการทำงานทุกอย่างของหุ่นในทันที
  • กรณีเกิดเพลิงไหม้ที่ตัวหุ่น ทีมดับไฟจะเข้าไปทำการดับไฟในสนาม แต่หากอาวุธยังเปิดอยู่และไม่สามารถควบคุมอาวุธให้หยุดได้ อุปกรณ์ดับเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาภายในสนามการแข่งขัน

การเปิดและปิดหุ่น

  • การเปิดและปิดหุ่นจะต้องกระทำผ่านรีโมทคอนโทรลเท่านั้น
  • การเปิดและปิดหุ่นจะต้องใช้เวลาอย่างมากที่สุดไม่เกิน 30 วินาที
  • หากไม่มีสัญญาณจากรีโมท หุ่นและอาวุธจะต้องถูกปิดการทำงานได้โดยอัตโนมัติ

รูปร่างภายนอกหุ่น

  • ไม่ได้มีการจำกัดรูปร่างของหุ่น แต่หุ่นของคุณอาจจะต้องออกสื่อระดับประเทศ ดังนั้นทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปร่างของหุ่น หรือข้อความใดๆที่ปรากฏขึ้นบนตัวหุ่น

web banner 1000 x1000-02-03

การแข่งขัน (กติกาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

1. รอบคัดเลือก

รอบคัดเลือกแบ่งออกเป็น 6 สถานี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผ่านด่านทดสอบทั้งหมดภายในช่วงเวลาที่กำหนด

  • สถานี 1 ชั่งน้ำหนัก วัดขนาด ตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
  • สถานี 2 วัดความเร็วการเคลื่อนที่
  • สถานี 3 การควบคุมระยะไกลด้วยรีโมทคอนโทรล
  • สถานี 4 อาวุธการทำลายล้าง
  • สถานี 5 ป้องกันการโจมตี
  • สถานี 6 เทคนิคการบังคับหุ่น

หมายเหตุ: สามารถแก้ไขหุ่นและทำการทดสอบรอบคัดเลือกใหม่ได้

2. รอบทัวร์นาเม้นท์

การต่อสู้ตัวต่อตัว แพ้ตกรอบ แบ่งสาย โดยการจับฉลาก
วิธีการแข่งขัน: ต่อสู้ตัวต่อตัว ในเวลายกละ 3 นาที พัก 3 นาที จำนวน 2 ยก (สามารถซ่อมหุ่นได้) โดยผลแพ้ชนะจะขึ้นอยู่กับ

  1. Knockout คู่ต่อสู้ภายในเวลาที่กำหนด (คู่ต่อสู้ไม่สามารถเคลื่อนที่ภายในเวลานับ 10 วินาที)
  2. กรณีตกเวทีจะถือว่าแพ้ Knockout
  3. ในกรณีที่หุ่นมีโอกาสที่จะถูกทำลาย ผู้เข้าแข่งขันสามารถยกธงขาวเพื่อยอมแพ้ได้
  4. กรณีไม่สามารถ Knockout ภายในเวลาที่กำหนด กรรมการ 3 ท่านจะเป็นผู้ตัดสิน โดยแบ่งหมวดดังนี้
  • หมวดการโจมตี
  • หมวดความเสียหายของหุ่น
  • หมวดการวางแผนการรบ

2 ใน 3 ของกรรมการจะเป็นผู้ตัดสินผลแพ้ชนะ
รูปแบบสนามแข่งรอบทัวร์นาเม้นท์: สนามขนาด 9 x 9
อุปสรรค์ในสนามแข่ง: ผู้แข่งขันสามารถบังคับอุปสรรค์สนามในส่วนพื้นที่ตัวเองได้

รายละเอียดเพิ่มเติมและการรับสมัคร