เรียกได้ว่าในยุคปัจจุบันนั้น อุปกรณ์การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งงานนี้ทาง Panasonic ก็ได้พัฒนาการเก็บข้อมูลของเราให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมกับมิติใหม่อย่าง “Blu-ray data archiver” ที่เป็นโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลในคลังอาร์ไคร์ฟบนแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิสก์ ที่ยืดอายุการเก็บข้อมูลให้คุณอย่างเต็มที่ถึง 50 ปี !!
ในยุคที่ปริมาณข้อมูลมีจำนวนมากมายอย่างปัจจุบัน ความต้องการที่จะเก็บรักษาข้อมูลและการจัดเก็บในคลังอาร์ไคร์ฟเหล่านั้นอาจกลายเป็นความท้าทายอย่างมากที่จะต้องรับมือ ดังนั้น พานาโซนิคจึงเปิดตัว “บลูเรย์ ดาต้า อาร์ไคร์ฟ” (Blu-ray data archiver) ซึ่งเป็นโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลในคลังอาร์ไคร์ฟบนแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิสก์ (Optical disc-based data archival solution) ชนิดแรก ที่มีเทคโนโลยียืดอายุการใช้งานเพื่อเก็บข้อมูล และเพิ่มศักยภาพการใช้งาน ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลงด้วย
ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่อยู่ในรูปข้อมูลของบริษัทและหน่วยงานราชการต่างๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นปีต่อปี โดยมีการคาดการณ์ว่าข้อมูลดิจิทัลทั่วโลกจะมีมากถึง 45 เซตตะไบต์ ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า ทั้งนี้บลูเรย์ ดาต้าอาร์-ไคร์ฟ ยังเป็นระบบจัดเก็บที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันจะกลายเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบัน การจัดเก็บข้อมูลในคลังอาร์ไคร์ฟถูกจัดเก็บในฮาร์ดดิสก์ (HDD) หรือข้อมูลแบบเทป (Tape-based) ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่อายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและมีขั้นตอนการดูแลที่ปลีกย่อยมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ คลังข้อมูลของพานาโซนิคสามารถจัดเก็บข้อมูลได้นานกว่าคลังแบบฮาร์ดดิสก์หรือเทป 5 ถึง 10 เท่า อายุการใช้งานที่นานขึ้นนี้จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงได้ เมื่อพิจารณารวมกับความต้องการการระบายความร้อนที่ลดลงและขั้นตอนการดูแลที่ไม่ยุ่งยากเท่าแล้ว คลังข้อมูลแบบบลูเรย์จึงเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลประเภทอื่นๆ
บลูเรย์ ดาต้า อาร์ไคร์ฟ ของพานาโซนิคมีพี้นที่การเก็บข้อมูลที่มากขึ้น เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องเผชิญกับปริมาณข้อมูลที่ปริมาณมาก โดยจะจัดเก็บแบบเวิร์ม (WORM หรือเทคโนโลยีที่เขียนได้ครั้งเดียวอ่านได้หลายครั้ง) ซึ่งเท่ากับว่าจะป้องกันการบิดเบือนหรือโจรกรรมข้อมูลและเอื้อต่อการการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้อย่างแท้จริง
- ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น – บลูเรย์ ดาต้า อาร์ไคร์ฟต้องการพลังงานน้อยกว่าและไม่ต้องระบายความร้อนมากเท่าระบบที่ใช้กันอยู่เดิม
- มีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยน้อยกว่า – เป็นพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ที่มีราคาถูกกว่าและอายุการใช้งานนานกว่า ทำให้ไม่ต้องเสียค่าโยกย้ายข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกทอด
- น่าเชื่อถือมากกว่า – การไม่ต้องปรับแต่งคลังข้อมูลเพิ่มเติมเท่ากับการลดแนวโน้มในการทำงานล้มเหลวลงได้ ขณะที่ยังคงมีระบบรองรับชั้นเยี่ยม ทั้งเรด 5 เรด 6และเวิร์มอยู่
- มีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี – ลดจำนวนขยะและพื้นที่ฝังกลบขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนระบบชุดเก่าตามอายุการใช้งานลงได้
“การพยายามปรับแต่งซอฟต์แวร์คลังข้อมูลที่มีอยู่ให้คล่องตัวและใช้งานได้นานขึ้น ทำให้ระบบทำงานหนักจนเกินไป พานาโซนิคจึงนำเสนอ บลูเรย์ ดาต้าอาร์ไคร์ฟ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ตั้งแต่ความน่าเชื่อถือได้ ความสมบูรณ์ของข้อมูล ค่าใช้จ่าย และมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน” ฮิเดโอะ โยเนนางะ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจคลังข้อมูล บริษัทพานาโซนิค ซิสเต็ม โซลูชั่นส์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดขนาดเล็ก ที่อาจไม่มีทรัพยากรหรือข้อมูลปริมาณที่มากพอต่อการลงทุนซื้อโซลูชั่นการจัดเก็บแบบอาร์ไคร์ฟเป็นของตัวเอง สามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีคลังข้อมูลบลูเรย์ได้เช่นกัน
แพลน บี บริษัทสัญชาตินิวซีแลนด์ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารธุรกิจต่อเนื่อง เพิ่งเปิดตัวเทคโนโลยีบริการคลังข้อมูลบนคลาวด์เป็นที่แรกของโลก ซึ่งต่อยอดจาก บลูเรย์ ดาต้า อาร์ไคร์ฟ ของพานาโซนิค
เอียน ฟอร์เรสเตอร์ ผู้อำนวยการบริหารบริษัท แพลน บี จำกัด ระบุว่า “บริการใหม่ของเราเป็นการทำเทคโนโลยีบลูเรย์ให้เข้าถึงง่ายสำหรับธุรกิจทุกขนาด และเปิดโอกาสให้ธุรกิจเหล่านั้นสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลต่างๆ ได้บนคลาวด์ โดยที่โมเดลการให้บริการของเราได้ลดทอนค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนลง ขณะที่ยังคงเข้าถึงง่าย ราคาถูก เปี่ยมศักยภาพ และเป็นคลังจัดเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั้งในตอนนี้และต่อ ๆ ไป ซึ่งโมเดลดังกล่าวไม่ได้มีแค่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น แต่มีให้บริการครอบคลุมทั่วเอเชียและออสเตรเลียด้วย”
บริการคลังข้อมูลบนคลาวด์ของ แพลน บี นี้มีเทคโนโลยี บลูเรย์ ดาต้า อาร์ไคร์ฟ ของพานาโซนิคเป็นโฮสต์ สามารถรับบริการได้โดยตรงจาก แพลน บี สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้ที่ clouddataarchive.sg